Home » Technical » Electrical » 3 คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับ Proximity Sensor สำหรับวิศวกรมือใหม่

3 คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับ Proximity Sensor สำหรับวิศวกรมือใหม่

พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์(Proximity Sensor) เป็นเซนเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับวัตถุโดยไม่ต้องสัมผัสโดยตรง ซึ่งมีการนำไปใช้ในระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมการผลิต และเครื่องจักรกลต่าง ๆ การทำความเข้าใจกับคำศัพท์พื้นฐานเหล่านี้จะช่วยให้เพื่อนๆ เลือกใช้งานเซนเซอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรามาดูกันครับว่า 3 คำศัพท์พื้นฐานนั้นมีคำศัพท์อะไรบ้างที่น่าสนใจ

1. เวลาในการตอบสนองของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Response Time)

เวลาในการตอบสนองของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์  หรือ Response time คือ ระยะเวลาที่เซนเซอร์ใช้ในการตอบสนองต่อการตรวจจับวัตถุ ซึ่งหมายถึงเซนเซอร์ที่มีระยะเวลาในการตอนสนองที่สั้นจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้ไวขึ้น ทำให้ตรวจจับวัตถุที่เคลื่อนที่ได้รวดเร็วเช่น บนระบบสายพาน โดยแบ่งระยะเวลาออกเป็น 2 ส่วนหลักได้ดังนี้:

  1. t1 (Response Time for ON) เป็นช่วงเวลา ตั้งแต่วัตถุเข้ามาในระยะตรวจจับของเซนเซอร์ (Sensing Area) จนกระทั่งเซนเซอร์ ส่งสัญญาณเอาต์พุต (Output) เป็น ON ซึ่งแสดงถึงเวลาที่เซนเซอร์ต้องใช้เพื่อทำการตรวจจับและตอบสนอง
  2. t2 (Response Time for OFF) เป็นช่วงเวลา ตั้งแต่วัตถุออกจากระยะตรวจจับของเซนเซอร์ จนกระทั่งเซนเซอร์ หยุดส่งสัญญาณเอาต์พุต (Output) และเปลี่ยนเป็น OFF ซึ่งแสดงถึงเวลาที่เซนเซอร์ใช้ในการปิดการตอบสนองหลังจากที่วัตถุไม่อยู่ในระยะตรวจจับ
เวลาในการตอบสนองของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Response Time)
ภาพ อธิบายการทำงานของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์

จากภาพเป็นการอธิบายการทำงานของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ ซึ่งเมื่อมีวัตถุผ่านเข้ามาที่พื้นที่ตรวจจับ (Sensing Area) ก็จะทำการเริ่มนับเวลาในการตอบสนองซึ่งจะแสดงผลเป็นกราฟทางด้านขวา เป็นลักษณะของสัญญาณที่ส่งออกมา (Output Signal) ซึ่งแกนนอนแสดงถึงระยะเวลา และแกนแนวตั้งแสดงถึงสถานะของสัญญาณเอาต์พุต โดย เมื่อวัตถุอยู่ในระยะตรวจจับ(Within Range) ตัวเซนเซอร์ส่งสัญญาณ ON ในทางกลับกัน หากวัตถุอยู่นอกระยะตรวจจับ (Outside of range) ตัวเซนเซอร์ส่งสัญญาณ OFF โดยจะมีลักษณะการทำงานดังนี้ เมื่อวัตถุเคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่ตรวจจับ เซนเซอร์จะใช้เวลา t1 เพื่อเปลี่ยนสถานะจาก OFF → ON หลังจากนั้น เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ออกจากพื้นที่ตรวจจับเซนเซอร์จะใช้เวลา t2 เพื่อเปลี่ยนสถานะจาก ON → OFF

2. “Shielded” ใน พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์

Proximity Sensor แบบ Shielded จะเห็นได้ว่าด้านข้างของเซนเซอร์จะถูกล้อมรอบด้วยวัสดุที่ทำจากโลหะ ทำให้สนามแม่เหล็กถูกโฟกัสไปทางด้านหน้าของเซนเซอร์เพียงทิศทางเดียว ส่งผลให้สามารถฝังตัวเซนเซอร์เข้าไปในตัววัสดุโลหะได้โดยไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสนามแม่เหล็กถูกจำกัดให้ออกทางด้านหน้า ระยะตรวจจับของเซนเซอร์ชนิดนี้จึงสั้นกว่า Unshielded เหมาะกับงานที่ต้องการความแม่นยำ และต้องการติดตั้งในโลหะ

