รู้จักประเภทคอยล์รีเลย์และการนำไปใช้งาน
สารบัญ
รีเลย์ (Relay) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เปิด-ปิดวงจร โดยใช้แรงดันไฟฟ้าเพื่อควบคุมวงจร ในการทำงานกับอุปกรณ์ต่างๆ การเลือกประเภทคอยล์รีเลย์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบทความนี้จะพูดถึงการเลือกคอยล์รีเลย์ตาม ประเภทการกระตุ้น (Energization Type) และ ประเภทการควบคุม (Control Type) พร้อมทั้งจุดที่ควรคำนึงถึงเมื่อเลือกใช้รีเลย์คอยล์ประเภทต่างๆ
1. ประเภทการกระตุ้นคอยล์ (Energization Type): DC Relay Coil vs AC Relay Coil
การแบ่งประเภทไฟฟ้าที่ใช้ในการกระตุ้นคอยล์ (Coil) สามารถแบ่งได้เป็น DC Coil และ AC Coil ดังนี้:
2. ประเภทการควบคุม (Control Type): Non-latching vs Latching Relay
ประเภทการควบคุมของรีเลย์สามารถแบ่งออกเป็น Non-latching Relay และ Latching Relay ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการควบคุมสถานะของรีเลย์:
- Non-latching Relay: เมื่อได้รับพลังงาน รีเลย์จะเปลี่ยนสถานะ (เปิดหรือปิด) แต่เมื่อพลังงานถูกตัดออก รีเลย์จะกลับสู่สถานะเริ่มต้น เหมาะสำหรับการควบคุมที่ต้องการให้รีเลย์คืนสู่สถานะเริ่มต้นหลังจากไม่มีสัญญาณควบคุม
- Latching Relay: สามารถคงสถานะได้แม้จะตัดพลังงานออก โดยจะอยู่ในสถานะที่ถูกตั้งไว้จนกว่าจะได้รับพลังงานใหม่เพื่อเปลี่ยนสถานะ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการประหยัดพลังงานและควบคุมสถานะในระยะยาว เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย เช่น รุ่นMMK
3. ความแตกต่างระหว่าง 1-Coil Latching Relay vs 2-Coil Latching Relay และ 3 ขา vs 4 ขา
รีเลย์แบบ Latching Relay สามารถแบ่งย่อยเพิ่มเติมตามจำนวนคอยล์และขั้วต่อ (Terminal) ได้ดังนี้:
1-Coil Latching Relay vs 2-Coil Latching Relay
- 1-Coil Latching Relay: ใช้คอยล์เดียวในการควบคุมสถานะ รีเลย์จะเปลี่ยนสถานะทุกครั้งที่คอยล์ได้รับพลังงาน ข้อดีของการใช้คอยล์เดียวคือความเรียบง่ายและลดจำนวนส่วนประกอบลง
- 2-Coil Latching Relay: มีคอยล์สองตัว คอยล์หนึ่งทำหน้าที่เปิดรีเลย์ ส่วนอีกคอยล์หนึ่งทำหน้าที่ปิดรีเลย์ แยกการควบคุมสถานะออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้การใช้งานแม่นยำมากขึ้น เหมาะสำหรับระบบที่ต้องการควบคุมการเปิด-ปิดด้วยสัญญาณที่ชัดเจน
สรุป
รีเลย์คอยล์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักตามแหล่งจ่ายไฟ: DC Coil สำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และ AC Coil ที่เหมาะกับงานไฟฟ้าพลังงานสูงอย่างในบ้านหรือโรงงาน นอกจากนี้ยังแบ่งตามการควบคุมเป็น Non-latching Relay ซึ่งจะกลับสู่สถานะเดิมเมื่อปิดไฟ และ Latching Relay ที่คงสถานะเดิมได้แม้ไฟดับ ทำให้ประหยัดพลังงานและเหมาะกับงานที่ต้องการการควบคุมระยะยาว 1-Coil Latching Relay มักมี 3 ขา ใช้คอยล์เดียวในการสลับสถานะ ในขณะที่ 2-Coil Latching Relay มักมี 4 ขา โดยแยกคอยล์เพื่อควบคุมสถานะตั้งค่าและรีเซ็ต เมื่อเลือกรีเลย์ ควรดูเรื่องแรงดัน กระแส ประเภทไฟ (AC/DC) และสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อให้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมและยืดอายุการใช้งานของรีเลย์ ในสัปดาห์หน้าเราจะมีบทความอะไรมานำเสนอ เชิญมาติดตามไปพร้อมๆกันนะครับ รู้ครบจบที่นี่ MiSUMi Technical