Home » Technical » Tools » ความหยาบผิว (Roughness) คืออะไร

ความหยาบผิว (Roughness) คืออะไร สามารถวัดได้อย่างไร

เพื่อน ๆ เคยสงสัยไหมครับว่า ความหยาบผิว (Roughness) หรือ ความเรียบผิว คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร แล้วมีวิธีการวัดค่าอย่างไร ใช้มือลูบเพื่อตรวจสอบค่าได้ไหม ? หรือใช้สายตาในการคาดคะเนได้หรือเปล่า ? แล้วถ้าไม่ใช้สองวิธีข้างต้น จะมีเครื่องมือวัดที่สามารถวัดความหยาบผิวได้ไหมนะ เรามาหาคำตอบกันในบทความนี้กันครับ

ความหยาบผิว (Roughness) คือ ?

Roughness คือ ความหยาบของผิวชิ้นงาน หรือบางคนก็อาจจะเรียกกันว่า ความเรียบผิว ก็ได้เช่นกัน ที่เกิดจากการแปรรูปงานรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเกิดจากรูปร่างของเครื่องมือที่ใช้ขึ้นรูปชิ้นงาน และกระบวนการขึ้นรูป ความหยาบของผิวมีความสำคัญต่อการใช้งาน ตัวอย่าง เช่น ความแม่นยำ ความสามารถในการป้องกันการรั่วซึม (Seal property) ความสวยงาม ความรู้สึก โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความหยาบผิวเรียกว่า Roughness tester

ตัวอย่าง เครื่องมือวัด ความหยาบผิว (Roughness tester)

เครื่องมือวัดความหยาบผิว มีด้วยกันหลายรูปแบบ ซึ่งค่าความหยาบผิวที่ได้ออกมาก็จะมีความละเอียดแม่นยำที่แตกต่างกันออกไป ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างเครื่องมือวัดความหยาบผิวที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมกันครับ

รูปภาพวิธีการใช้งาน ข้อดีและข้อเสีย
what-is-roughness
แผ่นตัวอย่างวัดความหยาบผิว
นำแแผ่นตัวอย่างวัดความหยาบผิวมาทำการวัดเปรียบเดียวกับชิ้นงานจริงโดยใช้สายตาคาดคะน
ข้อดี
-ใช้งานง่าย, พกพาสะดวก
ข้อเสีย
– ค่าที่ได้เป็นการประมาณ
– มีข้อผิดพลาดสูง
– รูปแบบการวัดมีข้อจำกัด เช่น วัดได้แค่ Ra และ Rz

รูปภาพวิธีการใช้งาน ข้อดีและข้อเสีย
what-is-roughness
Portable Surface Roughness tester
ใช้หัวโพรบลากไปบนชิ้นผิวของงานเพื่อทำการวัด สามารถแสดงผลการทดสอบได้หลังจากการวัด ผ่านทางกระดาษปริ้นและหน้าจอของเครื่องอ่านค่า
ข้อดี
-ใช้งานง่าย, พกพาสะดวก
-รูปแบบการวัดมีให้เลือกใช้มากขึ้น เช่น Ra, Ry ,Rz เป็นต้น
-ระยะในการวัดชิ้นงานค่อนข้างจำกัด
-ราคาไม่สูง
ข้อเสีย
– ไม่สามารถจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบดิจิทัล ตัวอย่างเช่น กราฟในรูปแบบ Excel เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมในครั้งต่อไปได้

รูปภาพวิธีการใช้งาน ข้อดีและข้อเสีย
what-is-roughness
Surface Roughness tester station
ใช้หัวโพรบลากไปบนชิ้นผิวงานเพื่อทำการวัด สามารถแสดงผลการทดสอบได้หลังจากการวัด ผ่านทางกระดาษปริ้นและหน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อดี
– รูปแบบการวัดมีให้เลือกใช้มากขึ้น เช่น Ra, Ry ,Rz ,Rrms, Rmax และอื่น ๆ
– สามารถวัดชิ้นงานที่มีความยาวมากได้ เช่น ท่อ เป็นต้น
– ข้อมูลที่ได้สามารถวิเคราะห์ค่าของได้หลายค่าพร้อม ๆ กันในการวัดเพียงครั้งเดียว
ข้อเสีย
– ผู้ใช้งานต้องมีความชำนาญและพื้นฐานระดับหนึ่ง
– ราคาสูง

หลักการทำงานของ เครื่องวัดความหยาบผิว (Surface Roughness tester

  1. เมื่อหัวโพรบแตะลงบนผิวของชิ้นงาน หัวโพรบจะถูกลากไปตามระยะที่เรากำหนดในโปรแกรม
  2. ในขณะที่หัวโพรบลาก คอมพิวเตอร์ก็จะประมวลผลเป็นกราฟ (roughness profile)ออกมา
what-is-roughness

ช่วงของการวิเคราะห์ค่า ความหยาบผิว

ในการวิเคราะห์วัดค่าความหยาบผิวต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

what-is-roughness
  1. Tracing length หรือ Travel length คือ ระยะความยาวทั้งหมดที่หัวโพรบลากบนผิววัตถุทดสอบ
  2. Evaluation Length คือ ระยะความยาวที่นำมาคำนวณหาค่าความหยาบผิว
  3. Pre-operation Length คือ ระยะลากเผื่อก่อนการวัดค่าความหยาบผิว ใช้เผื่อหลีกเลี่ยงค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากเข็มสัมผัสชิ้นงานครั้งแรก ซึ่งอาจจะเกิดค่าสูงสุดและต่ำสุดขึ้นได้ในจุดนี้ ความยาวตรงส่วนนี้ไม่ได้นำมาใช้ในการคำนวณ
  4. Post-operation Length คือ ระยะลากเผื่อหลังการวัดค่าความหยาบผิว ใช้เผื่อหลีกเลี่ยงค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากเข็มหยุดการเคลื่อนทันที เมื่อถึงตำแหน่งที่ต้องการวัด ซึ่งอาจจะเกิดค่าสูงสุดและต่ำสุดขึ้นได้ในจุดนี้ ความยาวตรงส่วนนี้ไม่ได้นำมาใช้ในการคำนวณ
  5. Sampling length หรือ ระยะ Cut-off เป็นระยะใช้ในการกรองค่าสูงสุดและต่ำสุดที่จะนำมาใช้คำนวณ ระยะที่นิยมใช้กัน ได้แก่ 0.25 mm. 0.8 mm. และ 2.5 mm. เป็นต้น  

ค่าการวัด ความหยาบผิว ที่นิยมใช้งาน

การวัดความหยาบผิวของชิ้นงานนั้น มีมากมายหลายค่าให้เลือกใช้ เช่น Rp, Rt, Ra, Rv, Rc, Rq, Rz, , RSm ,Rsk และอื่น ๆ อีกมากมายวันนี้ทาง MiSUMi จะอธิบายตัวอย่างค่าที่นิยมใช้ในการวัดนั้นก็คือ  Ra และ Rz มาดูกันครับ 2 ค่านี้มีความหายและการคำนวณอย่างไร

1.Ra (Arithmetical Roughness mean)

Ra (Arithmetical Roughness mean) เป็นการวัดค่าความหยาบผิวเฉลี่ยของพื้นที่ผิวที่วัดได้ เป็นค่าที่นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมการผลิต มีหน่วยเป็น ไมโครเมตร (μm)

what-is-roughness

สูตรคำนวณค่า Ra

what-is-roughness

2.Rz (Ten-point mean roughness)

Rz (Ten-point mean roughness) เป็นการวัดค่าความหยาบผิวเฉลี่ยของพื้นที่ผิวที่วัดได้ โดยวิธีการคำนวณนั้นจะพิจารณาจากจุดที่มีค่าสูงสุดของกราฟ จำนวน 5 จุด และจุดที่มีค่าต่ำสุดของกราฟจำนวน 5 จุด สามารถดูสูตรคำนวณได้จากกราฟด้านล่างมีหน่วยเป็น ไมโครเมตร (μm)

what-is-roughness

สูตรการคำนวณค่า Rz

what-is-roughness

ปัจจัยพื้นฐานที่ต้องคำนึงถึงเมื่อใช้งาน เครื่องวัดความหยาบผิว

1.พื้นที่การใช้งาน

การใช้งานเครื่องวัดความหยาบผิว ไม่ควรใช้ในพื้นที่ที่มีการสั่นสะเทือนสูง เพราะแรงสั่นสะเทือนจากภายนอกมีผลต่อหัวโพรบของเครื่องวัด ในขณะที่หัวโพรบเคลื่อนที่

2.การตั้งระนาบของเครื่องมือวัด

ควรทำการ  Calibrate ทุกครั้งก่อนการใช้งานเพื่อให้ได้ระนาบที่เหมาะสม ซึ่งทำได้โดยการลองใช้แผ่นวัดความหยาบอ้างอิง (Specimen) ของเครื่องวัด ที่ติดมากับเครื่อง ทำการวัดเพื่อตรวจสอบว่าได้ค่าที่ได้มีความใกล้เคียงกับ Specimen ที่ระบุไว้หรือไม่ จากภาพตัวอย่าง จะเห็นว่า ค่า Ra ของ แผ่นวัดความหยาบอ้างอิงผิว (Specimen) มีค่า 29.7 μm เป็นค่าอ้างอิงที่ใช้ในการตวจสอบการวัด

what-is-roughness

จบกันไปแล้วนะครับ สำหรับความรู้ที่เรานำมาฝากกันในสัปดาห์นี้ นั้นก็คือเรื่อง ความหยาบผิว (Roughness) หวังว่าเพื่อน ๆ จะได้สาระความรู้เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นจากบทความนี้ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคาตาคานะคำอ่าน
1 ความหยาบผิว (Roughness) 表面粗さひょうめんあらさHyō-men-a-ra-sa

 

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 9

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

Learning guide
pneumatics-subject

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save