Home » Technical » Mechanical » ระบบงานสวม และพิกัดความเผื่อ คืออะไร ?

ไขข้อสงสัย ระบบงานสวม และพิกัดความเผื่อ สำคัญอย่างไร

เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันไหมครับว่า ระบบงานสวม แบบ ระบบรูเพลาคงที่ และแบบ ระบบเพลาคงที่ ต่างกันอย่างไร แล้ว พิกัดความเผื่อ ตัวอักษร H, h, G, g ที่พบเจอได้บ่อย ๆ ใน drawing หรือในแค็ตตาล็อกสินค้านั้นหมายถึงอะไร เรามาหาคำตอบกันในบทความนี้กันครับ  

ระบบงานสวม คืออะไร ?

ระบบงานสวม คือ การประกอบชิ้นส่วนของเครื่องจักรเข้าด้วยกัน โดยจะพิจารณาให้ส่วนที่ทำการแก้ไขได้ยาก หรือมีค่าใช้จ่ายสูงในการปรับแก้เป็นส่วนที่คงที่ จากนั้นจึงค่อยทำการปรับขนาดอีกชิ้นส่วนหนึ่ง เพื่อให้สามารถนำมาประกอบเข้ากันได้ ซึ่งระบบงานสวมนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1.ระบบรูเพลาคงที่ (hole basis system)

เป็นระบบที่เหมาะสำหรับงานออกแบบที่มีข้อจำกัดในการปรับเปลี่ยนขนาดของรูเพลา (ขนาดของรูเจาะคงที่)

hole-and-shaft-basis
จากภาพจะเห็นได้ว่าขนาดของรูเพลาคงที่ ส่วนขนาดของเพลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้

2.ระบบเพลาคงที่ (shaft basis system)

เป็นระบบที่เหมาะสำหรับงานออกแบบ ที่มีข้อจำกัดในการปรับเปลี่ยนขนาดของเพลา (ขนาดของเพลาคงที่)

hole-and-shaft-basis
จากภาพจะเห็นได้ว่าขนาดของเพลาคงที่ ส่วนขนาดของรูเพลา สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ข้อดี

ข้อเสีย

เพลามีขนาดคงที่ เหมาะกับงานที่ต้องการให้เพลาที่มีขนาดสม่ำเสมอ

การปรับขนาดของรูเพลาให้เข้ากับเพลามีความยุ่งยาก
หากมีชิ้นงานที่ต้องประกอบกับเพลาเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังต้องใช้เครื่องมือหลายชิ้นในการปรับขนาดของรูเพลา

เหมาะกับเพลาที่มีความยาวมาก เนื่องจากไม่ต้องปรับลดขนาดของเพลาตลอดความยาว

 

ข้อแตกต่างระหว่าง รูเพลาคงที่และเพลาคงที่

ระบบรูเพลาคงที่ (hole basis system)

ระบบเพลาคงที่ (shaft basis system)

กำหนดขนาดของรูเพลาให้เป็นค่าคงที่ และปรับเปลี่ยนขนาดของเพลาได้ตามต้องการโดยขึ้นอยู่กับประเภทของงานสวม

กำหนดขนาดของเพลาให้เป็นค่าคงที่ และปรับเปลี่ยนขนาดของรูเพลาได้ตามต้องการโดยขึ้นอยู่กับประเภทของงานสวม

เหมาะสำหรับการผลิตแบบ mass production เพราะมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า สามารถปรับเปลี่ยนขนาดของรูเจาะได้ตามต้องการ โดยใช้ดอกสว่านและดอกรีมเมอร์

ไม่เหมาะสำหรับการผลิตแบบ mass production เพราะมีต้นทุนการผลิตสูง ในการทำให้เพลาได้ขนาดตามต้องการตลอดความยาว

ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนขนาดของเพลาตามความพอดีในการประกอบ

การปรับเปลี่ยนขนาดรูเพลาให้เข้ากับเพลามีความยุ่งยาก หากมีชิ้นงานที่ต้องประกอบกับเพลาเป็นจำนวนมาก

การวัดเพลาสามารถทำได้ง่ายและสะดวก

การวัดขนาดรูภายในทำได้ยาก จำเป็นต้องใช้เครื่องมือวัดหลายชนิด

พิกัดความเผื่อ (Tolerance) คืออะไร ?

พิกัดความเผื่อ (Tolerance) คือ ตัวอักษรและตัวเลขที่กำหนดขึ้น สำหรับบอกค่าความเผื่อ เพื่อนำไปใช้งานในการประกอบชิ้นงาน เช่น สวมเผื่อ(clearance fit), สวมพอดีหรือสวมคลอน(transition fit) และ สวมอัด(interference fit) เพื่อน ๆ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบของงานสวมได้ที่นี่ โดยตัวอักษรภาษาอังกฤษ และตัวเลขมีความหมายดังนี้

hole-and-shaft-basis
ตัวอย่างการกำหนดพิกัดความเผื่อของเพลา

ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์เล็กตามด้วยตัวเลข

hole-and-shaft-basis
ตัวอย่างการกำหนดพิกัดความเผื่อของรูเพลา

ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่ตามด้วยตัวเลข

ตัวอย่างการบอกพิกัดความเผื่อในงานต่าง ๆ

การบอกพิกัดความเผื่อบนเพลา

ตัวอย่างการบอกพิกัดความเผื่อของเพลา บนแคตตาล็อก MiSUMi จากภาพจะสังเกตเห็นได้ว่า ระบบพิกัดเผื่อของเพลาถูกแปลงออกมาเป็นค่าตัวเลข tolerance เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถนำตัวเลขชุดนี้ไปหาขนาดของเพลาได้เลยทันที ตัวอย่างเช่น เพลาเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 mm. จะมีค่าพิกัดความเผื่อ ให้เลือกด้วยกัน 3 ระดับนั้นก็คือ g6, h5 และ f8 โดยในตัวอย่างนี้จะนำค่า g6 มาใช้งานซึ่งมีค่า tolerance อยู่ระหว่าง -0.005 ถึง -0.014 ดังนั้นเพลาชิ้นนี้ จึงมีขนาดอยู่ระหว่าง 7.995 ถึง 7.986 นั้นเอง

hole-and-shaft-basis
ตัวอย่างการบอกพิกัดความเผื่อของเพลาบนแคตตาล็อก MISUMI

การบอกพิกัดความเผื่อบนรูเพลา

ตัวอย่างการบอกพิกัดความเผื่อของรูเพลาบนแคตตาล็อก MiSUMi ในตัวอย่างนี้จะยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่นิยมงานร่วมกับเพลา นั้นก็คือ ตัวยึดเพลา (shaft holder) มาให้เพื่อน ๆ ได้ดูกันครับ จาก ภาพจะเห็นได้ว่า รูเพลาบนแคตตาล็อก ระบุเป็น H7 แล้วเราจะหาค่า tolerance เป็นตัวเลขได้อย่างไร เรามาดูกันครับ

hole-and-shaft-basis
ตัวอย่างการบอกพิกัดความเผื่อของรูเพลาบนแคตตาล็อก MiSUMi

การหาค่าพิกัดความเผื่อของรูเพลา

ในบางครั้งแคตตาล็อก หรือ drawing ไม่ได้ระบุค่า tolerance ของรูเพลาหรือเพลาไว้อย่างชัดเจน แต่ใช้ตัวอักษรและตัวเลขบอกแทน เราสามารถหาค่า tolerance ได้ตามขึ้นตอนดังนี้

ตัวอย่างการหาค่าพิกัดความเผื่อ สำหรับรูเพลา 8 H7

ในบางครั้งเพื่อน ๆ อาจจะเจอกับตารางค่าพิกัดความเผื่อที่ใช้สำหรับรูคว้าน แต่ไม่ต้องตกใจครับ รูคว้านและรูเพลามีความหมายเหมือนกัน

ขั้นตอนที่ 1 เปิดตารางแสดงค่าพิกัดความเผื่อสำหรับงานสวมทั่วไปแบบรูเพลา(รูคว้าน)คงที่ คลิกเพื่อเปิดตาราง

!! ข้อควรระวัง ตารางที่นำมาใช้งานนี้มีหน่วยเป็น μm ฉะนั้น ต้องไม่ลืมที่จะทำการแปลงหน่วยเป็น mm. ในการคำนวณ (1 μm = 0.001 mm.)

hole-and-shaft-basis-01
ตัวอย่างการใช้งานค่าพิกัดความเผื่อของรูคว้านสำหรับงานสวมทั่วไปแบบรูคว้านคงที่

ขั้นตอนที่ 2 สังเกตที่ช่อง Reference dimension สังเกตเห็นว่าเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 8 mm. มีค่าอยู่ระหว่าง 6-10 mm.

ขั้นตอนที่ 3 สังเกตที่ช่อง Class of tolerance range for Holes ช่อง H7

ขั้นตอนที่ 4 จะเห็นได้ว่ามีกรอบสีเหลืองที่เกิดจากการตัดกันของขั้นตอนที่ 2 และ ขั้นตอนที่ 3 ให้นำค่าทั้งสองมาใช้ในการคำนวณ

ขนาดพิกัดงานสวมขนาดและค่าความคลาดเคลื่อน ขนาดรูเพลาใหญ่สุด (mm.)ขนาดรูเพลาเล็กสุด (mm.)
hole-shaft-basishole-shaft-basis8+0.015 = 8.015 8+0 =8.000

จะได้ว่า ตัวยึดเพลาชิ้นนี้มีขนาดของรูเพลาอยู่ในช่วง 8.015 ถึง 8.000 mm.

จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความ ระบบงานสวมและพิกัดความเผื่อพร้อมตัวอย่างการคำนวณ ทางผู้เขียนหวังว่า เพื่อนๆ จะได้รับความรู้ถูกต้องครบถ้วนและสามารถ นำไปประยุกต์ใช้กับงานออกแบบของเพื่อน ๆ ได้ ในบทความถัดไปเรามาดูกันครับว่า การเลือกพิกัดความเผื่อให้เหมาะสมกับงานที่จะนำไปประกอบ ต้องพิจาณาอะไรเป็นส่วนสำคัญบ้าง และมีขั้นตอนการเลือกใช้และการคำนวณอย่างไร พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า สุดท้ายนี้ เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องของระบบงานสวมมาฝากกันครับ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

คำศัพท์คันจิฮิรางานะคาตาคานะคำอ่าน
เพลาシャフトsha-fu-to
รูあなa-na

ตารางพิกัดความเผื่อ

sub cover banner

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 17

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า Shaft เพิ่มเติมได้ที่นี่
Learning guide
shaft-selection

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง