Home » Technical » Tools » เลือก “เกจวัดเกลียว” อันไหนให้เหมาะสมกับการใช้งาน ?

3 เกจวัดเกลียว ยอดนิยมที่ใช้ในอุตสาหกรรม

ระบบเกลียวเป็นระบบที่นิยมใช้กันมากในการประกอบชิ้นงานเข้าด้วยกัน แล้วเราจะใช้เครื่องมืออะไร ในการตรวจสอบขนาดของเกลียวที่เกิดจากการผลิต ว่าได้ขนาดที่เหมาะสมหรือไม่ แล้วการตรวจสอบขนาดเกลียวด้วย เกจวัดเกลียว แต่ละชนิด เช่น ปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว, ริงเกจวัดเกลียว, เกจวัดเกลียวนอก และ หวีวัดเกลียว ใช้งานต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้

thread-plug-gauge
ปลั๊กเกจ สำหรับวัดเกลียว
(Thread plug gauge)
thread-ring-gauge
ริงเกจวัดเกลียว
(Thread ring gauge)
screw-pitch-gauge
หวีวัดเกลียว
(Pitch gauge)

ปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว (Thread plug gauge)

ปลั๊กเกจ สำหรับวัดเกลียว (Thread plug gauge) เป็นอีกเครื่องมือที่นิยมใช้ในการตรวจสอบขนาดของเกลียวภายใน โดยมีรูปร่างใกล้เคียงกับปลั๊กเกจแบบเรียบ (limit plug gauge) เพียงแต่รูปลักษณ์ภายนอกตรงบริเวณส่วนหัว จะเป็นร่องเกลียวตามขนาดของเกลียวที่เลือกใช้

Thread-plug-gauge
ตัวอย่าง ปลั๊กเกจ สำหรับวัดเกลียว (Thread plug gauge)

ส่วนประกอบของ ปลั๊กเกจ สำหรับวัดเกลียว (Thread plug gauge)

Thread-plug-gauge
ส่วนประกอบของ ปลั๊กเกจ สำหรับวัดเกลียว (Thread plug gauge)

ฝั่ง GO หรือ ฝั่ง GP
(GO Plug)

จุดสังเกต คือ แท่งเกลียวทางฝั่ง GO จะมีความยาวมากกว่า ฝั่ง NOGO เพราะ เมื่อหมุนเกลียวเข้าไปที่รู จะสามารถตรวจสอบได้ว่า เกลียวของชิ้นงานนั้นมีขนาดสม่ำเสมอกันตลอดหรือไม่

ด้ามจับ

เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลจำเพาะของเกลียวไว้ที่บริเวณนี้
จากตัวอย่างในรูป

M6 P1.0-6H

M คือ ชนิดของเกลียวในระบบเมตริก (metric)
6 คือ ขนาดของเกลียว ในระบบนั้นๆ
P1.0 คือ ระยะพิทช์ (pitch)
6H คือ มาตรฐานความละเอียดของเกลียว

ฝั่ง NOGO หรือ ฝั่ง NP
(NOGO Plug)

จุดสังเกต คือ แท่งเกลียวทางฝั่ง NOGO จะสั้นกว่า ฝั่ง GO นอกจากนี้เมื่อหมุนปลั๊กเกจด้านนี้เข้ากับเกลียว จะไม่สามารถหมุนได้เกิน 2 รอบของเกลียว

เกจวัดเกลียวนอก (ริงเกจวัดเกลียว) (Thread ring gauge)

เกจวัดเกลียวนอก (Thread ring gauge) หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ริงเกจวัดเกลียว เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่นิยมใช้ในการตรวจสอบขนาดของเกลียวภายนอก มีลักษณะเป็นวงแหวน โดยรูด้านในของวงแหวนมีลักษณะเป็นเกลียว โดยมีด้วยกัน 2 รูปแบบคือ แบบ ริงเกจวัดเกลียวแบบ GO และ ริงเกจวัดเกลียวแบบ NOGO
ข้อสังเกต ริงเกจวัดเกลียวรูปแบบ NOGO ความบางกว่ารูปแบบ GO นอกจากนี้ ริงเกจวัดเกลียวรูปแบบ NOGO จะมีรอยบากสีแดง หรืออาจจะเป็นรอยบากที่ทำเป็นสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถแยกออกได้ชัดเจน  

thread-ring-gauge
ตัวอย่างชุด ริงเกจวัดเกลียว
thread-ring-gauge
ริงเกจวัดเกลียวรูปแบบ GO
thread-ring-gauge
ริงเกจวัดเกลียวรูปแบบ NOGO

ตัวอย่างการใช้งาน ปลั๊กเกจ สำหรับวัดเกลียว และ เกจวัดเกลียวนอก

เกจวัดเกลียวนอก มีวิธีการใช้งานที่เหมือนกับปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว นั้นก็คือ เมื่อหมุนเกจวัดเกลียวนอก ฝั่ง GO เข้าไปจะสามารถหมุนได้ตลอดความยาวของเกลียว แต่ เกจวัดเกลียวนอกฝั่ง NOGO จะสามารถหมุนได้ไม่เกิน 2 รอบของเกลียว

วิธีใช้ ปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว

ตรวจสอบเกลียวในของชิ้นงานฝั่ง GO ฝั่ง NOGO
Thread-plug-gauge
หมุนได้ตลอด
ความยาว
(OK)
หมุนได้
ไม่เกิน 2 รอบ
(OK)

วิธีใช้ ริงเกจสำหรับวัดเกลียว

ตรวจสอบเกลียวนอกของชิ้นงาน ฝั่ง GO ฝั่ง NOGO
Thread-ring-gauge
หมุนได้ตลอด
ความยาว
(OK)
หมุนได้
ไม่เกิน 2 รอบ
(OK)

หวีวัดเกลียว (Pitch gauge)

หวีวัดเกลียว (pitch gauge) มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบาง ถูกทำเป็นร่องตามขนาดระยะพิทซ์ของเกลียว ใช้สำหรับตรวสอบระยะพิทซ์ของเกลียว เท่านั้น

screw-pitch-gauge
หวีวัดเกลียว (pitch gauge)

วิธีการใช้งาน หวีวัดเกลียว (pitch gauge)

screw-pich-gauge
ตัวอย่างการใช้งานหวีวัดเกลียว
  1. ทำความสะอาดเกลียวของชิ้นงานก่อนทำการตรวจสอบ
  2. เลือกหวีวัดเกลียวที่มีระยะพิทซ์ใกล้เคียงกับเกลียวเพื่อมาตรวจสอบ
  3. นำหวีวัดเกลียวที่เลือกมานั้นวางทาบกับเกลียวที่ต้องการตรวจสอบ
  4. หากร่องเกลียวสามารถวางได้แนบสนิทกับร่องของหวีวัดเกลียว แสดงว่า เป็นระยะพิทซ์ที่ถูกต้อง หากไม่ได้ให้ทำการเลือกใหม่
  5. ค่าของระยะพิทซ์ที่ได้นั้น สามารถอ่านได้จากตัวเลยที่ระบุอยู่ด้านบนของหวีวัดเกลียว เช่น 1.25 เป็นต้น

ข้อแตกต่างของ เกจวัดเกลียว แต่ละชนิด

เรามาสรุปข้อแตกต่างของอุปกรณ์วัดเกลียวทั้ง 3 ชนิดกันครับ ว่าแต่ละชนิดเหมาะสมกับงานอะไรบ้าง

การตรวจสอบและเครื่องมือ ปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว ริงเกจสำหรับวัดเกลียวหวีวัดเกลียว
เกลียวThread-plug-gaugeThread-ring-gauge pitch-gauge
ขนาดเกลียววัดได้ เช่น M6 วัดได้ เช่น M10 ไม่สามารถวัดได้
ระยะพิทซ์วัดได้ เช่น 1.0 วัดได้ เช่น 1.5 วัดได้ เช่น 0.8

จบไปแล้วนะครับสำหรับสาระความรู้เกี่ยวกับ 3 เกจยอดนิยมที่ใช้ในการตรวจสอบขนาดของเกลียว ซึ่งประกอบไปด้วย ปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว, ริงเกจวัดเกลียว และหวีวัดเกลียว หวังว่าเพื่อน ๆ จะสามารถเลือกใช้เกจวัดเกลียวได้ตามงานออกแบบที่เหมาะสม หากเพื่อนๆ สนใจดูสินค้าเกี่ยวกับเกจวัดเกลียว สามารถคลิกได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

คำศัพท์ฮิราคานะ/ คาตาคานะคาตาคานะคำอ่าน
ปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว (Thread plug gauge) ねじプラグゲージNe-ji-pu-ra-0gugēji
ริงเกจวัดเกลียว (Thread ring gauge) ねじリングゲージNe-ji-rin-gu-gē-ji
หวีวัดเกลียว (Screw pitch gauge) ピッチゲージPit-chi-gē-ji

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 6

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

Learning guide
pneumatics-subject

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save