OMRON Proximity Sensor Shielded Type
Proximity Sensor Shielded Type
ตัวอย่างขอบเขตการ ตรวจจกับของ Proximity Sensor แบบ Shielded
ตัวอย่าง ขอบเขตการตรวจจับวัตถุของ Proximity Sensor Shielded Type

OMRON Proximity Sensor Shielded Type

3. “Unshielded” ใน พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์

Proximity Sensor แบบ Unshielded จะเห็นได้ว่าด้านข้างของคอยล์ในเซนเซอร์จะ ไม่มีวัสดุล้อมรอบทำให้สนามแม่เหล็กแผ่ออกทั้งด้านข้างและด้านหน้า ส่งผลให้สามารถตรวจจับวัตถุได้ในระยะที่ไกลขึ้นเมื่อเทียบกับ Shielded Proximity Sensor อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีการป้องกันสนามแม่เหล็กจากด้านข้าง จึงได้รับผลกระทบจากโลหะรอบข้างมากขึ้น และไม่สามารถฝังลงไปในโลหะได้ จำเป็นต้องเว้นระยะห่างจากพื้นผิวโลหะเพื่อป้องกันการรบกวน ซึ่งโดยปกติแล้ว ระยะตรวจจับของ Unshielded Sensor จะมากกว่าประเภท Shielded เหมาะกับงานที่ต้องการระยะตรวจจับไกล และอยู่ในพื้นที่โล่ง

OMRON Proximity Sensor Unshielded Type
Proximity Sensor Unshielded Type
ตัวอย่างขอบเขตการ ตรวจจับของ Proximity Sensor 
แบบ Unshielded และลักษณธการติดตั้ง
ตัวอย่าง ขอบเขตการตรวจจับของ Proximity Sensor Unshielded Type

OMRON Proximity Sensor Unshielded Type

ข้อควรระวังในการติดตั้ง พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ แบบ “Unshielded”

ในการติดตั้งพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ แบบ “Unshielded” นั้นมีข้อควรระวังคือ ในบริเวณด้านข้างของตัวพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ก็จะสามารถตรวจจับวัตถุได้เช่นกัน หากเราติดตั้งเซนเซอร์ชนิดนี้ฝังเข้าเนื้อวัสดุนั้นจะส่งผลให้เซนเซอร์มีการตรวจจับที่ผิดพลาด เพราะไปตรวจจับวัตถุบริเวณรอบข้างแทน ดังนั้นการติดตั้งเซนเซอร์ชนิดนี้จึงมีด้วยกัน 2 รูปแบบที่นิยมติดตั้งกัน ดังรูป

การติดตั้งพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ แบบ  “Unshielded”
รูปแบบที่ 1 ติดตั้งแบบปกติ การติดตั้งรูปแบบนี้มักพบเห็นได้ทั่วไปในการใช้งานแบบต่างๆ
การติดตั้งพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ แบบ  “Unshielded”
รูปแบบที่ 2 จะเห็นได้ว่าการติดตั้งเซนเซอร์นั้น จำเป็นต้องเจาะผนังรอบข้างออก เพราะว่าพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ แบบ “Unshielded” จะมีการตรวจจับวัตถุบริเวณรอบข้างซึ่ง จะส่งผลให้การตรวจจับทำงานผิดเพี้ยน เพราะไปจับที่วัตถุที่อยู่รอบข้างของตัวเซนเซอร์แทน

จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความ “3 คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับ Proximity Sensor” ซึ่งอธิบายความหมายของ เวลาในการตอบสนองของพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Response Time) และความแตกต่างระหว่างพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์แบบ Shielded และแบบ Unshielded ซึ่งจะเห็นได้ว่าเซนเซอร์ทั้งสองแบบนั้นมีรูปแบบการติดตั้งที่แตกต่างกันออกไป หากเพื่อนๆ สนใจพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ แบรนด์ OMRON สามารถเลือกชมสินค้าได้ใน OMRON Proximity Sensors

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 0 / 5. คะแนนโหวต: 0

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Content

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์(Proximity Sensor) เพิ่มเติมได้ที่นี่
Learning guide
bearing-subject
taps-subject
pneumatics-subject
shaft-selection
drillbits

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง