เข้าใจพัดลมที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
สารบัญ
การระบายอากาศเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตและการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือมีความเสี่ยงที่เกิดจากสารเคมี ซึ่งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของพนักงานและประสิทธิภาพของเครื่องจักร ดังนั้นการเลือกใช้ พัดลมอุตสาหกรรม ที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อช่วยให้วิศวกรใหม่เข้าใจหลักการและความสำคัญของพัดลมอุตสาหกรรม บทความนี้จะครอบคลุมถึงการทำงานของพัดลมอุตสาหกรรม การเลือกใช้งาน
ความสำคัญของพัดลมอุตสาหกรรม
การลดความร้อนและอุณหภูมิสูง – พัดลมช่วยลดความร้อนในกระบวนการผลิตหรือในพื้นที่ปฏิบัติงาน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากความร้อนสะสมที่ทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์เสียหาย
การระบายอากาศที่สะอาด – สำหรับงานที่มีการใช้สารเคมีหรือผลิตฝุ่นละออง พัดลมอุตสาหกรรมช่วยควบคุมคุณภาพอากาศ ลดการสะสมของฝุ่นและก๊าซพิษที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพนักงาน
การควบคุมความชื้นและการระบายอากาศ – พัดลมช่วยระบายอากาศในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ทำให้พื้นที่การผลิตเหมาะสมต่อการทำงานและการจัดเก็บอุปกรณ์
หลักการทำงานของพัดลมอุตสาหกรรม
พัดลมอุตสาหกรรมทำงานแบ่งออกเป็นสามประเภทหลักตามลักษณะการทำงานของใบพัดที่จะควบคุมการไหลของอากาศ ตามความต้องการของแต่ละพื้นที่
AXIAL FLOW FAN (พัดลมชนิดเป่าตามแนวแกน) – ใช้ในการไหลของอากาศในแนวเดียวกับแกนใบพัด เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการลมปริมาณมากแต่แรงดันต่ำ เช่น การระบายอากาศทั่วไปในโรงงานและโกดังสินค้า (MD Series)
CENTRIFUGAL BLOWER (โบลเวอร์แบบแรงเหวี่ยง) – ใช้ใบพัดที่มีการหมุนให้เกิดแรงเหวี่ยงเพื่อสร้างแรงดันอากาศสูงกว่า เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการแรงดันอากาศสูง เช่น การระบายอากาศในพื้นที่ที่มีระบบกรองอากาศ ระบบดูดฝุ่น ระบบลำเลียงวัสดุ
CROSS FLOW FAN (พัดลมชนิดเป่าขวางแนวแกน) – มีลักษณะใบพัดแบบพิเศษที่สร้างลมในทิศทางขวางจากจุดหมุน ใช้ในงานที่ต้องการกระจายลมอย่างสม่ำเสมอ เช่น การระบายอากาศในเครื่องจักรที่ใช้พื้นที่จำกัด
วิธีการเลือกและใช้งานพัดลมอุตสาหกรรม
วิธีการเลือกใช้พัดลมอุตสาหกรรมสำหรับวิศวกรมือใหม่ควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้:
- ปริมาณอากาศที่ต้องการ – โดยทั่วไปแต่ละพื้นที่ควรมีปริมาณการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม บ่งบอกโดยค่าการไหลเวียนของอากาศต่อชั่วโมง CFM (Cubic Feet per Minute) หรือ CMM (Cubic Meters per Minute) ซึ่งช่วยให้สามารถเลือกพัดลมที่เหมาะสมกับชนิดและขนาดพื้นที่ได้ โดย CFM เป็นเลขที่จะบ่งบอกว่าอากาศที่บ่งบอกได้ว่าอากาศภายในขอบเขตที่สนใจต้องถ่ายเทแลกเปลี่ยนได้กี่ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที ตามสูตรด้านล่าง
CFM (ft3/min) = ความเร็วลม (ft/min) x ขนาดพื้นที่ (ft2)
โดยค่าที่เหมาะสมจะพิจารณาจากหลายปัจจัยได้แก่ มลพิษ อุณหภูมิ ความชื้น และความสะอาดของอากาศภายในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งแต่ละพื้นที่อาจจะกำหนดความเร็วลมที่ต้องการแตกต่างกันออกไป เช่น ห้องพ่นสีที่มีสารเคมีเยอะ ก็ควรจะถ่ายเทอากาศให้หมด ภายใน1-2นาที หากห้องพ่นสีนี้มีขนาด 200 ลูกบาศก์ฟุต จะต้องการระบบที่สามารถถ่ายเทอากาศได้ 100-200 CFM จึงจะเพียงพอ
รูปแบบการใช้งาน – พัดลมแกนตามแนว (AXIAL FLOW FAN) เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการแรงดันต่ำและลมจำนวนมาก ส่วนพัดลมแบบแรงเหวี่ยง (CENTRIFUGAL BLOWER) จะเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการแรงดันสูง ในขณะที่ พัดลมชนิดเป่าขวางแนวแกน (CROSS FLOW FAN) เน้นการกระจายแรงลมอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
การใช้เทอร์โมสตัท (THERMOSTAT) – เพื่อการประหยัดพลังงาน ควรเลือกพัดลมที่สามารถทำงานร่วมกับเทอร์โมสตัทได้ ซึ่งช่วยควบคุมการทำงานให้เปิดปิดตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ล่วงหน้า เพื่อลดการใช้งานพัดลมที่เกินจำเป็น
สรุป
พัดลมอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้กระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การทำความเข้าใจการเลือกใช้พัดลมที่เหมาะสมเป็นขั้นตอนแรกสำหรับวิศวกรในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและมีประสิทธิภาพในโรงงาน หากต้องการเลือกพัดลมที่มีประสิทธิภาพ สามารถพิจารณาจากผลิตภัณฑ์ของ Oriental Motor ในซีรีส์ที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน ในสัปดาห์หน้าเราจะมีบทความอะไรมานำเสนอ เชิญมาติดตามไปพร้อมๆกันนะครับ รู้ครบจบที่นี่ MiSUMi Technical