Home » Technical » Mechanical » มาตรฐานเกลียวในอุตสาหกรรม

มาตรฐานเกลียวในอุตสาหกรรม

เกลียว (Thread) เป็นสิ่งที่คนทั่วไปมักจะพบเห็นกันในชีวิตประจำวันในอุปกรณ์ต่างๆ มีไว้ใช้สำหรับยึดอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ยึดโต๊ะ, ยึดเก้าอี้, ยึดท่อน้ำ เป็นต้นซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดก็จะมีขนาดเกลียวและรูปร่างเกลียวที่ไม่เหมือนกัน ในบทความนี้ เราจะ ทำความรู้จักกับมาตรฐานรมถึงรูปร่างลักษณะเกลียวแต่ละชนิดกันครับว่ามีอะไรบ้าง 

มาตรฐานเกลียวมีอะไรบ้าง

เราสามารถแบ่งมาตรฐานเกลียวที่นิยมใช้กัน ได้ 4 ประเภท

1.เกลียวมาตรฐานเมตริก (ISO Metric Thread)

มาตราฐานเกลียวเมตริก (ISO Metric Thread) หรือรู้จักกันในชื่อของเกลียว M หรือเกลียวมิล เป็นเกลี่ยวที่ใช้งานกันแพร่หลาย มีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ตัวอย่างเช่น M3, M4, M5, M6 , M8 เป็นต้น

2.เกลียวมาตรฐานอเมริกา (American National Standard Pipe Thread)

มาตรฐานอเมริกา (American National Standard Pipe Thread) หรือเรียกสั้นๆว่า National Pipe Thread จะมีชนิดของเกลียวแบ่งไปตามลักษณะของการใช้งานได้หลายชนิด ตัวอย่างเช่น NPT, NPS, NPTF, ACME เป็นต้น

3.เกลียวมาตรฐานอังกฤษ

มาตรฐานอังกฤษ (British Standard Thread) จะมีชนิดของเกลียวแบ่งไปตามลักษณะการใช้งานได้หลายชนิด ตัวอย่างเช่น BSF, BSW ,UNC,UNF เป็นต้น

4.เกลียวมาตรฐานญี่ปุ่น


 มาตรฐานญี่ปุ่น Japanese Industrial Standard หรือเรียกสั้นไปว่า (JIS) จะมีชนิดของเกลียวแบ่งไปตามลักษณะการใช้งานได้หลายชนิด ตัวอย่างเช่น PF,PT เป็นต้น 

เกลียวที่นิยมใช้ในอุสาหกรรม

เกลียวที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมมีหลายชนิด ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่าง เกลียวที่นิยมใช้กัน มาให้ดูครับว่า เกลียวแต่ละชนิดเหมาะกับงานอะไร และลักษณะหน้าตาของฟันเกลียวเป็นอย่างไร

เกลียวเมตริก (Metric)

ลักษณะเกลียว Metric

เกลียวเมตริก (Metric) เป็นเกลียวที่ได้รับความนิยมและเข้าใจง่าย มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เกลียวมิล โดยการวัดระยะห่างระหว่างเกลียวหรือระยะพิทซ์ (Pitch) ใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร มีมุมยอดเกลียว 60 องศา มีทั้งเกลียวหยาบและเกลียวละเอียด โดยเกลียวละเอียดระยะพิทซ์จะน้อยจึงป้องกันการคายตัวได้ดีกว่าเกียวหยาบ โดยส่วนใหญ่จะใช้ตัว M ตามด้วยขนาด ตัวอย่างเช่น M3 ,M5, M6  แต่บางขนาดจะมีระยะพิทซ์มากกว่าหนึ่งค่า ซึ่งเป็นการบอกค่าระยะพิทซ์ของเกลียวหยาบและเกลียวละเอียด จึงอาจมีการระบุระยะพิทซ์เพิ่มเติมไป ตัวอย่างเช่น M12x1.75 หรือ M12x1.5 เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งานเกลียว Metric

เกลียวชนิดนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในการผลิตสกรูและน็อตเพื่อใช้ขันยึดชิ้นส่วนให้ติดกันอาจเรียกว่า น็อตเกลียวมิล มักพบเจอได้บ่อยในหลายอุตสาหกรรม เช่น  ใช้ยึดชิ้นส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ  ยึดชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ หรือ ใช้ในงานประกอบเครื่องจักรทั่วไป เป็นต้น

สกรูเกลียว Metric และการวัดระยะพิทซ์
สกรูเกลียว Metric และการวัดระยะพิทซ์
การใช้สกรูและน็อตเกลียว Metric ในงานยึดอุปกรณ์เครื่องจักร
การใช้สกรูและน็อตเกลียว Metric ในงานยึดอุปกรณ์เครื่องจักร

เกลียว BSW ( British Standard Whitworth )

ลักษณะเกลียว BSW
ลักษณะเกลียว BSW

เกลียว BSW หรือเกลียววิตเวอร์ตชนิดหยาบ เป็นเกลียวระบบอังกฤษมีลักษณะเกลียวตรง ยอดเกลียวโค้งมน มุมยอดเกลียว 55 องศา บอกขนาดด้วยความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางโตนอกของเกลียวในหน่นิ้วและระยะพิทซ์บอกเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้ว เช่น 1/4” -20 BSW

เกลียว BSF ( British Standard Fine )

ลักษณะเกลียว BSF
ลักษณะเกลียว BSF

เกลียว BSF หรือเกลียววิตเวอร์ตชนิดละเอียด ลักษณะเหมือนกับเกลียว BSW แต่จำนวนเกลียวต่อนิ้วจะมากว่าและอาจมีได้หลายค่าเช่น 1/4” -24 BSF หรือ 1/4”-26BSF เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งานเกลียว BSW และ BSF

เกลียว 2 ประเภทนี้จะใช้ในสกรูและน็อตหรือเรียกง่ายๆว่า น็อตเกลียวหุน พบได้ทั่วไปในหลายๆอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับน็อตเกลียวมิล สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไปซึ่งง่ายกว่าการหาน็อตเกลียวมิล บางทีก็เรียกน็อตเกลียวหุนว่า น็อตกิโล เพราะขายแบบชั่งตามน้ำหนักแทนการนับจำนวนตัว การใช้งานเช่น งานยึดโครงสร้างเหล็ก งานยึดหน้าแปลนในระบบท่อประปาและท่อดับเพลิง เป็นต้น

สกรูเกลียว BSW
สกรูเกลียว BSW
การใช้งานสกรูและน็อตเกลียว BSW ในงานระบบท่อ
การใช้งานสกรูและน็อตเกลียว BSW ในงานระบบท่อ

เกลียว Acme (American National Acme Thread)

ลักษณะเกลียว Acme
ลักษณะเกลียว Acme

เกลียว Acme คือเกลียวระบบอเมริกันที่มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มุมยอดเกลียว 29 องศา เรียกอีกอย่างว่าเกลียวแม่แรง  ด้วยขนาดเกลียวที่มีความหนาจึงสามรถรับแรงได้มากกว่าเกลียวมิล กำหนดขนาดเป็นนิ้วและบอกจำนวนเกลียวต่อนิ้วแทนระยะพิทซ์  เช่น 3/8”-12 Acme ,1”-5 Acme เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งานเกลียว Acme

เกลียวAcme มักพบเจอในลักษณะสตัดเกลียว (Stud Bolts หรือ Threaded Rod) ซึ่งใช้ในงานส่งกำลังของชิ้นส่วนเครื่องจักร เช่น Lead Screw , C Clamp หรือใช้ในอุปกรณ์แม่แรง เป็นต้น

การใช้เกลียว Acme ใน C Clamp
การใช้เกลียว Acme ใน C Clamp
การใช้เกลียว Acme ใน Lead Screw
การใช้เกลียว Acme ใน Lead Screw

เกลียว NPT (National Pipe Thread Taper)

เกลียว NPT

เกลียว NPT (National Pipe Thread Taper) เป็นเกลียวแบบเอียงหรือเกลียวสโลพ(Slope)มาตรฐานจากประเทศอเมริกามุมเอียง 1.47 องศา มุมยอดเกลียว 60 องศาและปลายเกลียวเรียบ นิยมใช้ทำเป็นเกลียวสำหรับท่อในงานต่างๆ โดยจะมีหน่วยวัดเป็นนิ้ว เช่น 1/2.” NPT , 2” NPT เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งานเกลียว NPT

เกลียว NPT จะใช้ในงานระบบท่อ(Piping System) เช่น ท่อประปา ท่อดับเพลิง ท่อไอน้ำ ท่อลมและท่อไฟฟ้า เป็นต้น

นิปเปิ้ลเกลียวนอก NPT
นิปเปิ้ลเกลียวนอก NPT
ดอกต๊าปเกลียวใน NPT
ดอกต๊าปเกลียวใน NPT

เกลียว BSPT (British Standard Pipe-Taper)

เกลียว BSPT

เกลียว BSPT (British Standard Pipe-Taper) เป็นเกลียวลักษณะเกลียวสโลพ มาตรฐานอังกฤษปลายเกลียวโค้งมน มุมเอียง 1.47 องศา มุมยอดเกลียว55 องศา โดยจะมีหน่วยวัดเป็นนิ้ว เช่น 1/2” BSPT  แต่ในบางครั้งจะใช้ตัวอักษร R เป็นชื่อเรียกแทน เช่น R3/4” ก็คือ 3/4”BSPT นั่นเอง

ตัวอย่างการใช้งานเกลียว BSPT

เกลียว BSPT จะใช้งานในลักษณะเดียวกับเกลียว NPT เช่น อุปกรณ์ข้อต่อเกลียวต่างๆในระบบท่อ

หางปลาไหล (Hose Nipple) เกลียวนอก BSPT
หางปลาไหล(Hose Nipple) เกลียวนอก BSPT
ฟันต๊าปเกลียวนอก BSPT
ฟันต๊าปเกลียวนอก BSPT

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหากเลือกใช้เกลียวไม่เหมาะสม

การเลือกใช้เกลียวแต่ละชนิดควรมีการศึกษาหรือหาข้อมูลให้ดีว่าลักษณะงานที่จะเลือกใช้เกลียวเหมาะสมกับเกลียวชนิดใด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆเหล่านี้

การเลือกใช้เกลียวสำหรับสกรูและน็อตต่างประเภทกัน

การเลือกใช้เกลียวสกรูและน็อตที่มีมาตรฐานหรือระยะพิทซ์ที่ต่างกันจะส่งผลเสียต่อการใช้งาน เช่น เมื่อนำสกรูเกลียวมิลขนาด M8 ไปใช้กับน็อตเกลียวหุนขนาด 5/16”  สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือจะไม่สามารถขันเข้าด้วยกันได้เพราะระยะพิทซ์ต่างกันและขนาดของน็อตเกลียวหุน 5/16” เทียบเป็นมิลได้ประมาณ 7.9 มม. ซึ่งเล็กกว่าขนาดของสกรู M8 ถ้าฝืนขันอัดไปจะทำให้เกลียวเสียหายได้

การเลือกใช้เกลียวสำหรับงานท่อต่างประเภทกัน

การใช้เกลียวท่อที่ต่างกันจะทำให้เกิดปัญหาด้านการรั่วซึมในขณะใช้งาน เช่น การใช้วาล์ว (Valve) เกลียว NPT ต่อกับท่อที่ปลายทำเกลียว BSP จะทำให้ขันท่อเข้าได้ไม่สุดเกลียวหรือไม่ลึกมากพอซึ่งอาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความ มาตรฐานเกลียวในระบอุตสาหกรรม เพื่อนๆคงจะได้รับความรู้กันไม่มากก็น้อยในบทความนี้ หากเพื่อนๆ สนใจบทความเกี่ยวกับวิศวกรรมเรื่องอะไรเป็นพิเศษ สามารถส่ง E-mail มาบอกพวกเราได้นะครับ

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.9 / 5. คะแนนโหวต: 16

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Technical Center Team

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า มาตรฐานเกลียว เพิ่มเติมได้ที่นี่
Learning guide
bearing-subject
taps-subject
pneumatics-subject
shaft-selection
drillbits

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง