ไดอัลเกจ คืออะไร ใช้ทำอะไรในอุตสาหกรรมบ้าง
สารบัญ
ไดอัลเกจ (Dial Gauge) เป็นเครื่องมือวัดที่มีหน้าปัดและสเกลคล้ายกับนาฬิกา โดยแต่ละสเกลจะมีค่าความละเอียดค่าหนึ่งที่กำหนดไว้ โดยค่าที่นิยมใช้มีด้วยกัน อยู่ 2 ค่า นั้นก็คือ 0.01 mm.และ 0.001 mm. งานที่เหมาะกับการใช้ไดอัลเกจ ได้แก่ การวัดความเป็นระนาบ ความขนาน ระยะเยื้องศูนย์ เช่น วัดหาศูนย์ของวัตถุก่อนการขึ้นรูปชิ้นงาน เช่น การกลึง การกัด เป็นต้น
ด้วยความที่ไดอัลเกจ มีความละเอียดสูงจึงนิยมนำไปใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งก่อนการขึ้นชิ้นงานในกระบวนการต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น การตั้งระดับชิ้นงานบน เครื่อง CNC , เครื่องกลึง และอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบความคลาดเคลื่อนของการทำงานของเครื่องจักรได้อีกด้วย เรามาดูส่วนประกอบของไดอัลเกจ คร่าวๆ กันครับ
ส่วนประกอบของ ไดอัลเกจ
1.ฝากันฝุ่น (dust cap) เป็นส่วนที่ใช้ป้อนกันฝุ่นละอองเข้าไปที่อุปกรณ์
2.เข็มยาว (long pointer) ใช้บ่งบอกระยะการเคลื่อนที่ของหัววัด
3.เข็มสั้น (short pointer) เป็นเข็มที่ใช้เพื่อนับระยะการเคลื่อนที่ของเข็มยาว ในกรณีที่เข็มยาวเคลื่อนที่ได้มากกว่า 1 รอบ โดยเมื่อเข็มยาวเคลื่อนที่ครบทุก 1 รอบ เข็มสั้นจะเคลื่อนที่ไป 1 สเกล
4.หน้าปัดนับรอบ (revolution counter) เป็นตัวเลขที่ใช้ระบุค่าเมื่อเข็มยาวหมุนวนครบ 1 รอบ โดยวิธีการนี้ใช้ได้กับไดอัลเกจที่มีหน้าปัดนับรอบประกอบด้วยเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9
ตัวอย่างเช่น
จากภาพทางด้านซ้ายมือ จะเห็นว่าเข็มยาวหมุนไปประมาณ 5 สเกล
เข็มสั้นเคลื่อนที่ไปได้ 0 รอบ
และเลขบอกขนาดสเกล คือ 1 สเกล = 0.01 mm. (กรอบสี่เหลียมสีเขียว)
แสดงว่าหัววัดเคลื่อนที่ไปเท่ากับ 5 x 0.01 = 0.005 mm. นั้นเอง
5.สเกล (scale) บนแผ่นสเกลจะมีลักษณะคล้ายหับหน้าปัดของเข็มนาฬิกา โดยสเกลจะถูกแบ่งออกเป็นช่องเท่าๆ กัน โดยมากจะใช้ 100, 200 ช่อง ขึ้นกับวิธีการใช้งาน และความละเอียดที่ต้องการ
6.ตัวเรือน (body) เป็นส่วนที่ป้องกันอึปกรณ์ภายในไม่ให้เกิดควาามเสียหาย
7.ก้าน (stem) เป็นส่วนที่ใช้ยึดไดอัลเกจให้มั่นคงในขณะที่ทำการวัด
8.แกนเลื่อน (spindle or plunger) เป็นส่วนที่อยู่ระหว่าง ก้านและหัววัด โดยแกนเลื่อนจะเคลื่อนที่ขึ้นและลงในขณะที่ทำการวัด
9.หัววัด (contact point) เป็นส่วนที่สัมผัสกับผิวชิ้นงานในขณะที่ทำการวัด
ข้อดีของการใช้ ไดอัลเกจ
- การวัดขนาดเป็นการอ่านค่าโดยตรงจากสเกลหน้าปัดและเข็ม จึงมีความคลาดเคลื่อนในการอ่านค่าน้อย
- ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ราคาย่อมเยา และใช้งานง่าย
- สามารถวัดขนาดด้วยช่วงการเคลื่อนที่กว้างและสามารถวัดแบบต่อเนื่องได้
- สามารถวัดขนาดหลายตำแหน่งพร้อมกันได้
ตัวอย่าง ไดอัลเกจที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม มีดังนี้
No. | ประเภทของไดอัลเกจ | การใช้งานหลัก |
---|---|---|
1 | ไดอัลเกจรุ่นมาตรฐาน | วัดขนาดความยาวตามมาตรฐาน |
2 | ไดอัลเกจวัดความหนา | วัดความหนาหรือเส้นผ่านศูนย์กลางนอก |
3 | ไดอัลเกจวัดความลึก | วัดความลึกหรือความสูง |
4 | ไดอัลคาลิปเปอร์เกจ | วัดเส้นผ่านศูนย์กลางนอก เส้นผ่านศูนย์กลางใน หรือขนาดช่องว่าง |
ไดอัลเกจในอุตสาหกรรมมีมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ไดอัลเกจรุ่นมาตรฐาน, เกจวัดความหนา, ไดอัลเกจวัดความลึก, ไดอัลคาลิปเปอร์เกจ และ อื่นๆ ทั้งนี้ไดอัลเกจแต่ละชนิดล้วนมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกัน และมีวิธีการอ่านค่าที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ในปัจจุบันมีไดอัลเกจแบบดิจิทัลที่ช่วยให้สามารถอ่านค่าได้สะดวกยิ่งขึ้นอีกด้วย เพื่อนๆ สามารถเลือกซื้อไดอัลเกจชนิดต่างๆ ได้ที่นี่ นอกจากนี้เพื่อนๆ สามารถอ่านบทความเกี่ยวเกจวัด ชนิดต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
No. | คำศัพท์ | คันจิ | ฮิรางานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|---|
1 | ไดอัลเกจ | – | – | ダイヤルゲージ | Dai-ya-ru-gē-ji |