เกจบล็อก คือ อะไร อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในการตรวจสอบ
สารบัญ
จากบทความที่แล้วเพื่อนๆ พอจะทราบถึงความหมายของเกจวัดและวิธีการใช้งาน ฟิลเลอร์เกจกันมาแล้วใช้ไหมครับ ในบทความนี้เรามาดูเกจที่สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในการตรวจสอบความแม่นยำในการวัดของอุปกรณ์ นั้นก็คือ “เกจบล็อก (gauge block) หรือ บล็อกเกจ” ว่ามีหน้าที่อะไร และใช้งานอย่างไรกันครับ
เกจบล็อก (gauge block) คือ อะไร
เกจบล็อก (gauge block) หรือ เพื่อน ๆ หลายคนอาจจะเรียกกันว่า บล็อกเกจ คือ เครื่องมือที่มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก ผลิตจากวัสดุหลายชนิด เช่น เหล็กกล้าไร้สนิม (stainless steel), เซรามิค (ceramic), คาร์ไบด์ (carbide) ทั้งนี้ในส่วนของการใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและรูปแบบการใช้งาน
เกจบล็อก (gauge block) ใช้งานอะไรได้บ้าง ?
เกจบล็อก (gauge block) มีไว้สำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือวัด เช่น เวอร์เนียคาลิปเปอร์, ไมโครมิเตอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นมาตรฐานในการวัดได้อีกด้วย
ตัวอย่างการเลือกเกจบล็อก
เมื่อเพื่อนๆ ทราบถึงหน้าที่และการใช้งานของเกจบล็อก กันมาแล้วเบื้องต้น เราไปดูวิธีการเลือกเกจบล็อกกันครับว่า มีวิธีการเลือกอย่างไร
ต้องการตรวจสอบความกว้างของชิ้นงานขนาด 14.875 mm. จะเลือกบล็อกเกจขนาดเท่าไหร่ดี ?
เมื่อเพื่อน ๆ เปิดกล่องเกจบล็อก จะพบว่าไม่มีเกจบล๊อกที่มีขนาด 14.875 mm. เลยใช่ไหมครับ ไม่ต้องตกใจ ค่อยๆ ดูไปทีละขั้นตอน
วิธีการเลือกเกจบล็อกให้ได้ขนาด 14.875 mm. ทำอย่างไร ?
ขั้นตอนที่ ① : จะเห็นได้ว่า ขนาด 14.875 mm. นั้น มีเลข 5 ลงท้ายอยู่ ซึ่งในกล่องเกจบล็อก จะมีเพียงชิ้นเดียวเท่านั้นที่มีเลขทศนิยม 3 ตำแหน่งก็คือ
1.005 ฉะนั้นจึงต้องเลือกเกจบล็อก ขนาด 1.005 mm. เป็นลำดับแรก ดังนั้นความยาวที่เหลือของเกจบล็อกที่จะต้องพิจารณาคือ 14.875-1.005 = 13.87 mm.
ขั้นตอนที่ ② : เมื่อลองหาเกจบล็อกที่มีเลขลงท้ายด้วย X.X7 มีทั้งขนาด 1.07 , 1.17, 1.27, 1.37 และ 1.47 เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ ในตัวอย่างนี้จะเลือก 1.07 mm. ดังนั้น ความยาวที่เหลือของเกจบล็อกที่จะต้องพิจารณาคือ 13.87-1.07 = 12.8 mm.
ขั้นตอนที่ ③ : เมื่อลองพิจาณาเกจบล็อกที่มีเลขลงท้ายด้วย X.8 ปรากฎว่าไม่มี จึงต้องเปลี่ยนวิธีมาพิจารณาเป็นเกจบล็อกที่ลงท้ายยด้วยเลข X.3 และ X.5 เพื่อให้สามารถนำมารวมกันได้เป็น X.8 ซึ่งในกรณีนี้จะเลือกขนาด 1.30 mm. ดังนั้น ความยาวที่เหลือของเกจบล็อกที่จะต้องพิจารณาคือ 12.8-1.3 = 11.5 mm.
ขั้นตอนที่ ④ : เมื่อลองพิจาณาเกจบล็อกที่มีความยาว 11.5 mm. ปรากฎว่ามีขนาดที่ต้องการพอดี ดังนั้นจึงเลือกใช้ เกจบล็อกขนาด 11.5 mm. เป็นชิ้นสุดท้าย
ตรวจสอบความถูกต้อง เมื่อนำเกจบล็อกที่เลือกไว้ทั้ง 4 ขั้นตอนมาประกบรวมกัน จะได้ความยาวที่ต้องการคือ 1.005 + 1.07 + 1.30 + 11.5 =14.875 นั้นเอง
สรุปในการพิจารณาการเลือกเกจบล็อก
ให้พิจารณาจากเกจที่มีขนาดเล็กที่เล็กที่สุด (ละเอียดที่สุด)ไปสู่ขนาดใหญ่ที่สุด ตามขั้นตอนเบื้องต้นที่ได้กล่าวไป
เมื่อเพื่อนๆทราบถึงวิธีการเลือกเกจบล็อกแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องทำก็คือ การประกอบเกจชนิดนี้เข้าด้วยกัน มีวิธีการอย่างไร เราไปดูกันครับ
วิธีการประกอบ เกจบล็อก (การประกบหรือเชื่อมติด)
เมื่อเพื่อนๆ เลือกเกจบล็อกได้ตามขนาดที่ต้องการแล้วขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำนั้นก็คือ การประกอบเกจชนิดนี้เข้าด้วยกัน โดยมีวิธีการง่ายๆ ดังรูป
ขั้นตอนการประกอบเกจบล็อก
- ทำความสะอาดเกจบล็อกให้ปราศจากสิ่งสกปรกและคราบน้ำมัน ด้วยกระดาษเช็ดไร้ฝุ่น
- นำด้านที่มีผิวเรียบกดเข้าหากัน จากนั้นทำการเลื่อนและกดเกจบล็อกไปพร้อมๆกัน จนกระทั่งขอบของเกจบล็อกเสมอกัน
- ลองทดสอบการยึดแน่นของเกจบล็อกว่ายึดติดดีหรือไม่ โดยการลองดึง ถ้ายึดแน่นได้ดีแสดงว่าประกอบถูกวิธีเชื่อมกันได้ถูกต้อง
วิธีการถอดเกจบล็อก
วิธีการถอดเกจบล็อก สามารถถอดออกจากกันได้ 2 วิธีดังนี้
.
จบไปแล้วนะครับสาระความรู้รวมไปถึงวิธีการเลือกเกจบล็อกให้ได้ขนาดที่ต้องการ รวมไปวิธีการใช้งานเบื้องต้น หากเพื่อนๆ ต้องการเลือกซื้อเครื่องมือชิ้นนี้สามารถคลิกได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
คำศัพท์ | คันจิ | ฮิราคานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|
เกจบล็อก | – | – | ゲージブロック | Gē-ji-bu-rok-ku |