Home » Technical » Industrial Standard » เคล็ดลับ การจัดทำระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

แผนบำรุงรักษาเชิงป้องกันสำหรับเครื่องจักร ทำอย่างไร ?

หลายครั้ง ที่วิศวกรมือใหม่ ต้องเผชิญกับคำถามสำคัญในการจัดทำระบบการบำรุงรักษาว่า “เราควรเริ่มจากจุดไหนก่อน เพื่อจะสร้างระบบงานซ่อมบำรุงที่มีมาตรฐานและเป็นที่น่าเชื่อถือ ? สำหรับองกรณ์” ในบทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันครับว่า ขั้นตอนการจัดทำระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) หรือ “ระบบ PM”  อย่างคร่าวๆ เพื่อวางรางฐานให้กับระบบงานซ่อมบำรุงของบริษัทของเพื่อนๆ ให้เป็นไปตามหลักสากล ทำได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

ขั้นการจัดทำระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกัน มีกระบวนการอะไรบ้าง?

ขั้นตอนในการจัดทำระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) หรือ “ระบบ PM” นั้น โดยทั่วไปแล้วสามารถแยกออกได้เป็น 7 หัวข้อหลัก ประกอบด้วย

  1. ทำความรู้จักไลน์การผลิตและรวบรวมข้อมูล
    • 1.1 Process Flow
    • 1.2 คู่มือการใช้งานเครื่องจักร
  2. กำหนด Rank ของเครื่องจักร – เป็นการกำหนดความสำคัญของเครื่องจักรเพื่อการพิจารณาดูแลเป็นพิเศษ
  3. กำหนดรายการที่ต้องทำในการซ่อมบำรุง – เป็นการระบุสิ่งต่างๆที่ต้องเพื่อให้เครื่องจักรยังทำงานได้
  4. กำหนดความถี่ในการซ่อมบำรุง – เป็นการระบุสิ่งต่างๆที่ต้องเพื่อให้เครื่องจักรยังทำงานได้
  5. จัดทำรายงานการตรวจเช็ค/รายงานซ่อมบำรุง เพื่อใช้สำหรับตรวจเช็คงานซ่อมบำรุง
  6. บันทึกข้อมูลภายหลังการซ่อมทุกครั้ง
  7. ปรับปรุงแผนการซ่อมบำรุงให้เหมาะสม

โดยในบทความนี้ เราจะมาดูรายละเอียดในหัวข้อ หัวข้อที่ 1 ทำความรู้จักไลน์การผลิตและรวบรวมข้อมูล และหัวข้อที่ 2 กำหนด Rank ของเครื่องจักร กันครับ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำหรับการเตรียมการ เพื่อกำหนดแผนงานซ่อมบำรุงกัน

ขั้นการจัดทำระบบ PM

1.  ทำความรู้จักไลน์การผลิตและรวบรวมข้อมูล

แน่นอนว่าการที่จะเริ่มทำอะไรสักอย่าง การมีข้อมูลเบื้องต้นถือเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่ในบางโรงงานนั้นมีเครื่องจักรเป็นร้อย เป็นพันตัว แถมยังมีหลากหลายรุ่นอีกต่างหาก ซึ่งสำหรับวิศวกร/พนักงานใหม่ ผู้ที่ไม่เคยอยู่ในสายงานนั้นมาก่อน ก็จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษาเครื่องจักรเหล่านี้ แต่หากเพื่อนๆ ต้องมาจัดทำระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ทั้งที่เพิ่งเริ่มงานมาไม่นาน จะมีข้อมูลใดบ้างที่ช่วยให้เพื่อนๆ สามารถสร้างระบบ PM ได้อย่างรวดเร็วและมีมาตรฐาน?

1.1 Process Flow

สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เพื่อนๆ เข้าใจระบบการทำงานได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกัน นั่นก็คือ “Process Flow ” ซึ่งจะบอกถึง จุดเริ่มต้นของขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การรับเข้าวัตถุดิบ เพื่อส่งไปยังกระบวนการต่างๆ ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ออกจากไลน์การผลิต ทำเพื่อนๆ ทราบว่า ในกระบวนการนี้มีเครื่องจักรอะไรบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมไปถึงปริมาณการผลิต และแนวทางการแก้ไขหากไลน์ผลิตเกิดปัญหาต่างๆ ซึ่ง Process Flow อาจพบเห็นได้ทั้ง แบบรูปภาพ และ แบบรูปแบบ Diagram

ตัวอย่าง Process Flow
ตัวอย่าง Process Flow
ของกระบวนการของการทำนมและการทำชีส ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่ การรีดนมจากวัว นำมาเข้ากระบวนการแปรรูป และนำมาบรรจุใส่กล่อง ก่อนนำส่งไปจำหน่ายตามร้านค้า
ตัวอย่าง Process Flow Diagram
ตัวอย่าง Process Flow Diagram
ของงานระบบในอุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่ามีการใช้สัญลักษณ์วาล์วเข้ามาเกี่ยวข้องในระบบ และดูมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

1.2 คู่มือการใช้งานเครื่องจักร

เมื่อเพื่อนๆ ทราบถึงกระบวนการต่างๆ ของไลน์การผลิตว่ามีอะไรบ้างแล้ว ก็ถึงเวลามาลงรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องในแต่ละส่วน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยวิศวกร/พนักงานใหม่ในการเรียนรู้นี้ได้เป็นอย่างดี นั่นคือ “คู่มือการใช้งานเครื่องจักร” เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงบอกว่าเครื่องจักรมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และมีกระบวนการทำงานอย่างไร แต่ในหลายๆ ครั้งยังบอกถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องให้ความสำคัญ ตัวอย่างเช่น การซ่อมบำรุงเชิงป้องกันพื้นฐานที่ควรทำเป็นประจำ ,ชิ้นส่วนใดบ้างที่จะทำการเปลี่ยนเมื่อครบกำหนดตามเวลา, วิธีแก้ไขปัญหาเครื่องจักรเบื่องต้น (Machine Troubleshooting) เป็นต้น แต่ในบางครั้งคู่มือการใช้งานเครื่องจักร อาจะระบุข้อมูลไว้ไม่ครบถ้วน ดังนั้นการติดต่อไปหาผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักร เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมก็เป็นอีกหนึ่งทางออกเช่นกัน

คู่มือการใช้งานเครื่องจักร

จากรูปจะเห็นได้ว่า คู่มือการใช้งานเครื่องจักรมีการระบุหัวข้อที่หลากหลาย ไม่เพียงแค่วิธีการใช้งาน แต่ยังรวมถึงส่วนประกอบ ความปลอดภัยต่างๆ อีกด้วย

2. กำหนด Rank ของเครื่องจักร

เมื่อเพื่อนๆ ทราบจำนวนและบริเวณที่ตั้งของเครื่องจักรที่ต้องรับผิดชอบแล้ว ก็ถึงคราวนำข้อมูลเครื่องจักรเหล่านั้นมารวบรวมจัดทำเป็น “ทะเบียนเครื่องจักร” แต่สิ่งหนึ่งที่มักจะไม่ค่อยพบเห็นกันในทะเบียนเครื่องจักร แต่เป็นสิ่งสำคัญที่ควรระบุไว้เป็นอย่างยิ่ง ก็คือ “Rank ของเครื่องจักร” ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกลำดับความสำคัญของเครื่องจักรและอุปกรณ์นั้นๆ ว่าควรได้รับการดูแลรักษามากน้อยเพียงใด โดย Rank ของเครื่องจักรสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ

2.1. แบ่งตามระดับผลกระทบที่ส่งผลต่อกระบวนการผลิต

การกำหนด Rank ของเครื่องจักรโดยพิจารณาจากผลกระทบที่ส่งผลต่อกระบวนการผลิต สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

2.1.1. เครื่องจักร Rank A

เครื่องจักร Rank A หมายถึง เครื่องจักรที่หากชำรุด จะส่งพบกระทบต่อกระบวนการผลิตหยุดชะงักหรือเป็นเครื่องจักรที่ต้องได้รับการควบคุมมาตรฐานด้านความปลอดภัย ตามข้อกำหนดของกรมโรงงาน เช่น เครื่องจักรหลักในกระบวนการผลิต หม้อต้มไอน้ำ (Boiler), ปั้มลมอุตสาหกรรม (Air Compressor) เป็นต้น

หม้อต้มไอน้ำ (Boiler)
หม้อต้มไอน้ำ (Boiler)
ปั้มลมอุตสาหกรรม (Air Compressor)
ปั้มลมอุตสาหกรรม (Air Compressor)

2.1.2. เครื่องจักร Rank B

เครื่องจักร Rank B หมายถึง เครื่องจักรที่หากชำรุด จะส่งพบกระทบต่อคุณภาพของสินค้า/กระบวนการทำงาน เช่น ปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump), ปั๊มสำหรับระบบชิลเลอร์ (Pump for Chiller) หรือ เครื่องจักรขนาดเล็กที่มีสำรองทดแทนกรณีชำรุด

ปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump)
ปั๊มสูญญากาศ (Vacuum Pump)
ปั๊มสำหรับระบบชิลเลอร์  (Pump for Chiller)
ปั๊มสำหรับระบบชิลเลอร์ (Pump for Chiller)

2.1.3. เครื่องจักร Rank C

เครื่องจักร Rank C หมายถึง เครื่องจักรที่หากชำรุด จะไม่กระทบต่อคุณภาพของสินค้า/กระบวนการทำงาน เช่น ระบบไฟส่องสว่าง, ระบบเครื่องปรับอากาศในออฟฟิศ ฯลฯ

ระบบไฟส่องสว่าง
ระบบไฟส่องสว่าง
ระบบเครื่องปรับอากาศในออฟฟิศ
ระบบเครื่องปรับอากาศในออฟฟิศ

ซึ่งมาตรฐานในการกำหนด Rank ของเครื่องจักรในระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกันนั้น สามารถยึดจากข้อกำหนดพื้นฐานด้านบนได้ แต่หากเพื่อนๆ ต้องการเพิ่มระดับความสำคัญให้มากขึ้น โดยการใช้หลักการให้คะแนนก็จะช่วยให้ เพื่อนๆ สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของเครื่องจักรได้อย่างชัดเจนมากขึ้น  

2.2. แบ่งตามระดับคะแนนความสำคัญตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

การแบ่ง Rank ของเครื่องจักรด้วยวิธีนี้ จะใช้หลักการให้คะแนนความสำคัญขององค์ประกอบหลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาที่เครื่องจักรไม่สามารถใช้งานได้, ระยะเวลาในการซ่อม, ความถี่ที่เครื่องจักรเสีย, ความพร้อมของอะไหล่ที่สามารถนำไปซ่อมได้ทันที เป็นต้น โดยปัจจัยเหล่านี้จะนำมาพิจารณาเป็นคะแนนทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ความสำคัญของเครื่องจักรได้อย่างแม่นยำและชัดเจนมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การทำ เอกสารระบุความสำคัญของเครื่องจักร โดยสามารถพิจารณาได้จากตัวอย่างด้านล่างนี้

เอกสารระบุความสำคัญของเครื่องจักร
เอกสารระบุความสำคัญของเครื่องจักร

จากตารางจะเห็นได้ว่า ถึงแม้จะเป็นเครื่องจักรชนิดเดียวกัน แต่ก็มีโอกาสที่ Rank ของเครื่องจักรจะแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุการการใช้งานของเครื่องจักร และความยากง่ายในการซ่อมบำรุงด้วยเช่นกัน ดังนั้นการทราบ Rank ของเครื่องจักรที่ชัดเจนจะช่วยให้ทีมงานสามารถวางแผนการซ่อมบำรุง และจัดการเรื่องของการเก็บสต๊อกอะไหล่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่าขั้นตอนในการเตรียมการ ทั้งการรวบรวมข้อมูลเครื่องจักร และการกำหนดความสำคัญของเครื่องจักรนั้น ก็เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการจัดทำระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เป็นอย่างมาก เพราะทำให้ทีมงานซ่อมบำรุงสามารถระบุความสำคัญในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้อย่างชัดเจนละส่งผลให้สามารถสร้างระบบ PM ที่มีประสิทธิภาพแม่นยำ ในบทความถัดไป เราจะมาพูดถึงหัวข้อที่ 3 ถึง 5 นั่นก็คือ “ขั้นตอนการเขียนแผนงานซ่อมบำรุง ” กันครับ

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 3

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Technical Center Team

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า บำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventing Maintenance) เพิ่มเติมได้ที่นี่
Learning guide
No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง