Home » Technical » Selection guide » การเลือกใช้ ตัวยึดเพลา (Shaft holder)

วิธีการเลือกใช้ตัวยึดเพลาแบบมาตรฐาน (Standard Shaft holder)

ตัวยึดเพลา มีมากมายหลายรูปแบบ แต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป แล้วเราจะเลือกแบบไหนมาใช้กันดีล่ะ ในบทความนี้เราจะมาแนะนำตัวยึดเพลาแบบมาตรฐาน (Standard Shaft holder) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรม มา 4 รุ่นตามที่แสดงไว้ด้านล่างนะครับ

ตัวอย่าง ตัวยึดเพลา ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม

ชื่อเรียก วิธีการยึดเพลา คุณสมบัติ
choose-standard-shaft-holder
รุ่นมาตรฐาน  (Standard Type)
ยึดที่ตัวเพลาโดยตรงด้วยสกรูตัวหนอนหกเหลี่ยม・มีแรงในการยึดเพลาต่ำ
・ไม่เหมาะกับการควบคุมทิศทางหมุนหรือแรงตามแนวแกนที่ตัวเพลา
ต้องเสียบเพลาเข้าจากด้านข้างเท่านั้น จึงเป็นข้อจำกัดที่สัมพันธ์กับการจัดวางร่วมกับชิ้นส่วนรอบข้างในการประกอบ/ซ่อมบำรุง
choose-standard-shaft-holder
แบบมีร่อง (Slit Type)
(SHKSM)
ยึดเพลาโดยขันโบลท์ เข้าที่รูยึดโบลท์ด้านข้าง เพื่อบีบรูของเพลาให้แคบลง・มีแรงในการยึดเพลาสูง
ต้องเสียบเพลาเข้าจากด้านข้างเท่านั้น จึงเป็นข้อจำกัดที่สัมพันธ์กับการจัดวางร่วมกับชิ้นส่วนรอบข้างในการประกอบ/ซ่อมบำรุง
choose-standard-shaft-holder
แบบมีร่องด้านข้าง (Side Slit Type)
(SHKWM)
มีร่องด้านข้างของรูเพลา ยึดเพลาโดยขันโบลท์เข้าที่ร่องทั้งสองด้านของเพลาต้องเสียบเพลาเข้าจากด้านข้างเท่านั้น จึงเป็นข้อจำกัดที่สัมพันธ์กับการจัดวางร่วมกับชิ้นส่วนรอบข้างในการประกอบ/ซ่อมบำรุง
・ต่างกับแบบมีร่องด้านบนเฉพาะทิศทางในการขันโบลท์ยึดเพลาเท่านั้น แบบมีร่องด้านข้างสามารถขันแน่นโบลท์ทั้ง 3 ตัวได้จากด้านบน
choose-standard-shaft-holder
แบบแยกส่วน (Separate Type)
(SHKPM)
มีการตัดแยกส่วนตรงรูเพลาหลังกระบวนการเจาะรู ยึดเพลาโดยขันแน่นโบลท์เข้าที่รูเพลาทั้งสองด้าน・การประกอบเพลาสามารถประกอบจากด้านบนหรือด้านข้างก็ได้จึงสะดวกในการซ่อมบำรุง
・มีจำนวนชิ้นส่วนเพิ่มมากขึ้นทำให้ขั้นตอนการทำงานซับซ้อนขึ้น

จากตารางด้านบน จะเห็นได้ว่าตัวยึดเพลาแต่ละแบบ มีรูปทรงโดยพื้นฐานใกล้เคียงกัน แต่ว่าวิธีการเสียบ/ถอดเพลามีความแตกต่างกันซึ่งจะส่งผลกับขั้นตอนการประกอบหรือการซ่อมบำรุงเป็นอย่างมากเลยครับ

ตัวอย่างการใช้งาน ตัวยึดเพลา(Shaft holder)

รูปที่ 1
ตัวอย่างการติดตั้งตัวยึดเพลา แบบร่องด้านข้าง
รูปที่ 2
ตัวอย่างการใช้งาน ร่วมกับตัวยึดไมโครมิเตอร์
choose-standard-shaft-holderchoose-standard-shaft-holder
รูปที่ 3
ตัวอย่างการใช้งานตัวยึดเพลา แบบแยกส่วน
รูปที่ 4
ตัวอย่างการใช้งานตัวยึดเพลา รูปตัว T แบบมีร่อง
choose-standard-shaft-holderchoose-standard-shaft-holder
ตัวอย่างการใช้งานตัวยึดเพลารูปแบบต่าง ๆ

 จากรูปด้านบนทั้ง 4 รูปจะเป็นตัวอย่างการใช้งานนะครับ เพื่อนๆจะเห็นได้ว่านอกเหนือจากตัวยึดเพลารูปตัว L ข้างต้นแล้ว ยังมีทั้งตัวยึดเพลารูปตัว T และตัวยึดเพลาแบบติดตั้งด้านข้างอีกด้วย ทั้งนี้การเลือกใช้งานตัวยึดเพลาแต่ละชนิดจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน

สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นหลักเลยนะครับ ก็คือความสะดวกในการติดตั้งและซ่อมบำรุง โดยเราจำเป็นดูพื้นที่การติดตั้งให้ดี ไม่ใช่เพียงแค่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับตัวยึดเท่านั้น ต้องคิดเผื่อสำหรับขั้นตอนการนำเพลาเข้ามาสวม รวมไปถึงทิศทางและพื้นที่ของเครื่องมือที่ใช้ติดตั้งก็ต้องเพียงพออีกด้วย

ดังนั้นในตอนที่ออกแบบ นอกจากจะกำหนดพื้นที่ติดตั้งแล้ว ต้องวางแผนถึงลำดับและวิธีการประกอบด้วย ซึ่งมักจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับนักออกแบบมือใหม่ ที่ยังไม่คุ้นเคยกับกระบวนการประกอบเครื่องจักรนะครับ

อยากจะฝากเพื่อนๆ นักออกแบบมือใหม่ไว้นะครับว่า นอกจากจะวางตำแหน่งให้ลงตัวเคลื่อนที่ได้อย่างลื่นไหลแล้ว ควรจะลองไปดูการประกอบเองด้วย ถ้าได้ลองทำเองด้วยยิ่งดีครับ เพราะบางทีเราอาจจะคิดว่าเว้นพื้นที่ไว้หมดแล้วนี่ แต่ก็อาจจะลืมนึกถึงปัญหายิบย่อย เช่น การจัดระเบียบร่างกายหรือการเคลื่อนไหวของผู้ประกอบ, รอยเชื่อม, การเชื่อมต่อสายไฟ เป็นต้น

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคาตาคานะคำอ่าน
1 ตัวยึดเพลาシャフトホルダーSha-fu-to-ho-ru-dā

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 3

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Jullakarn (Ham) Ittirattana
ทำงานในแผนก New Business Development ของมิซูมิ จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิคส์จาก KMITL และปริญญาโทสาขา Intelligent mechanical system จาก Fukuoka institute of technology ประเทศญี่ปุ่น มีประสบการณ์หลายปี ในการทำงานออกแบบเครื่องจักรที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีความสนใจในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า Shaft เพิ่มเติมได้ที่นี่
Learning guide
shaft-selection

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง