3 เกจวัดเกลียว ยอดนิยมที่ใช้ในอุตสาหกรรม
สารบัญ
ระบบเกลียวเป็นระบบที่นิยมใช้กันมากในการประกอบชิ้นงานเข้าด้วยกัน แล้วเราจะใช้เครื่องมืออะไร ในการตรวจสอบขนาดของเกลียวที่เกิดจากการผลิต ว่าได้ขนาดที่เหมาะสมหรือไม่ แล้วการตรวจสอบขนาดเกลียวด้วย เกจวัดเกลียว แต่ละชนิด เช่น ปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว, ริงเกจวัดเกลียว, เกจวัดเกลียวนอก และ หวีวัดเกลียว ใช้งานต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้
ปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว (Thread plug gauge)
ปลั๊กเกจ สำหรับวัดเกลียว (Thread plug gauge) เป็นอีกเครื่องมือที่นิยมใช้ในการตรวจสอบขนาดของเกลียวภายใน โดยมีรูปร่างใกล้เคียงกับปลั๊กเกจแบบเรียบ (limit plug gauge) เพียงแต่รูปลักษณ์ภายนอกตรงบริเวณส่วนหัว จะเป็นร่องเกลียวตามขนาดของเกลียวที่เลือกใช้
ส่วนประกอบของ ปลั๊กเกจ สำหรับวัดเกลียว (Thread plug gauge)
ฝั่ง GO หรือ ฝั่ง GP
(GO Plug)
จุดสังเกต คือ แท่งเกลียวทางฝั่ง GO จะมีความยาวมากกว่า ฝั่ง NOGO เพราะ เมื่อหมุนเกลียวเข้าไปที่รู จะสามารถตรวจสอบได้ว่า เกลียวของชิ้นงานนั้นมีขนาดสม่ำเสมอกันตลอดหรือไม่
ด้ามจับ
เป็นส่วนที่แสดงข้อมูลจำเพาะของเกลียวไว้ที่บริเวณนี้
จากตัวอย่างในรูป
M6 P1.0-6H
M คือ ชนิดของเกลียวในระบบเมตริก (metric)
6 คือ ขนาดของเกลียว ในระบบนั้นๆ
P1.0 คือ ระยะพิทช์ (pitch)
6H คือ มาตรฐานความละเอียดของเกลียว
ฝั่ง NOGO หรือ ฝั่ง NP
(NOGO Plug)
จุดสังเกต คือ แท่งเกลียวทางฝั่ง NOGO จะสั้นกว่า ฝั่ง GO นอกจากนี้เมื่อหมุนปลั๊กเกจด้านนี้เข้ากับเกลียว จะไม่สามารถหมุนได้เกิน 2 รอบของเกลียว
เกจวัดเกลียวนอก (ริงเกจวัดเกลียว) (Thread ring gauge)
เกจวัดเกลียวนอก (Thread ring gauge) หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ริงเกจวัดเกลียว เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่นิยมใช้ในการตรวจสอบขนาดของเกลียวภายนอก มีลักษณะเป็นวงแหวน โดยรูด้านในของวงแหวนมีลักษณะเป็นเกลียว โดยมีด้วยกัน 2 รูปแบบคือ แบบ ริงเกจวัดเกลียวแบบ GO และ ริงเกจวัดเกลียวแบบ NOGO
ข้อสังเกต ริงเกจวัดเกลียวรูปแบบ NOGO ความบางกว่ารูปแบบ GO นอกจากนี้ ริงเกจวัดเกลียวรูปแบบ NOGO จะมีรอยบากสีแดง หรืออาจจะเป็นรอยบากที่ทำเป็นสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถแยกออกได้ชัดเจน
ตัวอย่างการใช้งาน ปลั๊กเกจ สำหรับวัดเกลียว และ เกจวัดเกลียวนอก
เกจวัดเกลียวนอก มีวิธีการใช้งานที่เหมือนกับปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว นั้นก็คือ เมื่อหมุนเกจวัดเกลียวนอก ฝั่ง GO เข้าไปจะสามารถหมุนได้ตลอดความยาวของเกลียว แต่ เกจวัดเกลียวนอกฝั่ง NOGO จะสามารถหมุนได้ไม่เกิน 2 รอบของเกลียว
วิธีใช้ ปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว
ตรวจสอบเกลียวในของชิ้นงาน | ฝั่ง GO | ฝั่ง NOGO |
---|---|---|
| หมุนได้ตลอด ความยาว (OK) | หมุนได้ ไม่เกิน 2 รอบ (OK) |
วิธีใช้ ริงเกจสำหรับวัดเกลียว
ตรวจสอบเกลียวนอกของชิ้นงาน | ฝั่ง GO | ฝั่ง NOGO |
---|---|---|
หมุนได้ตลอด ความยาว (OK) | หมุนได้ ไม่เกิน 2 รอบ (OK) |
หวีวัดเกลียว (Pitch gauge)
หวีวัดเกลียว (pitch gauge) มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบาง ถูกทำเป็นร่องตามขนาดระยะพิทซ์ของเกลียว ใช้สำหรับตรวสอบระยะพิทซ์ของเกลียว เท่านั้น
วิธีการใช้งาน หวีวัดเกลียว (pitch gauge)
- ทำความสะอาดเกลียวของชิ้นงานก่อนทำการตรวจสอบ
- เลือกหวีวัดเกลียวที่มีระยะพิทซ์ใกล้เคียงกับเกลียวเพื่อมาตรวจสอบ
- นำหวีวัดเกลียวที่เลือกมานั้นวางทาบกับเกลียวที่ต้องการตรวจสอบ
- หากร่องเกลียวสามารถวางได้แนบสนิทกับร่องของหวีวัดเกลียว แสดงว่า เป็นระยะพิทซ์ที่ถูกต้อง หากไม่ได้ให้ทำการเลือกใหม่
- ค่าของระยะพิทซ์ที่ได้นั้น สามารถอ่านได้จากตัวเลยที่ระบุอยู่ด้านบนของหวีวัดเกลียว เช่น 1.25 เป็นต้น
ข้อแตกต่างของ เกจวัดเกลียว แต่ละชนิด
เรามาสรุปข้อแตกต่างของอุปกรณ์วัดเกลียวทั้ง 3 ชนิดกันครับ ว่าแต่ละชนิดเหมาะสมกับงานอะไรบ้าง
การตรวจสอบและเครื่องมือ | ปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว | ริงเกจสำหรับวัดเกลียว | หวีวัดเกลียว |
---|---|---|---|
เกลียว | |||
ขนาดเกลียว | วัดได้ เช่น M6 | วัดได้ เช่น M10 | ไม่สามารถวัดได้ |
ระยะพิทซ์ | วัดได้ เช่น 1.0 | วัดได้ เช่น 1.5 | วัดได้ เช่น 0.8 |
จบไปแล้วนะครับสำหรับสาระความรู้เกี่ยวกับ 3 เกจยอดนิยมที่ใช้ในการตรวจสอบขนาดของเกลียว ซึ่งประกอบไปด้วย ปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว, ริงเกจวัดเกลียว และหวีวัดเกลียว หวังว่าเพื่อน ๆ จะสามารถเลือกใช้เกจวัดเกลียวได้ตามงานออกแบบที่เหมาะสม หากเพื่อนๆ สนใจดูสินค้าเกี่ยวกับเกจวัดเกลียว สามารถคลิกได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
คำศัพท์ | ฮิราคานะ/ คาตาคานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
ปลั๊กเกจสำหรับวัดเกลียว (Thread plug gauge) | ねじプラグゲージ | – | Ne-ji-pu-ra-0gugēji |
ริงเกจวัดเกลียว (Thread ring gauge) | ねじリングゲージ | – | Ne-ji-rin-gu-gē-ji |
หวีวัดเกลียว (Screw pitch gauge) | – | ピッチゲージ | Pit-chi-gē-ji |