Home » Technical » Tools » 4 เกจวัด ยอดนิยมที่ใช้ในอุตสาหกรรม

4 เกจวัด ยอดนิยมที่ใช้ในอุตสาหกรรม

เกจวัด คืออะไร

เกจวัด คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจสอบค่าอย่างง่าย หรือนำมาใช้ในการสอบเทียบ (calibrate) ในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น ความหนา, ความกว้าง, ความยาว, ความสูง รวมไปถึงขนาดของเกลียวก็สามารถวัดได้เช่นกัน เพื่อให้ชิ้นงานที่ได้นั้นมีมาตรฐานเดียวกันในการผลิต วันนี้ทาง MISUMI Technical center ได้นำ 4 เกจวัดที่ยอดนิยมมาให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันครับว่าเกจแต่ละชนิดมีไว้ใช้งานอะไร

1.ฟิลเลอร์เกจ (feeler gauge)

ฟิลเลอร์เกจ (feeler gauge) หรือ thickness gauge เป็นเกจที่ใช้สำหรับตรวจสอบความหนาของช่องว่างระหว่างวัตถุที่ประกบกัน เช่น ระยะของแผ่นเหล็กที่ประกบกันของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เป็นต้น โดยตัวเครื่องมือนั้นประกอบไปด้วยแผ่นโลหะบาง ที่มีความหนาหลายขนาดรวมเข้าด้วยกันเพื่อสะดวกต่อการใช้งานและการเก็บรักษา

feeler-guage
ฟิลเลอร์เกจ (feeler gauge)

วิธีการใช้งานฟิลเลอร์เกจ

ในการใช้งานฟิลเลอร์เกจ ให้ลองเลือกความหนาของแผ่นโลหะที่ต้องการ หลังจากนั้นสอดเข้าไปในช่องว่างระหว่างชิ้นงานที่ต้องการตรวจสอบ หลังจากนั้นลองเลื่อนฟิลเลอร์เกจเข้าและออก เพื่อตรวจสอบว่าฟิลเลอร์เกจที่เลือกมีขนาดที่พอดีกับช่องว่างหรือไม่ ถ้าไม่ได้ขนาดที่ต้องการก็สามารถที่จะนำแผ่นโลหะขนาดอื่นๆ มาซ้อนกัน หรือ เปลี่ยนแผ่นโลหะเป็นความหนาที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ค่าความหนาที่ต้องการ

feeler-guage

วิธีการอ่านค่าของ ฟิลเลอร์เกจ

ในกรณีที่ใช้ฟิลเลอร์เกจ 1 แผ่น

เมื่อตรวจสอบว่าฟิลเลอร์เกจนั้นสัมผัสกับช่องว่างระหว่างชิ้นงานทั้งสองชิ้นแล้วให้อ่านตัวเลขด้านบนของ ฟิลเลอร์เกจแผ่นนั้นได้เลย เช่น 0.15 mm. เป็นต้น

ในกรณีที่ใช้ฟิลเลอร์เกจ มากกว่า 1 แผ่น

ให้นำตัวเลขระบุความหนาของฟิลเลอร์เกจทุกแผ่นที่ใช้ทำการวัดมาบวกกัน เช่น ใช้ 0.15, 0.45, และ 0.7 ดังนั้นค่าของช่องว่างระหว่างชิ้นงานที่ได้ คือ 0.15+0.45+0.7 = 1.3 mm.

2.พินเกจ (pin gauge)

พินเกจ (pin gauge) เป็นเครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของรูเจาะแบบละเอียด ว่าอยู่ในมาตรฐานของการผลิตหรือไม่ โดยมีค่าความละเอียดที่ถูกแบ่งด้วยทศนิยม 2 ตำแหน่ง (2.00) หรือ ทศนิยม 3 ตำแหน่ง (9.750) เป็นต้น นอกจากนี้ พินเกจยังมีวัสดุที่ใช้ผลิตที่แตกต่างกันออกไป เช่น เหล็ก, เซรามิก และ คาไบด์ เพื่อน ๆ สามารถอ่านวิธีการใช้งาน พินเกจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

pin-gauge
ตัวอย่าง ชุดพินเกจ (pin gauge set)
pin-gauge
พินเกจแบบเหล็ก
pin-gauge
พินเกจแบบเซรามิก

3.ปลั๊กเกจ (plug gauge)

ปลั๊กเกจ (plug gauge) เป็นเกจที่ใช้ตรวจสอบได้ทั้งขนาดของเกลียวหรือขนาดของรูเจาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปลั๊กเกจ โดยเครื่องมือชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายดัมเบล ดังรูป ซึ่งประกอบไปด้วยด้านที่สามารถใช้งานได้ 2 ฝั่ง นั้นก็คือ ฝั่ง GO และ ฝั่ง NOGO ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

Limit-plug-gauge
ปลั๊กเกจทรงกระบอก แบบเรียบ
(limit plug gauge)
Limit-plug-gauge
ปลั๊กเกจแบบ เกลียว
(Thread plug gauge)

เพื่อน ๆ สามารถอ่านวิธีการใช้งาน ปลั๊กเกจ (plug gauge) เพิ่มเติมได้ที่นี่

4. เกจบล็อก (gauge block)

เกจบล็อก (gauge block) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บล็อกเกจ เป็นเกจที่ใช้สำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือวัด เช่น ไฮเกจ (height gauge), เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Calipers), ไมโครมิเตอร์ (micrometer) เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถที่จะนำไปเป็นมาตรฐานในการวัดได้อีกด้วย เพื่อนๆ สามารถอ่านวิธีการใช้งาน เกจบล็อก เพิ่มเติมได้ที่นี่

gauge-block

ข้อควรระวังก่อนการใช้งานเกจวัด

  1. ก่านการใช้งาน ควรศึกษาวิธีการใช้งานเกจวัด ให้ถูกต้อง
  2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า เกจวัด ไม่มีความผิดปกติใด ๆ เช่น สนิม รอยขีดขวด รอยบิ่น และอื่น ๆ
  3. ในการใช้งานเกจวัดแต่ละครั้ง ควรทำความสะอาดเกจวัดด้วยผ้าสะอาดก่อนการใช้งานเสมอ เพราะอาจจะมีคราบน้ำมันหรือเศษผงติดอยู่

ข้อควรระวังในการใช้งานเกจวัด

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเกจวัดด้วยมือเปล่า เพราะอาจจะทำให้เกจวัดบางชนิด เกิดสนิมขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ฟิลเลอร์เกจ, พินเกจ, เกจบล๊อก เป็นต้น
  2. ไม่ควรออกแรงกด กับเครื่องมือเกจวัดที่มากจนเกินไป เพราะอาจทำให้เครื่องมือเกิดความเสียหายได้

วิธีการจัดเก็บและดูแลรักษาเกจวัด

  1. ทำความสะอาจเกจวัด หลังการใช้งานให้เรียบร้อย
  2. ชโลมน้ำมันเคลือบเพื่อป้องกันสนิม เช่น พินเกจ, เกจบล๊อก เป็นต้น
  3. เก็บเกจวัดแต่ละชนิด แยกลงในกล่องเครื่องมือของเกจชนิดนั้น ๆ ไม่ควรเก็บรวมกัน
  4. ไม่ลืมที่จะส่งเครื่องมือวัดไปสอบเทียบ (calibration) เมื่อถึงเวลาที่กำหนด เพื่อให้เครื่องมือพร้อมใช้อยู่เสมอ

จบไปแล้วนะครับสำหรับสาระความรู้เกี่ยวกับ 4 เกจวัดยอดนิยมในอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย ฟิลเลอร์เกจ, พินเกจ, ปลั๊กเกจ และ เกจบล็อก หวังว่าเพื่อน ๆ จะเข้าใจหน้าที่ของเกจแต่ละชนิดมีจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ในบทความถัดไป เราจะมาเจาะลึกวิธีการใช้งานของเกจแต่ละชนิดกันครับ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ 

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

คำศัพท์ฮิราคานะ/ คาตาคานะ คาตาคานะคำอ่าน
ฟิลเลอร์เกจ (feeler gauge) すきまゲージ Su-ki-ma-gē-ji
พินเกจ (pin gauge)ピンゲージPin-gē-ji
ปลั๊กเกจ (plug gauge)プラグゲージ Pu-ra-gu-gē-ji
เกจบล็อก (gauge block) ゲージブロックGē-ji-bu-rok-ku

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.5 / 5. คะแนนโหวต: 4

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

Learning guide
pneumatics-subject

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง