Home » Technical » Mechanical » เพลา (Shaft) คืออะไร

เพลา (Shaft) คืออะไร ต่างกับแท่งเหล็กธรรมดาอย่างไร

เพื่อนๆหลายคนเคยสงสัยกันมั้ยว่า เพลา , เสา หรือโครงสร้างที่เป็นแท่งกลมๆ แต่ละแบบใช้แตกต่างกันอย่างไร บางคนก็สับสน หรืออาจจะเลือกใช้โดยดูแค่รูปร่างและขนาดเป็นหลักกันใช่มั้ยครับ ดังคำกล่าว ”รู้หน้าไม่รู้ใจ” เช่นกันครับ แม้เราจะเห็นเพลาหน้าตาคล้ายๆกัน จริงๆแล้วมันมีอะไรที่ต้องพิจารณาอีกมากมาย ตามประเภทงานที่จะใช้นะครับ

เพลา (Shaft) คืออะไร

1.) ประเภทวัสดุ

เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพ โดยรวมของชิ้นงานไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรง การทนต่อแรงตามแนวแกนและแนวขวาง ความทนต่อแรงบิด ทนต่อสภาพแวดล้อม นอกจากนี้น้ำหนักก็เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้เช่นกันนะครับ

2.) กระบวนการชุบผิว

การชุบผิวจะช่วยในเรื่องของการทนต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการกัดกร่อนจากสารเคมี ป้องกันสนิมจากความชื้น นอกจากนี้ยังช่วยลดรอยขีดข่วนจากการเสียดสีได้อีกด้วย

3.) พิกัดความเผื่อ

เป็นค่าที่จะใช้กำหนดว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเพลาจะมีโอกาสคลาดเคลื่อนจากขนาดอ้างอิงได้แค่ไหน ค่าความเผื่อจะมีมากมายหลายระดับ โดยเราต้องเลือกให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันด้วย ถ้าหากเราเลือกหลวมเกินไป อาจเคลื่อนที่ได้ง่าย แต่ก็จะมีความแม่นยำที่ลดลง หรือหากเราเลือกแบบพอดีเกินไปอาจจะได้ความแม่นยำสูงก็จริงอยู่ แต่ก็ทำให้เคลื่อนที่ได้ยากเช่นกัน

4.) รูปทรงส่วนปลาย

ในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานเป็นหลัก อาจเป็นทรงตัดตรงหากต้องการความแม่นยำตั้งฉากกับแกนเพลา(Shaft) หรืออาจเพิ่มบ่ารับด้วยหากอยากกำหนดความแม่นยำของระยะตามแนวแกน รวมไปถึงเซาะร่องลิ่มไว้สำหรับเพลาแบบหมุน (Rotary shaft) เป็นต้น

5.) โดยในการทำงานจริงก็ยังมีวิธีการอื่นๆอีกมากมาย แตกต่างกันไปตามแต่ละโรงงาน

ในตารางด้านล่างเราจะแนะนำผลิตภัณฑ์พื้นฐาน 4 ชนิด ซึ่งหน้าตาคล้ายกันอย่างมาก แต่การใช้งานช่างต่างกันยิ่งนัก

ชื่อผลิตภัณฑ์วัสดุกระบวนการชุบผิวค่า Tolerance ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก และค่าความแม่นยำ โดยทั่วไปการใช้งาน
Linear ShaftsSUJ2, SUS440C
หรือเทียบเคียง
S45C, SUS304
ชุบฮาร์ดโครเมี่ยม (Hard Chrome)
 (HV750〜)
เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกเพลา:g6、f8
สามารถเลือกตามความกลม ความเป็นเส้นตรง ความตั้งฉาก ความร่วมศูนย์
ใช้ร่วมกับ Linear bush สำหรับโครงสร้างการเคลื่อนที่ แนวเส้นตรง
เช่น Pusher, Lifter เป็นต้น
Rotary ShaftsS45C
SUS304
SCM435
ชุบนิกเกิลแบบใช้ไฟฟ้า (Electroless Ni-P) เคลือบ Triiron Tetraoxideเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกเพลา:g6
สามารถเลือกตามความกลม ความเป็นเส้นตรง ความตั้งฉาก ความร่วมศูนย์
มักจะใช้ร่วมกับตลับลูกปืน เพื่อรองรับการเคลื่อนที่แบบหมุน เช่น Turn table, ล้อ, กังหัน
Thick-Walled Ground Stainless Steel Hollow TubesSUS304เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกท่อ:h8โครงสร้างทั่วไป ที่ต้องการน้ำหนักเบา อาจใช้ช่องว่างภายในท่อ ในการเดินสายไฟ หรือ ระบายความร้อนก็ได้เช่นกัน
Circular PostsSS400
SUS304
ชุบนิกเกิลแบบใช้ไฟฟ้า (Electroless Ni-P) เคลือบ Triiron Tetraoxideเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของเสาค้ำ:0−0.1มักใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างเครื่องจักรที่ต้องการความแม่นยำสูง หรืออาจใช้เป็นขาตั้งของเครื่องมือวัดก็ได้

ตัวอย่างการใช้งานเพลา ชนิดต่างๆ

what-is-shaft
ตัวอย่างการใช้งาน เพลาตรง
(Linear Shaft)
what-is-shaft
ตัวอย่างการใช้งานเสากลม
(Circular Post)
machine-structure-design-actuator
ตัวอย่างการใช้งานท่อกลวง
(Hallow Shaft)
what-is-shaft
ตัวอย่างการใช้งาน เพลาหมุน
(Rotary Shaft)

จากข้อมูลด้านบน จะเห็นได้ว่าแม้จะรูปร่างหน้าตาคล้ายกัน วัสดุ เดียวกัน แต่หากชุบผิวต่างกันค่าพิกัดความเผื่อต่างกัน ก็จะถูกนำไปใช้ในจุดประสงค์ที่แตกต่างกันได้ โดยเพลา(Shaft)จะใช้ในงานที่มีการเคลื่อนที่แบบเส้นตรงหรือหมุน ในขณะที่เสา (Post) หรือท่อกลวง (Hollow tube) ก็จะใช้ในงานโครงสร้างที่ไม่ขยับเขยื้อนครับ

สิ่งสำคัญคือนักออกแบบทุกคนจำเป็นต้องรู้ว่าเครื่องจักรที่เราออกแบบนั้น ต้องการโครงสร้างแบบไหน คุณสมบัติอย่างไร การกำหนดคุณสมบัติต่างๆอย่างเหมาะสม นอกจากจะช่วยให้เครื่องจักรของเราทำงานได้มีประสิทธิภาพแล้ว ยังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง อีกทั้งยังช่วยให้เราไม่เลือกสินค้าแพงเกินความต้องการด้วยครับ

สุดท้ายนี้อยากฝากไว้ว่า ไม่มีสินค้าใดดีที่สุด หรือ ยิ่งแพงยิ่งดี มีแต่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นครับ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคาตาคานะคำอ่าน
1เพลาシャフトSha-fu-to
2วัสดุ材料ざいりょうZai-ryō

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.3 / 5. คะแนนโหวต: 3

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Jullakarn (Ham) Ittirattana
ทำงานในแผนก New Business Development ของมิซูมิ จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิคส์จาก KMITL และปริญญาโทสาขา Intelligent mechanical system จาก Fukuoka institute of technology ประเทศญี่ปุ่น มีประสบการณ์หลายปี ในการทำงานออกแบบเครื่องจักรที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีความสนใจในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

Learning guide
shaft-selection

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save