“พินเกจ” กับ “ปลั๊กเกจ” เลือกใช้เกจอันไหนดี?
สารบัญ
จากบทความที่แล้วเพื่อน ๆ ได้ทราบถึงความหมายของเกจวัด และวิธีการใช้งานเกจบล็อกกันไปแล้วใช่ไหมครับ ในบทความนี้เราจะมาดู วิธีการใช้งานของ พินเกจ และ ปลั๊กเกจ กันครับ ว่าเกจแต่ละชนิดมีวิธีการใช้งานอย่างไร และเกจแต่ละชนิดมีข้อแตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงข้อควรระวังในการใช้งานเบื้องต้นกันครับ
พินเกจ (Pin gauge)
พินเกจ (pin gauge) เป็นเครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางรูเจาะ ว่าอยู่ในมาตรฐานของการผลิตหรือไม่ โดยมีค่าความละเอียดทั้งแบบทศนิยม 2 ตำแหน่ง เช่น 2.00 และทศนิยม 3 ตำแหน่งเช่น 9.750 เป็นต้น นอกจากนี้ พินเกจยังมีวัสดุหลากชนิดให้เลือกใช้ตามการใช้งาน เช่น เหล็ก เซรามิก และ คาไบด์
ตัวอย่างการใช้งาน และข้อควรระวังของพินเกจ
วิธีการใช้งานพินเกจ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสพินเกจด้วยมือเปล่า เพราะอาจจะทำให้พินเกจเกิดสนิมได้ อาจจะสวมถุงมือหรือใช้ด้ามสำหรับจับพินเกจแทน
- ในขณะใช้งานพินเกจ ไม่ควรฝืนกดพินเกจในกรณีที่ไม่สามารถสวมได้ เพราะจะทำให้พินเกจเกิดความเสียหาย
ปลั๊กเกจ (Plug gauge)
ปลั๊กเกจ (Plug gauge) เป็นเกจที่มีรูปร่างคล้ายดัมเบล ดังรูป ซึ่งประกอบไปด้วยด้านที่สามารถใช้งานได้ 2 ฝั่งนั้นก็คือ ฝั่ง GO และ ฝั่ง NOGO โดยปลั๊กเกจนิยมนำไปใช้กับการตรวจสอบงานในการผลิตประเภท mass production ซึ่งมีความสะดวกและรวดเร็วในการตรวจสอบชิ้นงาน
ส่วนประกอบที่สำคัญของปลั๊กเกจ (Plug gauge)
ฝั่ง GO
จุดสังเกต คือ แท่งเหล็กมีความหนามากกว่าฝั่ง NOGO เพราะเมื่อสวมแท่งเหล็กเข้าไปที่รูเจาะ จะสามารถตรวจสอบได้ว่า รูของชิ้นงานนั้นมีขนาดสม่ำเสมอตลอดทั้งรูหรือไม่
ด้ามจับ
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนดังนี้
ขนาดเกจ : ใช้บอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของตัวปลั๊ก
ค่าพิกัดความเผื่อ : เป็นส่วนที่ใช้บอกค่าความคลาดเคลื่อนของรู
ฝั่ง NOGO
จุดสังเกต คือ แท่งเหล็กทางฝั่งนี้บางกว่าทางฝั่ง GO เพราะว่า เมื่อสวมแท่งเหล็กเข้าไป จะพบว่าไม่สามารถสวมได้จึงไม่จำเป็นต้องผลิตให้มีความหนาเท่ากับฝั่ง GO
จะแยกฝั่งปลั๊กเกจ ได้อย่างไร? ฝั่งไหน GO ฝั่งไหน NOGO
สำหรับผู้ใช้งานมือใหม่คงจะประสบปัญหาใช่ไหมครับ ปลั๊กเกจฝั่งไหน คือ GO ฝั่งไหนคือ NOGO เพื่อน ๆ สามารถสังเกตได้ตามวิธีนี้ด้านล่างนี้ได้เลยครับ
รายละเอียด | ฝั่ง GO | ฝั่ง NOGO |
---|---|---|
ความหนาของเกจ | หนา | บาง |
เส้นผ่านศูนย์กลางเกจ | เล็กกว่าเล็กน้อย | ใหญ่กว่าเล็กน้อย |
รอยบากหรือสีที่แตกต่าง | ไม่มี | มี |
ตัวอย่างการใช้งาน ปลั๊กเกจ (Plug gauge)
รูที่มีค่า OK ผลลัพท์ที่ได้คือ ปลั๊กเกจฝั่ง GO สามารถสวมเข้าไปที่รูของชิ้นงานได้ แต่ ปลั๊กเกจฝั่ง NOGO ไม่สามารถสวมเข้าไปที่ชิ้นงานได้
ฝั่ง GO | ฝั่ง NOGO | ชิ้นงาน | รายละเอียด |
---|---|---|---|
(OK) ยอมรับได้ | ขนาดของรูเจาะอยู่ในช่วงของค่าความคลาดเคลื่อนที่กำหนด | ||
(NG) -> Rework แต่สามารถแก้ไขได้ | ขนาดของรูเจาะมีขนาดเล็กเกินไป สามารถปรับขนาดของรูเจาะ เพื่อให้เป็นค่าที่ยอมรับได้ | ||
(NG) ->Rejected ไม่สามารถแก้ไขได้ | ขนาดของรูเจาะมีขนาดใหญ่เกินไป ไม่สามารถแก้ไขได้ |
เคยสงสัยกันไหม ? ขีดสีดำบนพินเกจและปลั๊กเกจ มีไว้ทำอะไร (บางรุ่น)
ขีดสีดำที่ปรากฎอยู่บนพินเกจและปลั๊กเกจ มีไว้สำหรับบ่งบอกถึงอายุการใช้งาน ของอุปกรณ์ทั้งสองชนิด ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้พินเกจไปเป็นเวลานาน ผิวของพินเกจย่อมมีการเสียดสีกับวัตถุที่ทำการตรวจสอบ มีโอกาสทำให้ขีดสีดำนั้นเลือนรางออกไปได้ ซึ่งถ้าหากขีดสีดำนั้นจางหายไปนั้นหมายถึง พินเกจชิ้นนี้ถึงเวลาที่จะต้องนำไปสอบเทียบ (Calibrate) เพราะขนาดของพินเกจเกิดการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว จากการเสียดสีกันของชิ้นงานกับพินเกจในขณะที่ทำการวัด
พินเกจและปลั๊กเกจ ต่างกันอย่างไร
เพื่อน ๆ คงจะมีคำถามใช่ไหมครับว่า พินเกจและปลั๊กเกจต่างกันอย่างไร ในเมื่อสามารถใช้อุปกรณ์ทั้งสองชนิดตรวจสอบขนาดของรูเจาะได้ทั้งคู่ จุดแตกต่างของอุปกณ์ทั้งสองชิ้นนี้คือ พินเกจสามารถกำหนดช่วงที่ต้องการตรวจสอบขนาดของรูชิ้นงานได้มากกว่าปลั๊กเกจ เรามาดูกันครับว่าทำได้อย่างไร
พินเกจ (pin gauge) มีช่วงการใช้งานที่กว้างกว่าปลั๊กเกจ ด้ามจับพินเกจถูกออกแบบให้สามารถจับพินเกจที่มีขนาดแตกต่างกันได้มาก เช่น 4.000 และ 5.000 ได้ ซึ่งมีช่วงการตรวจสอบขนาดที่มากกว่าปลั๊กเกจ
ปลั๊กเกจ (plug gauge) ถูกผลิตมาให้เป็นชุดสำเร็จรูป ที่ไม่สามารถเปลี่ยนขนาดได้ โดยจะอ้างอิงจากขนาด ค่าพิกัดความเผื่อ ที่ระบุอยู่บนด้านจับ
จบไปแล้วนะครับสำหรับสาระความรู้เกี่ยวกับพินเกจและปลั๊กเกจ หวังว่าเพื่อนๆ จะเข้าใจวิธีการใช้งานเกจแต่ละชนิดมากยิ่งขึ้น สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนในมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
คำศัพท์ | คันจิ | ฮิราคานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
พินเกจ (Pin gauge) | – | – | ピンゲージ | Pin-gē-ji |
ปลั๊กเกจ (Plug gauge) | – | – | プラグゲージ | Pu-ra-gu-gē-ji |