Home » Technical » Mechanical » วิธีการใช้งาน ลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing)

วิธีการใช้งาน ลิเนียร์บุชชิ่ง ในเครื่องจักรอย่างง่าย

เมื่อเพื่อนๆ จะออกแบบกลไกแบบเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง เชื่อว่ากลไกที่มักจะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เลยก็คือ ใช้เพลาคู่กับ ลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing) แต่ทำไมต้องใช้ลิเนียร์บุชชิ่งล่ะ เพื่อนๆ สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้ เราได้รวบรวมทั้งข้อดีของการใช้งานอุปกรณ์ รวมไปถึงตัวอย่างการใช้งานในเครื่องจักรร่วมกับกลไกแบบต่างๆ ไว้อย่างครบถ้วน

ข้อดีของการใช้ลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing) ในการออกแบบเครื่องจักร

  1. เป็นอุปกรณ์สำหรับรองรับการเคลื่อนที่แนวเส้นตรง ที่ช่วยสร้างความสมดุลในการเคลื่อนที่ได้ในราคาย่อมเยา (ประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับต้นทุน)
  2. ง่ายต่อการเลือกใช้แอคชูเอเตอร์ เพราะมีค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานต่ำ (ใช้งานร่วมกับกระบอกสูบ หรือ มอเตอร์ก็ได้)
  3. ใช้งานร่วมกับสายพานไทม์มิ่งได้ โดยไม่เกิดเสียงรบกวน และทำให้กลไกขับเคลื่อนมีน้ำหนักเบา
  4. กรณีใช้งานเคลื่อนที่ตามแนวตั้ง สามารถใช้เป็นแกนกลางขับเคลื่อนได้ ทำให้โครงสร้างมีรูปแบบที่เรียบง่าย และขนาดกะทัดรัด

ตัวอย่างการใช้งานลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing)

เราได้นำตัวอย่างการใช้งานลิเนียร์บุชชิ่งร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ มาให้เพื่อนๆ ได้ศึกษากันครับ โดยมีด้วยกัน 4 หัวข้อ ดังนี้

(1) สเต็ปปิ้งมอเตอร์กับการขับเคลื่อนสายพานไทม์มิ่ง

 ข้อดีที่ได้เมื่อใช้งานขับเคลื่อนสายพานไทม์มิ่ง ได้แก่ ทำงานเงียบ โครงสร้างมีน้ำหนักเบา ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องเติมน้ำมันหล่อลื่น และอื่นๆ กรณีใช้งานร่วมกับโต๊ะงาน 2 แกน XY หากแกน Y ที่อยู่ชั้นบนมีน้ำหนักเบา ก็จะช่วยลดภาระโหลดน้ำหนักของมอเตอร์แกน X ที่อยู่ชั้นล่างลงด้วย นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้สายพานไทม์มิ่ง มักจะถูกออกแบบให้ใช้งานบนแกน Y

a) [แผนภาพที่ 1] เป็นกลไกการขับเคลื่อน 3 แกน XYZ แบบทั่วไป

 ให้แกน X เป็นสไลด์ไกด์ ขณะที่แกน Y และแกน Z ใช้ลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear bushing) ในการขับเคลื่อนด้วย สายพานไทม์มิ่ง และ บอลสกรู

linear-bushing-simple-machine

b) [รูปที่ 1] เป็นตัวอย่างการใช้งานเครื่องลำเลียง IC Chip บนแกน Y โดยที่การเคลื่อนที่บนแกน Y ถูกแปลงเป็นการเคลื่อนที่แบบไปกลับโดยสายพานไทม์มิ่ง

linear-bushing-simple-machine

c) [แผนภาพที่ 2] เป็นตัวอย่างการใช้งานโรบอท 1 แกน โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1.ใช้ลิเนียร์บุชชิ่ง 2 ชิ้น เคลื่อนที่ในมุมกว้างเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักและเพิ่มความแม่นยำ
2.โครงสร้างการจัดวางสายพานและพูลเล่ย์เป็นไปตามหลักการ รอกเดี่ยวเคลื่อนที่ [แผนภาพที่ 3] เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการกำหนดตำแหน่งและเพิ่มประสิทธิภาพของกำลังมอเตอร์
3.เนื่องจากขับเคลื่อนด้วยสายพานไทม์มิ่ง จึงมีน้ำหนักเบาและทำงานเงียบ
4.แม้จะใช้เพลาเพียง 1 ชิ้นก็สามารถควบคุมการหมุนของลิเนียร์บุชชิ่ง ได้โดยการติดตั้งสายพานไทม์มิ่งกับเพลาให้ขนานกันแบบบนล่าง
linear-bushing-simple-machine
linear-bushing-simple-machine
linear-bushing-simple-machine

(2) สเต็ปปิ้งมอเตอร์และบอลสกรูขับเคลื่อน

  • การขับเคลื่อนด้วยบอลสกรูมีอัตราการส่งกำลังและประสิทธิภาพของมอเตอร์ที่ดีเยี่ยม เนื่องจาก [1] สามารถแปลงการหมุนของมอเตอร์เป็นการเคลื่อนที่แนวเส้นตรงได้โดยตรง [2] บอลสกรูพิทช์มีคุณสมบัติการทำงานที่ใช้เป็นอุปกรณ์ลดความเร็วได้
  • [แผนภาพที่ 4] เป็นกลไกขับเคลื่อนโดยใช้ลิเนียร์บุชชิ่งและบอลสกรูบนแกน Y นิยมใช้ในกลไกที่ต้องการความแม่นยำในการกำหนดตำแหน่งและต้องการลด Takt Time
linear-bushing-simple-machine

■คำอธิบายเพิ่มเติม

a) คุณสมบัติของสเต็ปปิ้งมอเตอร์
สเต็ปปิ้งมอเตอร์สามารถจ่ายทอร์คสูงด้วยความเร็วรอบต่ำ (ใช้ทอร์คสูงขณะสตาร์ทเครื่องและขณะลดความเร็ว) จึงเหมาะสำหรับใช้ควบคุมการเคลื่อนที่หลายตำแหน่งด้วยระยะทางเคลื่อนที่สั้น

b)ความแม่นยำที่ต้องการของมอเตอร์ตามความแม่นยำในการกำหนดตำแหน่งที่ต้องการ
หากความแม่นยำในการกำหนดตำแหน่งที่ต้องการ=±0.01 (mm) โดยเลือกใช้บอลสกรูที่มีระยะลีดพิทช์=10 (mm/rev) จะสามารถคำนวณความแม่นยำที่ต้องการของสเต็ปปิ้งมอเตอร์ (จากการคำนวณ) ได้ตามสมการต่อไปนี้

linear-bushing-simple-machine

(3) ใช้ ลิเนียร์บุชชิ่ง รวมกับกระบอกลมขับเคลื่อน

  • [แผนภาพที่ 5] เป็นตัวอย่างของอุปกรณ์รองลื่นสำหรับกระบอกลมขับเคลื่อน ที่ใช้ในกลไกแคลมป์ยึดจับ ส่วน [รูปที่2] เป็นตัวอย่างของกระบอกลมขับเคลื่อนที่เชื่อมต่อด้วยแม่เหล็ก ทั้งคู่มีการใช้ลิเนียร์บุชชิ่ง(ตรงปลายลูกศรชี้)
  • กระบอกลมขับเคลื่อนไม่สามารถควบคุมความเร็วขณะสตาร์ทเครื่องและขณะหยุดทำงานได้ จึงต้องใส่ชิ้นส่วนโช้คอัพเพื่อช่วยลดแรงกระแทกขณะหยุดทำงาน ([รูปที่2])
linear-bushing-simple-machine

(4) ใช้ ลิเนียร์บุชชิ่ง ร่วมกับอุปกรณ์นำทางการเคลื่อนที่ในแนวตั้ง

ตัวอย่างนี้เลือกใช้ลิเนียร์บุชชิ่งแบบมีหน้าแปลน เป็นอุปกรณ์นำทางการเคลื่อนที่ในแนวตั้ง สามารถติดตั้งลิเนียร์บุชชิ่งได้อย่างแน่นสนิทโดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์รองรับน้ำหนักเสริม ทำให้กลไกมีความเรียบง่ายและมีขนาดกะทัดรัด (ส่วนสไลด์ไกด์จำเป็นต้องใช้แผ่นติดตั้งในแนวดิ่งสำหรับยึดราง)

linear-bushing-simple-machine
  • โครงสร้างที่คล้ายคลึงกับ [รูปที่4] อย่างเช่น อุปกรณ์เคลื่อนที่ขึ้นลงที่อยู่ใต้สายพานลำเลียง ([แผนภาพที่ 6]) กลไกกำหนดตำแหน่ง ([แผนภาพที่ 7]) ฯลฯ ก็สามารถเลือกใช้ลิเนียร์บุชชิ่งแบบมีหน้าแปลนได้เช่นกัน
linear-bushing-simple-machine

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคาตาคานะคำอ่าน
1ลิเนียร์บุชชิ่งリニアブッシュRi-nia-bus-shu

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.7 / 5. คะแนนโหวต: 3

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Jullakarn (Ham) Ittirattana
ทำงานในแผนก New Business Development ของมิซูมิ จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิคส์จาก KMITL และปริญญาโทสาขา Intelligent mechanical system จาก Fukuoka institute of technology ประเทศญี่ปุ่น มีประสบการณ์หลายปี ในการทำงานออกแบบเครื่องจักรที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีความสนใจในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า Linear bushing เพิ่มเติมได้ที่นี่
No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง