Home » Technical » Selection guide » วิธีการเลือกใช้ราง กระดูกงู (Cable Carrier)

วิธีการเลือกใช้ราง กระดูกงู (Cable Carrier) อย่างง่าย

กระดูกงู (Cable Carrier) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจัดเก็บสายสัญญาณของเครื่องจักร และสายไฟแบบต่างๆ มีวิธีการเลือกใช้งานอย่างไร ในบทความนี้เราจะมาดูวิธีการเลือกงานกระดูงูแบบเบื้องต้น ด้วย 5 ขั้นตอนนี้กันครับ

5 ขั้นตอนการเลือกใช้ราง กระดูกงู

cable-carrier-selection
ขั้นตอนการเลือกรางกระดูกงู

ขั้นตอนที่ 1 เลือกพื้นที่การใช้งานด้านในของราง กระดูกงู

ในการเลือกพื้นที่การใช้งานภายในของรางกระดูกงู เราต้องพิจารณาโดยคำนึงถึงขนาดของสาย รวมไปถึงต้องเผื่อระยะห่างระหว่างสายด้วยเช่นกัน

cable-carrier-selection
ภาพหน้าตัดของรางกระดูกงู ที่แสดงระยะห่างระหว่างสายสัญญาณ

วิธีการเลือกราง กระดูกงู   

  • ความสูง
    • เส้นผ่านศูนย์กลางของสายสัญญาณ จะต้องเล็กกว่า ความสูงภายในของรางกระดูกงูอย่างน้อย 20%
  • พื้นที่การใช้งานภายใน
    • สายสัญญาณทั้งหมดที่บรรจุอยู่ภายใน ไม่ควรเกิน 60% ของพื้นที่ด้านในของรางกระดูกงู
      •  กรณี สายไฟ  หากงอแคบกว่ารัศมีแคบสุด อาจทำให้สายไฟเกิดการชำรุดหักงอภายใน
      • กรณี สายท่อลม  หากงอเกินกว่ารัศมีแคบสุด อาจทำให้ปริมาณลมไม่เพียงกับการทำงานของเครื่องจักรได้ เนื่องมาจาก สายท่อลมถูกปิดกั้น 

ในการเลือกรางกระดูกงู เราต้องเลือกรางกระดูกงูที่มีรัศมีความโค้งมากกว่ารัศมีความโค้งขั้นต่ำของสายที่ใช้ภายในเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดจากการชำรุดของสายต่าง ๆ ที่ติดตั้งภายในกระดูกงู 

cable-carrier-selection
รูปแสดงรัศมีความโค้งของรางกระดูกงู

ระยะห่างระหว่างสายสัญญาณกับ ผนังด้านในของรางกระดูกงู

ประเภทของสายระยะห่างระหว่างสายและผนังด้านใน
สายไฟ (Electrical cable)เผื่อระยะออกไป 10% ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสาย (Outside Diameter) และควรมีระยะห่างระหว่างสายอย่างน้อย 1 mm.
สายระบบลม (Pneumatic Lines) ให้เผื่อระยะออกไป 15% ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสาย (Outside Diameter) และควรมีระยะห่างระหว่างสายอย่างน้อย 2 mm.
สายในระบบไฮโดรลิค (Hydraulic Hoses)ให้เผื่อระยะออกไป 20% ของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสาย (Outside Diameter) และควรมีระยะห่างระหว่างสายอย่างน้อย 3 mm.

ขั้นตอนที่ 2 เลือกรุ่นของราง กระดูกงู ที่ต้องการใช้งาน

               MISUMI มีรางกระดูกงูมากมายหลายรุ่นให้ทุกท่านเลือกใช้งาน ดังนี้ หากท่านสนใจอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเลือกได้ใน E-Catalogue ที่นี่เลยครับ -> รางกระดูกงู MISUMI ในตัวอย่างนี้เราจะเลือกรางกระดูกงูที่มีคุณสมบัติดังนี้

  • ฝาครอบเปิด-ปิดได้ง่าย สะดวกต่อการติดตั้งหรือ ซ่อมบำรุง
  • เสียงรบกวนไม่ดังจนเกินไป
  • ใช้ในห้อง Cleanroom 

