Home » Technical » Selection guide » ถังดับเพลิง ในงานอุตสาหกรรม มีกี่ชนิด

ถังดับเพลิง ในงานอุตสาหกรรม มีกี่ชนิด

ปัจจุบัน ถังดับเพลิง มีมากมายให้เลือกใช้งานในท้องตลาด แต่ก็มีผู้ใช้งานจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าถังดับเพลิงแต่ละประเภท เหมาะกับการดับไฟประเภทไหนบ้าง หากใช้งานผิดประเภทนอกจากจะดับไฟไม่ได้แล้ว ยังอาจเกิดอันตรายที่มากขึ้นอีกด้วย ในบทความนี้เราจะมาดูกันครับว่า ประเภทของไฟ และ ชนิดของถังดับเพลิง มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้

ไฟมีกี่ประเภท ?

สมาคมป้องกันอัคคีภัยของสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association : NFPA) แบ่งชนิดของไฟตามลักษณะและปฏิกิริยาของการเผาไหม้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทดังนี้

 ไฟประเภท A (Class “A”)  

 ไฟประเภท A (Class “A”)  เป็นไฟที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็งทั่วไป ตัวอย่างเช่น เสื้อผ้า พลาสติก กิ่งไม้ กระดาษ ยาง พลาสติก เป็นต้น

A- Fire-Extinguisher

 ไฟประเภท B (Class “B”)  

 ไฟประเภท B (Class “B”)  เป็นไฟที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของเหลว, ก๊าซและสารไวไฟ ตัวอย่างเช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม(LPG) แอลกอฮอล์ ทินเนอร์ เป็นต้น

B- Fire-Extinguisher

 ไฟประเภท C (Class “C”)  

 ไฟประเภท C (Class “C”)  เป็นไฟที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากกระแสไฟฟ้าอาร์คหรือสปาร์คกันทำให้เกิดประกายไฟ ตัวอย่างเช่น การใช้งานไฟฟ้าเกินกำลัง ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น

C- Fire-Extinguisher

 ไฟประเภท D (Class “D”)  

 ไฟประเภท D (Class “D”)  เป็นไฟที่เกิดจากวัตถุของแข็งจำพวกโลหะไวไฟ และสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ตัวอย่างเช่น สารแมกนีเซียม (Magnesium), สารโซเดียม (Sodium), สารไทเทเนียม (Titanium) เป็นต้น

D- Fire-Extinguisher

 ไฟประเภท K (Class “K”)  

 ไฟประเภท K (Class “K”)  เป็นไฟที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร และไขมันสัตว์ ตัวอย่างเช่น น้ำมันที่มีอุณภูมิสูงจัดในการประกอบอาหาร เป็นต้น

K- Fire-Extinguisher

ถังดับเพลิง มีกี่ประเภท ?

ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างถังดับเพลิง ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ว่ามีถังดับเพลิงอะไรบ้างที่พบเจอได้บ่อยในชีวิตประจำวันและในโรงงานอุตสาหกรรม

ถังดับเพลิงชนิดน้ำ (Water Extinguishers)

ถังดับเพลิงชนิดน้ำ (Water Extinguishers) ใช้สำหรับดับเพลิงไหม้ที่เกิดจากวัสดุของแข็งทั่วไป (Class A) ตัวอย่างเช่น ไม้ กระดาษ พลาสติก ผ้า เหมาะสำหรับการใช้ดับเพลิงภายใน/ภายนอกอาคาร ที่พักอาศัย เป็นต้น ลักษณะของถังจะมีฉลากเป็นสีแดงและมีตัวหนังสือสีขาวระบุไว้

water-extinguishers

ข้อควรระวังในการใช้งานถังดับเพลิงชนิดน้ำ

ไม่ควรใช้ถังดับเพลิงชนิดนี้ดับไฟนอกเหนือจากไฟประเภท A เพราะอาจจะเกิดอันตรายที่มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ดับไฟที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจจะทำให้เกิดไฟรั่วได้

ถังดับเพลิงชนิดโฟม (Foam Extinguishers)

ถังดับเพลิงชนิดโฟม(Foam Extinguishers) เหมาะสำหรับการดับไฟประเภท A และ B ซึ่งเกิดจากการจากเชื้อเพลิงประเภทของแข็ง และเชื้อเพลิงที่เป็นสารเคมีไวไฟ เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิง ห้องเก็บสารเคมี และ ปั๊มน้ำมัน ลักษณะของถังดับเพลิงชนิดนี้จะเป็นถังสแตนเลส ในส่วนของการใช้งานเมื่อไฟดับลงแล้ว คราบโฟมที่เกิดขึ้นอาจจะมีส่วนทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหายตามมาในภายหลังได้ จึงควรระมัดระวังในการใช้งาน ลักษณะของถังจะมีฉลากเป็นสีครีมและมีตัวหนังสือสีดำระบุไว้

foam-extinguishers

ข้อควรระวังในการใช้งานถังดับเพลิงชนิดโฟม

ถังดับเพลิงชนิดนี้ไม่ควรใช้ดับไฟที่เกิดจากการลุกไหม้ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เพราะว่าโฟมมีส่วนผสมของน้ำซึ่งเป็นสื่อในการนำไฟฟ้า จึงไม่เหมาะกับการดับไฟประเภท C

ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide Extinguishers)

ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide Extinguishers) หรือ ถัง CO2 เหมาะสำหรับการดับไฟประเภท A และ B ซึ่งเกิดจากเชื้อเพลิงประเภทของแข็ง และเชื้อเพลิงที่เป็นสารเคมีไวไฟ เมื่อเวลาที่ไฟดับลงจะไม่ทิ้งคราบสิ่งสกปรกไว้ในบริเวณรอบ ๆ ทำให้ถังดับเพลงชนิดนี้นิยมใช้สำหรับการดับเพลิงใน บริเวณไลน์การผลิต ห้องควบคุม ลักษณะของถังดับเพลิงชนิดนี้ปลายปากกระบอกฉีดจะมีพลาสติกสีดำขนาดใหญ่สวมอยู่เพื่อช่วยให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์พุ่งได้ระยะไกลมากยิ่งขึ้น ลักษณะของถังจะมีฉลากเป็นสีดำและมีตัวหนังสือสีขาวระบุไว้

carbon-dioxide-extinguishers

ข้อควรระวังในการใช้งานถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ไม่ควรใช้งานถังดับเพลิงชนิดนี้ในพื้นที่แคบ เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนภายในบริเวณนั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้งานได้

ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Extinguishers)

ผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Extinguishers) เหมาะสำหรับการดับไฟประเภท A, B และ C ซึ่งเกิดจากเชื้อเพลิงทั่วไป,สารไวไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า ถังดับเพลิงชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ในที่โล่งแจ้ง เช่น ลานจอดจอดรถ โรงงานอุตสาหกรรม และที่พักอาศัย ข้อสังเกตคือลักษณะของถังจะมีฉลากเป็นสีฟ้าและมีตัวหนังสือสีขาวระบุไว้

drypowder-extinguishers

ข้อควรระวังในการใช้งานถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง

เมื่อเปิดใช้งานถังดับเพลิงชนิดนี้แล้ว 1 ครั้งไม่ว่าจะใช้งานหมดหรือไม่หมด จะไม่สามารถใช้งานในครั้งถัดไปได้ เพราะแรงดันภายในถังดับเพลิงตก จึงต้องส่งให้บริษัทผู้จัดจำหน่ายทำการอัดแรงดันให้ใหม่

ถังดับเพลิงชนิดสารสะอาด (Halotron 1 Extinguishers)

ถังดับเพลิงชนิดสารสะอาด (Halotron 1 Extinguishers) หรือในบางครั้งอาจจะเรียกกันว่า ถังดับเพลิงฮาโลตรอนวัน สามารถใช้ดับเพลิงประเภท A, B และ C ซึ่งเกิดจากเชื้อเพลิงทั่วไป, สารไวไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้ายกเว้น Class D และ K เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องคอมพิวเตอร์ ห้องคลีนรูม ไลน์การผลิต ห้องไฟฟ้า เป็นต้น

ข้อควรระวังในการใช้งานถังดับเพลิงชนิดสารสะอาด

ก่อนการใช้งานถังดับเพลิงชนิดนี้จำเป็นต้องอพยพผู้คนออกจากพื้นที่ก่อน เพราะสารดับเพลิงชนิดนี้มีทำฎิกิริยากับไฟ จะทำให้เกิดสารพิษจำพวกไฮโดรเจนเฮไลด์ (Hydrogen Halides) ซึ่งเป็นอันตรายกับระบบทางเดินหายใจ

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความเกี่ยวกับ ประเภทของไฟ และ ถังดับเพลิงแต่ละชนิด หวังว่าเพื่อนๆจะได้รับความรู้มากมายไปใช้สำหรับการเลือกซื้อและเลือกใช้ถังดับเพลิงให้เหมาะสมกับประเภทของไฟที่ต้องการจะดับ และสถานที่ใช้งาน หากเพื่อนๆ สนใจสินค้าเซฟตี้ชนิดอื่นๆนอกเหนือจากถังดับเพลิง เช่น ป้ายความปลอดภัย สามารถเลือกซื้อเพิ่มเติมได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคำอ่าน
1ถังดับเพลิง (Fire Extinguisher)消火器しょうかきShō-ka-ki

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 2

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save