มีดกลึง และ เม็ดมีด ต่างกันอย่างไร
สารบัญ
การขึ้นรูปชิ้นงานในอุตสาหกรรมด้วยกระบวนการกลึงนั้นประกอบด้วยเครื่องมือหลายชนิด เช่น เครื่องกลึง, เม็ดมีด (lathe insert), ด้ามจับเม็ดมีด (holder), มีดกลึง(lathe turning) และอื่นๆ ในบทความนี้เราจะมาดูกันครับว่า มีดกลึงและเม็ดมีดกลึง ต่างกันอย่างไร รวมไปถึงรูปร่างของเม็ดมีดมีผลต่อการใช้งานอย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ในบทความนี้
มีดกลึง คือ อะไร ?
มีดกลึงหรือ(Lathe Turning) คือ เครื่องมือตัดเฉือนชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับขึ้นรูปชิ้นงานในกระบวนการกลึง โดยเครื่องมือชนิดนี้จะถูกจับยึดอยู่กับที่ แล้วชิ้นงานที่จะนำมาขึ้นรูปนั้นจะถูกจับยึดไว้กับส่วนของ Spindle ของเครื่องกลึงหลังจากนั้น ชิ้นงานจะถูกหมุนด้วยความเร็วสูง เมื่อชิ้นงานสัมผัสกับมีดกลึงที่มีความคมและความแข็งมากกว่า จะทำให้ผิวชิ้นงานบางส่วนถูกตัดออกไปในขณะทำการขึ้นรูป
มีดกลึงในอุตสาหกรรมมีกี่ชนิด ?
หากจะแบ่งชนิดของมีดกลึงตามรูปแบบของด้ามจับมีด สามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบดังนี้
มีดกลึง และด้ามจับเป็นชิ้นเดียวกัน
ข้อดี
– ราคาถูก นิยมใช้ในสถานศึกษา และการผลิตชิ้นงานจำนวนน้อย
ข้อเสีย
– วัสดุที่ใช้ผลิตมีดกลึงมีให้เลือกค่อนข้างน้อย เช่น HSS
– เมื่อคมกัดสึกหรอ หรือหัก ต้องทำการลับคมใหม่ซึ่งทำให้เสียเวลาในการผลิต อีกทั้งมีโอกาสที่จะลับคมมีดได้ไม่เหมือนกับมุมของเดิมที่ใช้งานอยู่
– คมกัดและด้ามจับ เป็นชิ้นเดียวกัน มีโอกาสทำให้ด้ามของมีดตัดหักได้ หากใช้งานผิดวิธี
– ใช้เวลาในการติดตั้งมีดกลึงเป็นเวลานาน เพราะต้องทำการปรับความสูงของมีดกลึงหลังจากติดตั้งแล้ว
– เนื่องจากมีดกลึงมีขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการเก็บรักษา
มีดกลึง และด้ามจับคนละชิ้น (เปลี่ยนเม็ดมีดได้)
ข้อดี
– วัสดุที่ใช้ผลิตเม็ดมีดกลึงมีให้เลือกหลากหลาย เช่น คาร์ไบด์
– รูปทรงของเม็ดมีดมีให้เลือกมากมาย
– เมื่อคมกัดสึกหรอ หรือหัก สามารถเปลี่ยนเฉพาะเม็ดมีดได้เลย และใช้เวลาน้อยในการเปลี่ยน
– ใช้เวลาในการติดตั้งมีดกลึงน้อย
– เม็ดมีดมีขนาดเล็ก ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ
ข้อเสีย
– เม็ดมีด และด้ามจับมีราคาสูง
เม็ดมีดกลึง มีกี่แบบ ?
หากจะแบ่งตามหน้าการใช้งานของเม็ดมีดกลึง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบดังนี้
เม็ดมีดกลึง แบบใช้งานได้หน้าเดียว (Positive lathe insert)
เม็ดมีดรูปแบบนี้ มีคมตัดที่แข็งแรงน้อยกว่าทำให้เกิดการสึกหรอได้ง่าย เราสามารถแยกเม็ดมีดชนิดนี้ได้ด้วยการสังเกตรูปร่างด้านข้างของเม็ดมีด จะเห็นเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูนั่นเอง ในแคตตาล็อกสินค้ามักจะเรียกเม็ดมีดแบบนี้ว่า เม็ดมีดแบบ “Positive lathe insert”
เม็ดมีดกลึง แบบใช้งานได้สองหน้า (Negative lathe insert)
เม็ดมีดชนิดนี้ มีคมตัดที่แข็งแรงมากทำให้เกิดการสึกหรอได้ยาก ซึ่งเหมาะสำหรับการผลิตชิ้นงานเป็นจำนวนมาก ลักษณะของเม็ดมีดชนิดนี้ รูปทรงด้านข้างจะเป็นรูปสี่หลี่ยมผืนผ้า ในแคตตาล็อกสินค้ามักจะเรียกเม็ดมีดแบบนี้ว่า เม็ดมีดแบบ “Negative lathe insert”
จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความเกี่ยวกับ มีดกลึงที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อนๆ คงจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อยจากบทความนี้ ในบทความถัดไปเราจะมาดูกันครับว่า เม็ดมีดกลึงแบบใช้งานได้หน้าเดียว (positive lathe insert) และแบบใช้งานได้สองหน้า (negative lathe insert) ใช้งานต่างกันอย่างไร หากเพื่อนๆ ถูกใจบทความนี้หรือมีคำติชมใดๆ สามารถให้กำลังใจทีมงานผู้จัดทำเว็บไซต์ได้ที่ช่องคอมเมนต์ด้านล่าง หรือสนใจสินค้าคุณภาพสูงจากทางบริษัท OSG สามารถเลือกดูสินค้าเพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้เลยครับ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
คำศัพท์ | คันจิ | ฮิราคานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|
เม็ดมีด (insert) | – | – | インサート | In-sā-to |
ข้อมูลอ้างอิง