จากคุณสมบัติข้างต้น Product ที่เหมาะสมก็คือ MPSCS series

cable-carrier-selection

ขั้นตอนที่ 3 คำนวณความยาวของราง กระดูกงู โดยใช้ระยะ free span

cable-carrier-selection

ความยาวของรางกระดูกงู

L = S/2 + [ส่วนโค้ง + (*ระยะเผื่อ)]
 *ระยะเผื่อใช้ก็ต่อเมื่อ กรณีจุดยึดไม่ใช่จุดกึ่งกลางของการเคลื่อนที่

ระยะ Free Span หมายถึง ระยะระหว่างปลายด้านเคลื่อนที่ได้ของรางกระดูกงู (A) กับจุดเริ่มต้นของรัศมีส่วนโค้ง (B) สามารถ คำนวณได้จากสูตร

Free Span = ระยะเคลื่อนที่ทั้งหมด / 2

ตัวอย่างเช่น กระดูกงูมีระยะเคลื่อนที่ 1500 mm. ฉะนั้น ระยะ Free Span คือ 1500/2 = 750 mm.

ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบ carried load ของราง กระดูกงู ด้วยกราฟ

               จากความสัมพันธ์ระหว่างระยะ Free Span กับภาระโหลดที่รับได้ (น้ำหนักของสายสัญญาณที่ติดตั้งภายในรางกระดูกงู) สองค่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นในการพิจารณาหา Carried load ซึ่งรางกระดูกงูแต่ละประเภท จะมีค่าความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งพิจารณาได้จากกราฟด้านล่าง ดังนี้

cable-carrier-selection

ตัวอย่างการใช้งานกราฟ

ข้อมูลที่ต้องใช้ในการพิจารณา

ขั้นตอน 4.1วิธีการ
cable-carrier-selectionเลือกกราฟของรางกระดูกงูให้ถูกต้องกับรุ่นที่ใช้งานและพิจารณา
พื้นที่ใต้กราฟนั้น ในส่วนสีเขียวหมายถึงสามารถ
ใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น MPSCS 2540-2560 series
ขั้นตอน 4.2วิธีการ
cable-carrier-selectionพิจารณาภาระโหลดของสายสัญญาณที่บรรจุอยู่ภายในรางกระดูกงู
ตัวอย่างเช่น 1.5 kgf/m.
ขั้นตอน 4.3วิธีการ
cable-carrier-selectionนำค่า Free Span มาใช้ตัวอย่างเช่น 0.75
ขั้นตอนที่ 4.4วิธีการ
cable-carrier-selectionตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระยะ Free Span กับภาระโหลด อยู่ในพื้นที่กราฟสีเขียวหรือไม่ ?

อยู่ในพื้นที่สีเขียว คือ ใช้งานได้
ไม่อยู่ในพื้นที่สีเขียว คือ ไม่สามารถใช้งานไม่ได้

ขั้นตอนที่ 5.คำนวณจำนวนข้อต่อของ รางกระดูกงู

               ในการคำนวณจำนวนข้อต่อของรางกระดูกงูเรามีสูตรคำนวณ ง่าย ๆ มาให้ใช้กันครับ

cable-carrier-selection

ตัวอย่างการคำนวณ

รางกระดูกงูรุ่น MPSCS 2540-2560 ยาว 1500 mm.และกำหนดให้ Fixed point เป็นจุดกึ่งกลางของการเคลื่อนที่ จะต้องใช้กระดูกงูจำนวนกี่ข้อ ?

cable-carrier-selection
cable-carrier-selection

เมื่อเปิด E-catalogue รางกระดูกงูของ MISUMI จะสามารถหาข้อมูลของค่า K และ P ได้จากตารางดังนี้

cable-carrier-selection

ข้อแนะนำสำหรับนักออกแบบมือใหม่

               ในบางครั้งอาจมีความเป็นไปได้ที่ข้อต่อที่ท่านได้คำนวณ อาจจะไม่เพียงพอเมื่อนำไปใช้งานจริง ทางเราจึงแนะนำให้เผื่อจำนวนของข้อต่อ 1-2 ชิ้นเวลาสั่งซื้อ ซึ่งท่านสามารถที่จะถอดออกภายหลังได้เมื่อลองนำไปติดตั้งในบริเวณของเครื่องจักร

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคาตาคานะคำอ่าน
1รางกระดูกงู (Cable carrier)ケーブルキャリアKē-bu-ru-kya-ria

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 4

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า Cable carrier เพิ่มเติมได้ที่นี่
Related Content

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง