Home » Technical » Tools » เกจบล็อก (gauge block) คือ อะไร

เกจบล็อก คือ อะไร อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในการตรวจสอบ

จากบทความที่แล้วเพื่อนๆ พอจะทราบถึงความหมายของเกจวัดและวิธีการใช้งาน ฟิลเลอร์เกจกันมาแล้วใช้ไหมครับ ในบทความนี้เรามาดูเกจที่สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในการตรวจสอบความแม่นยำในการวัดของอุปกรณ์ นั้นก็คือ “เกจบล็อก (gauge block) หรือ บล็อกเกจ” ว่ามีหน้าที่อะไร และใช้งานอย่างไรกันครับ

เกจบล็อก (gauge block) คือ อะไร

เกจบล็อก (gauge block) หรือ เพื่อน ๆ หลายคนอาจจะเรียกกันว่า บล็อกเกจ คือ เครื่องมือที่มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก ผลิตจากวัสดุหลายชนิด เช่น เหล็กกล้าไร้สนิม (stainless steel), เซรามิค (ceramic), คาร์ไบด์ (carbide) ทั้งนี้ในส่วนของการใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและรูปแบบการใช้งาน

gauge-block
ตัวอย่างเกจบล็อก

เกจบล็อก (gauge block) ใช้งานอะไรได้บ้าง ?

เกจบล็อก (gauge block) มีไว้สำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือวัด เช่น เวอร์เนียคาลิปเปอร์, ไมโครมิเตอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นมาตรฐานในการวัดได้อีกด้วย

gauge-block
ตัวอย่างการใช้เกจบล็อก ตรวจสอบความถูกต้องของไมโครมิเตอร์

ตัวอย่างการเลือกเกจบล็อก

เมื่อเพื่อนๆ ทราบถึงหน้าที่และการใช้งานของเกจบล็อก กันมาแล้วเบื้องต้น เราไปดูวิธีการเลือกเกจบล็อกกันครับว่า มีวิธีการเลือกอย่างไร

ต้องการตรวจสอบความกว้างของชิ้นงานขนาด 14.875 mm. จะเลือกบล็อกเกจขนาดเท่าไหร่ดี ?

เมื่อเพื่อน ๆ เปิดกล่องเกจบล็อก จะพบว่าไม่มีเกจบล๊อกที่มีขนาด 14.875 mm. เลยใช่ไหมครับ ไม่ต้องตกใจ ค่อยๆ ดูไปทีละขั้นตอน

gauge-block
ตัวอย่าง เซตเกจบล็อก

วิธีการเลือกเกจบล็อกให้ได้ขนาด 14.875 mm. ทำอย่างไร ?

gauge-block-06
วิธีการเลือกเกจบล็อก

ขั้นตอนที่ ① : จะเห็นได้ว่า ขนาด 14.875 mm. นั้น มีเลข 5 ลงท้ายอยู่ ซึ่งในกล่องเกจบล็อก จะมีเพียงชิ้นเดียวเท่านั้นที่มีเลขทศนิยม 3 ตำแหน่งก็คือ
1.005 ฉะนั้นจึงต้องเลือกเกจบล็อก ขนาด 1.005 mm. เป็นลำดับแรก ดังนั้นความยาวที่เหลือของเกจบล็อกที่จะต้องพิจารณาคือ 14.875-1.005 = 13.87 mm.

ขั้นตอนที่ ② : เมื่อลองหาเกจบล็อกที่มีเลขลงท้ายด้วย X.X7 มีทั้งขนาด 1.07 , 1.17, 1.27, 1.37 และ 1.47 เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ ในตัวอย่างนี้จะเลือก 1.07 mm. ดังนั้น ความยาวที่เหลือของเกจบล็อกที่จะต้องพิจารณาคือ 13.87-1.07 = 12.8 mm.

ขั้นตอนที่ ③ : เมื่อลองพิจาณาเกจบล็อกที่มีเลขลงท้ายด้วย X.8 ปรากฎว่าไม่มี จึงต้องเปลี่ยนวิธีมาพิจารณาเป็นเกจบล็อกที่ลงท้ายยด้วยเลข X.3 และ X.5 เพื่อให้สามารถนำมารวมกันได้เป็น X.8 ซึ่งในกรณีนี้จะเลือกขนาด 1.30 mm. ดังนั้น ความยาวที่เหลือของเกจบล็อกที่จะต้องพิจารณาคือ 12.8-1.3 = 11.5 mm.

ขั้นตอนที่ ④ : เมื่อลองพิจาณาเกจบล็อกที่มีความยาว 11.5 mm. ปรากฎว่ามีขนาดที่ต้องการพอดี ดังนั้นจึงเลือกใช้ เกจบล็อกขนาด 11.5 mm. เป็นชิ้นสุดท้าย

ตรวจสอบความถูกต้อง เมื่อนำเกจบล็อกที่เลือกไว้ทั้ง 4 ขั้นตอนมาประกบรวมกัน จะได้ความยาวที่ต้องการคือ 1.005 + 1.07 + 1.30 + 11.5 =14.875 นั้นเอง

สรุปในการพิจารณาการเลือกเกจบล็อก

ให้พิจารณาจากเกจที่มีขนาดเล็กที่เล็กที่สุด (ละเอียดที่สุด)ไปสู่ขนาดใหญ่ที่สุด ตามขั้นตอนเบื้องต้นที่ได้กล่าวไป
เมื่อเพื่อนๆทราบถึงวิธีการเลือกเกจบล็อกแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องทำก็คือ การประกอบเกจชนิดนี้เข้าด้วยกัน มีวิธีการอย่างไร เราไปดูกันครับ

วิธีการประกอบ เกจบล็อก (การประกบหรือเชื่อมติด)

เมื่อเพื่อนๆ เลือกเกจบล็อกได้ตามขนาดที่ต้องการแล้วขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำนั้นก็คือ การประกอบเกจชนิดนี้เข้าด้วยกัน โดยมีวิธีการง่ายๆ ดังรูป

gauge-block
ตัวอย่างการประกอบเกจบล็อก

ขั้นตอนการประกอบเกจบล็อก

  1. ทำความสะอาดเกจบล็อกให้ปราศจากสิ่งสกปรกและคราบน้ำมัน ด้วยกระดาษเช็ดไร้ฝุ่น
  2. นำด้านที่มีผิวเรียบกดเข้าหากัน จากนั้นทำการเลื่อนและกดเกจบล็อกไปพร้อมๆกัน จนกระทั่งขอบของเกจบล็อกเสมอกัน
  3. ลองทดสอบการยึดแน่นของเกจบล็อกว่ายึดติดดีหรือไม่ โดยการลองดึง ถ้ายึดแน่นได้ดีแสดงว่าประกอบถูกวิธีเชื่อมกันได้ถูกต้อง

วิธีการถอดเกจบล็อก

วิธีการถอดเกจบล็อก สามารถถอดออกจากกันได้ 2 วิธีดังนี้

gauge-block
วิธีที่ 1 เลื่อนเกจบล็อกออกจากกัน
gauge-block
วิธีที่ 2 บิดเกจบล็อกในทิศทางที่สวนทางกันดังรูป

.

จบไปแล้วนะครับสาระความรู้รวมไปถึงวิธีการเลือกเกจบล็อกให้ได้ขนาดที่ต้องการ รวมไปวิธีการใช้งานเบื้องต้น หากเพื่อนๆ ต้องการเลือกซื้อเครื่องมือชิ้นนี้สามารถคลิกได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ 

คำศัพท์คันจิฮิราคานะคาตาคานะคำอ่าน
เกจบล็อกゲージブロックGē-ji-bu-rok-ku

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 2

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า เกจวัด (gauge) เพิ่มเติมได้ที่นี่
Learning guide
pneumatics-subject

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง