Home » Technical » Selection guide » วิธีการติดตั้ง และปัจจัยในการเลือกใช้หัววัด (Contact probe) อย่างเหมาะสม

วิธีการติดตั้ง และปัจจัยในการเลือกใช้หัววัด (Contact probe) อย่างเหมาะสม

ในบทความก่อนหน้านี้เราได้แนะนำเกี่ยวกับ Contact probe ชนิดต่างๆ ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมกันไปแล้ว จะเห็นได้ว่า Contact probe นั้นมีความสำคัญต่อการวัดค่าทางไฟฟ้าของชิ้นงานเป็นอย่างมาก เราจึงควรพิจารณาปัจจัยในการเลือกใช้อย่างเหมาะสม รวมไปถึงติดตั้งให้ถูกวิธีเพื่อให้การวัดค่าทางไฟฟ้า เป็นไปได้อย่างถูกต้องแม่นยำที่สุด

ปัจจัยในการเลือกใช้หัววัด (Contact Probe) ที่เหมาะสม

การเลือกใช้ Contact probe ที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยให้ได้ค่าการวัดทางไฟฟ้าที่แม่นยำแล้ว ยังช่วยให้ Contact probe มีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย เราจึงควรทำความเข้าใจรูปแบบการใช้งานที่ต้องการ โดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

1. รูปทรงของหน้าสัมผัสเป้าหมาย

เนื่องจากรูปทรงของจุดที่เราจะทำการวัดนั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบแบน แบบกลม และแบบพิน เป็นต้น  การที่จะวัดค่าทางไฟฟ้าของเป้าหมายให้ได้อย่างเสถียรและแม่นยำนั้น จำเป็นต้องเลือกรูปทรงของหัววัดให้เชื่อมต่อกับหน้าสัมผัสของชิ้นงานได้อย่างมั่นคง และเหมือนเดิมทุกครั้งที่วัด โดยสามารถดูตัวอย่างของชนิดหัววัดและหน้าสัมผัสแบบต่างๆ ได้ตามภาพด้านล่าง

1. รูปทรงของหน้าสัมผัสเป้าหมาย

2. ระยะสโตรคในของหัววัด

ระยะสโตรคคือระยะที่หัววัดสามารถหดได้ เมื่อหัววัดกดไปที่หน้าสัมผัสในแนวแกน เพื่อให้สามารถหัววัดสามารถเชื่อมต่อกับหน้าสัมผัสได้อย่างสนิท และลดความเสียหายเมื่อเชื่อมต่อกับหน้าสัมผัสในแต่ละครั้ง โดยระยะที่เหมาะสมในการวัดคือไม่ควรเกิน 2/3 ส่วนของระยะสโตรคสูงสุดที่หัววัดสามารถเคลื่อนที่ได้

2. ระยะสโตรคในของหัววัด

3. แรงสปริงของหัววัด

แรงสปริงจะส่งผลต่อคุณภาพในการเชื่อมต่อกับหน้าสัมผัส โดยหากเลือกแรงสปริงที่น้อยเกินไปอาจส่งผลให้การเชื่อมต่อไม่เสถียร ในขณะที่ หากเลือกแรงสปริงที่สูงเกินไปก็อาจทำให้การเสียหายที่หน้าสัมผัสของชิ้นงานได้ โดยหน่วยที่มักจะใช้ในการระบุแรงสปริงคือ นิวตัน (N) หรือ กิโลกรัมฟอร์ซ (kgf)

4. คุณสมบัติทางไฟฟ้า

คุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ต้องพิจารณาขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในวงจร ในการเลือกใช้หัววัดทางไฟฟ้า ได้แก่ แรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่รับได้(Allowable Voltage [V] ), กระแสไฟฟ้าสูงสุดที่รับได้ (Allowable Current [A] ) และค่าความต้านทานทางไฟฟ้า (Resistance [Ω])

5. รูปแบบการใช้งานหัววัด

ชนิดของหัววัดทางไฟฟ้าที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมถูกออกแบบมาหลายชนิด เพื่อให้เหมาะกับรูปงานประเภทต่างๆ รวมไปถึงพื้นที่ในการใช้งาน เช่น หัววัดแบบ Contact Probes & Receptacle, โพรบแบบหัววัด2ด้าน (Double Tipped probe), โพรบแบบหมุน (Turn probe) และ โพรบแบบรวม (Integrated probe) เป็นต้น โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก บทความ ”ชนิดของ Probe ที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม”

ตัวอย่างหัววัดแบบ PROBE & RECEPTACLE
ตัวอย่างหัววัด แบบ Probe and Receptacle
ตัวอย่างหัววัดแบบ DOUBLE SIDED PROBE
ตัวอย่างหัววัด แบบ Double Sided Probe
ตัวอย่างโพรบแบบ INTEGRATED PROBE
ตัวอย่างหัววัดแบบ Integrated Probe

หัววัดทางไฟฟ้า (Contact probe) ติดตั้งอย่างไร

เนื่องจากหัววัดทางไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีความบอบบางเป็นอย่างมาก หากติดตั้งไม่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่หัววัดไฟฟ้า และส่งผลให้ค่าทางไฟฟ้าที่วัดได้มีค่าผิดพลาดได้ เราจึงควรติดตั้งหัววัดทางไฟฟ้าอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการวัดสูงสุด โดยทำตามลำดับตามนี้

1. เตรียมวัสดุในการติดตั้ง

เตรียมขนาดรูที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งหัววัด ไว้บนวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้าประเภท Bakelite หรือพลาสติกชนิดอื่นๆ

2. ติดตั้งปลอกของหัววัด

ดันปลอกของหัววัด (Receptacle) เข้าในรูที่เตรียมไว้จนสุด โดยหากรูที่ใช้ติดตั้งหลวมเกินไป ก็ให้ใช้สารยึดติดที่เหมาะสม เช่น Loctite เพื่อยึดให้แน่น

3. เชื่อมต่อสายไฟ

เชื่อมต่อสายไฟเข้าที่ปลอกของหัววัด โดยสามารถเชื่อมได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะส่วนปลายของ RECEPTACLE เช่น

  1. ชนิดพันด้วยสายไฟ (Wire wrap type)
  2. ชนิดเชื่อมด้วยการบัดกรี (Solder type)
  3. เชื่อมด้วยการบัดกรีและบีบอัด (Solder and crimp type)
  4. แบบติดตั้งด้วยเทอร์มินอล (Terminal type)
ตัวอย่าง ส่วนปลายของ RECEPTACLE

4. ติดตั้งหัววัด (CONTACT PROBE) เข้ากับปลอก (RECEPTACLE)

ใส่หัววัดเข้าสู่ปลอกที่เตรียมไว้ และกดเข้าตามแนวแกนอย่างระมัดระวัง

5. ตรวจสอบการเชื่อมต่อ

ตรวจสอบการเชื่อมต่อของหัววัดและหน้าสัมผัส ควรให้หัววัดสัมผัสในทิศทางตามแนวแกนของหัววัด เพื่อให้ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่หัววัด

ตัวอย่างการติดตั้ง CONTACT PROBE

จบกันไปแล้วนะครับสำหรับการแนะนำ วิธีการติดตั้ง และปัจจัยในการเลือกใช้หัววัด (Contact probe) อย่างเหมาะสมในการใช้งาน จะเห็นได้ว่าการเลือกและติดตั้งนั้นไม่ได้ยากเลย และหากทำอย่างถูกต้องแล้ว นอกจากจะช่วยให้ทำงานได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้อีกด้วย หวังว่าผู้อ่านได้รับประโยชน์กันนะครับ รู้ครบจบที่นี่ MiSUMi Technical

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 0 / 5. คะแนนโหวต: 0

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Technical Center Team

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า คอนแทคโพรบ (Contact Probe) เพิ่มเติมได้ที่นี่
Learning guide
bearing-subject
taps-subject
pneumatics-subject
shaft-selection
drillbits

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง