Home » Technical » Mechanical » งานสวม มีความสำคัญอย่างไร ?

งานสวม มีความสำคัญอย่างไร ?

งานสวม เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการออกแบบเครื่องจักรทางวิศวกรรม เช่น การประกอบเพลาเข้ากับตัวยึดเพลา การประกอบเพลาเข้ากับตลับลูกปืน เป็นต้น แล้ว สวมอัด, สวมพอดี หรือสวมคลอน และ สวมเผื่อ แต่ละแบบเหมาะสมกับงานแบบไหน และต้องกำหนดค่า tolerance อย่างไร เรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันครับ

type-of-fit
ตัวอย่างการประกอบ ตลับลูกปืนกับเพลา

งานสวม มีกี่ประเภท

งานสวม ในทางวิศวกรรมกรรม แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

type-of-fit

1.สวมเผื่อ (clearance fit)

การประกอบชิ้นงานแบบ สวมเผื่อ (clearance fit) สังเกตเห็นได้ว่าการประกอบแบบนี้ รูจะมีขนาดใหญ่กว่าเพลาเสมอ มักพบเห็นได้ทั่วไปในงานออกแบบ ตัวอย่าง เช่น

type-of-fit
  • การสวมแบบ loose fit เป็นการสวมที่ไม่ต้องการความแม่นยำในการเคลื่อนที่มากนัก สามารถที่จะถอดเข้าออกเพื่อทำการเปลี่ยนหรือซ่อมบำรุงชิ้นส่วนได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การประกอบเพลา เข้ากับ pulley

  • การสวมแบบ running fit เป็นการสวมที่ต้องการให้ระยะห่างระหว่างขนาดของเพลาและรูเพลาสามารถเก็บฟิล์มน้ำมันหล่อลื่นได้ ตัวอย่างเช่น การประกอบเพลากับตลับลูกปืน ที่มักจะมีฟิล์มน้ำมันเป็นตัวหล่อลื่นระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองชนิด

2.สวมพอดี หรือ สวมคลอน(transition fit)

การประกอบชิ้นงานแบบ สวมพอดี หรือสวมคลอน (transition fit) จะเห็นได้ว่าเพลาอาจมีขนาดเล็กกว่าหรือใหญ่กว่ารูของเพลาก็ได้ ในการประกอบรูปแบนนี้ จำเป็นต้องใช้แรงจากภายนอกเข้ามาช่วยเล็กน้อย เช่น แรงจากการใช้มือกด แรงจากการใช้ค้อนยางตอกเบา ๆ เป็นต้น โดยมีตัวอย่างการประกอบดังนี้

type-of-fit
  • การสวมแบบ Push fit เป็นการประกอบที่ใช้มือกด โดยใช้แรงกดเพียงเล็กน้อย เช่น การประกอบ locating pin

  • การสวมแบบ wringing fit เป็นการประกอบที่ใช้แรงมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับ push fit ตัวอย่างเช่น การประกอบ Key ในช่อง Keyhole ของเพลา

3.สวมอัด(interference fit)

การประกอบชิ้นงานแบบ สวมอัด(interference fit) สังเกตเห็นได้ว่ารูเพลาจะมีขนาดเล็กกว่าเพลาเสมอ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกดชิ้นงานในขณะที่ทำการประกอบ หรือ อาจใช้ความร้อนเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดการขยายตัวของวัสดุในขณะที่ทำการประกอบ โดยในการประกอบงานประเภทนี้จะถอดชิ้นงานออกได้ยากเมื่อทำการประกอบไปแล้ว ตัวอย่างเช่น

type-of-fit
  • การสวมแบบ shrink or heavy fit เป็นการประกอบแบบที่ใช้ความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้องคือ ขยายรูเพลาให้ใหญ่ขึ้น และสวมเพลาในขณะที่รูเพลายังร้อนอยู่หลังจากนั้น ลดอุณหภูมิของรูเพลาลง
  • การสวมแบบ medium force fit เป็นการประกอบที่ต้องใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วย แรงกดจากมือไม่เพียงพอสำหรับการประกอบ ตัวอย่างเช่น การประกอบยางรถยนต์เข้ากับล้อแม็ก

ตัวอย่างการคำนวณงานสวมรูปแบบต่าง ๆ

1.ตัวอย่างการคำนวณ งานสวมเผื่อ (clearance fit)

กำหนดให้ รูเพลา มีขนาด 29.0 ± 0.5 mm. และ เพลา มีขนาด 27.75 ± 0.5

คำนวนในกรณีที่สวมแบบ maximum clearance
type-of-fit
งานสวมเผื่อแบบ maximum clearance

ขนาดของรูเพลา ใหญ่ที่สุด คือ 29.0 + 0.5 = 29.5 mm.

ขนาดของเพลา เล็กที่สุด คือ 27.75-0.5 = 27.25 mm.

ดังนั้น allowance ที่เหลือ คือ 29.5-27.25 = 2.25 mm.

คำนวนในกรณีที่สวมได้แบบ minimum clearance
type-of-fit
งานสวมเผื่อแบบ minimum clearance

ขนาดของรูเพลา เล็กที่สุด คือ 29.0 – 0.5 = 28.5 mm.

ขนาดของเพลา ใหญ่ที่สุด คือ 27.75+0.5 = 28.25 mm.

ดังนั้น allowance ที่เหลือ คือ 28.5-28.25 = 0.25 mm.

จะสังเกตเห็นว่าค่า clearance ที่ได้เป็น + เสมอ และการสวมแบบ maximum clearance จะมีช่องว่างระหว่างเพลากับรูเพลา มีมากกว่า minimum clearance

2.ตัวอย่างการคำนวณ งานสวมพอดีหรือสวมคลอน (transition fit)

กำหนดให้ รูเพลา มีขนาด 20.0 ± 0.5 mm. และ เพลา มีขนาด 20.0 ± 0.25 mm.

คำนวนในกรณีที่สวมแบบ maximum clearance
type-of-fit
สวมพอดีหรือสวมคลอนแบบ maximum clearance

ขนาดของรูเพลา ใหญ่ที่สุด คือ 20.0 + 0.5 = 20.5 mm.

ขนาดของเพลา เล็กที่สุด คือ 20.0-0.25 = 19.75 mm.

ดังนั้น allowance ที่เหลือ คือ 20.5-19.75 = 0.75 mm.

คำนวนในกรณีที่สวมแบบ maximum Interference
type-of-fit
สวมพอดีหรือสวมคลอนแบบ maximum Interference

ขนาดของรูเพลา เล็กที่สุด คือ 20.0 – 0.5 = 19.5 mm.

ขนาดของเพลา ใหญ่ที่สุด คือ 20.0 +0.25 = 20.25 mm.

ดังนั้น allowance ที่เหลือ คือ 19.5-20.25 = -0.25 mm.

จะสังเกตเห็นว่าค่า clearance ที่ได้เป็นได้ทั้ง + และ – ซึ่งหมายถึงการประกอบแบบสวมพอดีนั้นมีโอกาสที่เพลาจะมีขนาดเล็กกว่าหรือใหญ่กว่ารูเพลาได้

3.ตัวอย่างการคำนวณ งานสวมอัด (interference fit)

กำหนดให้ รูเพลา มีขนาด 28.75 ± 0.5 mm. และ เพลา มีขนาด 30.0 ± 0.5 mm.

คำนวนในกรณีที่สวมแบบ maximum Interference
type-of-fit
สวมอัดแบบ maximum Interference

ขนาดของรูเพลา เล็กที่สุด คือ 28.75 – 0.5 = 28.25 mm.

ขนาดของเพลา ใหญ่ที่สุด คือ 30.0 + 0.5 = 30.50 mm.

ดังนั้น allowance ที่เหลือ คือ 28.25-30.50 = -1.25 mm.

คำนวนในกรณีที่สวมแบบ minimum Interference
type-of-fit
สวมอัดแบบ minimum Interference

ขนาดของรูเพลา ใหญ่ที่สุด คือ 28.75 + 0.5 = 29.25 mm.

ขนาดของเพลา เล็กที่สุด คือ 30.0 – 0.5 = 29.50 mm.

ดังนั้น allowance ที่เหลือ คือ 29.25-29.50 = -0.25 mm.

จะสังเกตเห็นว่าค่า clearance ที่ได้เป็น – เสมอ ซึ่งหมายถึงไม่มีช่องว่างภายในที่เกิดจากการประกอบชิ้นงานทั้งสองชิ้น

จบไปแล้วนะครับ สำหรับรูปแบบงานสวมในเชิงวิศวกรรมที่มักพบเจอได้บ่อยในการออกแบบ ในบทความถัดไป เราจะมาดูกันครับว่า สัญลักษณ์บน drawing ที่เกี่ยวข้องกับงานสวมนี้มีอะไบ้าง แล้วตัวหนังสือย่อ H, h, G, g ที่ปรากฎบน drawing นั้นมีความเกี่ยวข้องกับการประกอบอย่างไร ติดตามกันต่อได้ใน ระบบงานสวมและพิกัดความเผื่อ คืออะไร ?

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคำอ่านความหมาย
1สวมเผื่อ
(clearance fit)
すきまばめSu ki ma ba meการประกอบชิ้นงานที่ รูเพลาจะมีขนาดใหญ่กว่าเพลาเสมอ
2สวมพอดี
(transition fit)
中間ばめ ちゅうかんばめChū kan ba meการประกอบชิ้นงานที่ รูเพลาจะมีใกล้เคียงกับเพลา
3สวมอัด
(interference fit)
しまりばめShi ma ri ba meการประกอบชิ้นงานที่ รูเพลาจะมีขนาดเล็กกว่าเพลา

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.8 / 5. คะแนนโหวต: 17

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า Shaft เพิ่มเติมได้ที่นี่
Learning guide
shaft-selection

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง