ลักษณะภายนอกของรีเลย์บ่งบอกอะไรเราได้บ้าง
สารบัญ
รีเลย์เป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบไฟฟ้าในปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วลักษณะภายนอกมักจะดูคล้ายกันไปหมด แต่เมื่อสังเกตุให้ดี จะเห็นได้ว่ามีข้อมูลต่างๆ คุณลักษณะหรือสถานะการทำงานของรีเลย์แสดงอยู่ให้เห็นได้โดยง่าย โดยในบทความนี้เราจะมาอธิบายกันว่า ภายนอกของรีเลย์สามารถบอกข้อมูลอะไรเราได้บ้าง ซึ่งในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างเป็นข้อมูลของรุ่น MY-GS ซึ่งเป็นรุ่นยอดนิยมของ OMRON กัน
ข้อมูลและตัวบ่งชี้ที่แสดงบนรีเลย์
ในงานอุตสาหกรรมการทำให้ข้อมูลสามารถเห็นได้ง่าย ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะสามารถช่วยลดข้อผิดพลาดในการติดตั้ง ซ่อมบำรุง รวมไปถึงการตรวจสอบระบบได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามแม้ข้อมูลสำคัญจะมีมากมาย แต่เนื่องจากพื้นที่มีจำกัด ทางผู้ผลิตจึงได้มีการออกแบบเลือกข้อมูลที่สำคัญมากๆ มาแสดงเท่านั้น โดยมักจะมีข้อมูลและตัวบ่งชี้เด่น ๆ ดังต่อไปนี้
ชื่อรุ่น (Model No.)
เป็นส่วนที่บ่งบอกชื่อรุ่นของรีเลย์ (เช่น MY-GS สำหรับรุ่นของ OMRON) ซึ่งสำคัญมากหากคุณต้องการจะนำไปใช้หาข้อมูลจำเพาะเพิ่มเติม
แรงดันคอยล์ (Coil rated voltage)
เป็นส่วนที่จะบอกว่าแรงดันไฟฟ้าที่ต้องใช้เพื่อกระตุ้นการทำงานของรีเลย์ เพื่อเปลี่ยนการเชื่อมต่อของขาจาก C<- > NC ไปเป็น C<->NO โดยแรงดันคอยล์มักแสดงเป็นตัวเลข เช่น 24VDC หรือ 220V AC การเลือกรีเลย์ที่มีแรงดันคอยล์ถูกต้องมีความสำคัญมากเพื่อการทำงานที่เหมาะสมและเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อรีเลย์หรือระบบ
พิกัดหน้าสัมผัส (Contact rating)
เป็นตัวเลขที่จะแสดงถึงค่ากระแสไฟฟ้าที่สามารถไหลผ่านหน้าสัมผัสได้ โดยจะมีเขียนไว้ทั้งค่าของไฟฟ้ากระแสสลับ (VAC) และ ไฟฟ้ากระแสตรง (VDC)
ตัวแสดงสถานะทางกล (Mechanical indicator)
ตัวแสดงสถานะทางกลมักเป็นแถบสีหรือปุ่มเล็ก ๆ ที่เคลื่อนที่เมื่อรีเลย์ทำงาน ข้อดีของตัวบ่งชี้นี้คือสามารถมองเห็นได้แม้ในกรณีที่ไม่มีไฟเลี้ยง ทำให้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการตรวจสอบสถานะในสถานการณ์ที่ไม่มีไฟ โดยจะมีเป็นฟังก์ชั่นมาตรฐานใน MY-GS ทุกรุ่นอยู่แล้ว
ตัวบ่งชี้ LED (LED Indicator)
เป็นส่วนที่ใช้หลอดไฟ LED ในการแสดงสถานการณ์ทำงานของรีเลย์ จึงทำให้สามารถมองเห็นสถานะในการทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แม้ในที่แสงสว่างน้อย ทั้งนี้สีของหลอดไฟ อาจมีการกำหนดต่างๆกันไปในแต่ละผลิต จึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนนำมาใช้งาน เช่น รีเลย์ MY-GS ของ OMRON นี้จะแยกเป็นหลอดสีแดงสำหรับขดลวดที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ( VAC) และหลอดสีเขียวสำหรับขดลวดที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง ( VDC)
การจัดเรียงหน้าสัมผัส (Terminal Arrangement)
เป็นส่วนที่ใช้หลอดไฟ LED ในการแสดงสถานการณ์ทำงานของรีเลย์ จึงทำให้สามารถมองเห็นสถานะในการทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แม้ในที่แสงสว่างน้อย ทั้งนี้สีของหลอดไฟ อาจมีการกำหนดต่างๆกันไปในแต่ละผลิต จึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนนำมาใช้งาน เช่น รีเลย์ MY-GS ของ OMRON นี้จะแยกเป็นหลอดสีแดงสำหรับขดลวดที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ( VAC) และหลอดสีเขียวสำหรับขดลวดที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง ( VDC
การจัดเรียงหน้าสัมผัส (Terminal Arrangement)
เป็นแผนผังที่แสดงถึงตำแหน่งของหน้าสัมผัสและวงจรภายในของรีเลย์ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญอย่างมากในกาเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า โดยแผนภาพที่แสดงจะตรงกับหน้าสัมผัสตรงฐานของรีเลย์
ตัวบ่งชี้เทปคอยล์ (Coil tape)
เทปนี้จะมีการพันไว้ที่ขดลวดของรีเลย์ เพื่อระบุชนิดและขนาดแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมการทำงานของขดลวด
ทำไมรีเลย์ต้องมีไฟบอกสถานะและข้อมูลให้เห็นชัดๆ
ตัวบ่งชี้ที่มองเห็นได้และข้อมูลบนรีเลย์นั้นมีความสำคัญมาก เพราะมันช่วยให้เราทำงานได้เร็วและแม่นยำขึ้น แค่มองก็รู้แล้วว่ารีเลย์ทำงานอยู่หรือเปล่า ใช้ถูกตัวหรือไม่ ไม่ต้องเสียเวลาเปิดตู้คอนโทรลหรือหาคู่มือให้วุ่นวาย แถมยังช่วยป้องกันอุบัติเหตุ ทำให้แก้ปัญหาได้เร็ว และบำรุงรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมืออาชีพ การมีข้อมูลพวกนี้ก็ช่วยให้ทำงานได้สบายใจขึ้นเยอะ ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในระยะยาว เรียกว่าเป็นฟีเจอร์เล็กๆ ที่มีประโยชน์มหาศาล
สรุป
จะเห็นได้ว่าแม้การให้ข้อมูลสถานะ การทำงานของรีเลย์หรือคุณสมบัติ จะไม่ได้ช่วยในการทำงานของเครื่องจักรโดยตรง แต่กลับมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเลือกใช้ การติดตั้ง และการบำรุงรักษา โดยรีเลย์ OMRON MY-GS เป็นตัวอย่างที่ดีว่าการออกแบบรีเลย์สมัยใหม่สามารถรวมสัญญาณที่มองเห็นได้ชัดเจนและข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างไร การทำความเข้าใจคุณลักษณะภายนอกเหล่านี้ช่วยให้วิศวกรและช่างเทคนิคสามารถประเมินข้อมูลจำเพาะและสถานะของรีเลย์ได้อย่างรวดเร็ว นำไปสู่การออกแบบระบบและการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในสัปดาห์หน้าเราจะมีบทความอะไรมานำเสนอ เชิญมาติดตามไปพร้อมๆกันนะครับ รู้ครบจบที่นี่ MiSUMi Technical