Home » Technical » Mechanical » พิกัดความเผื่อ เลือกอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ

พิกัดความเผื่อ เลือกอย่างไร ให้เหมาะสมกับงานออกแบบ

หลายครั้งที่นักออกแบบมือใหม่ประสบปัญหาในการเลือกค่า พิกัดความเผื่อ สำหรับงานสวมระหว่างเพลากับรูเพลา ในบทความนี้เรามีตัวอย่างการเลือกค่าพิกัดความเผื่อในการออกแบบ มาให้เพื่อน ๆ นำไปประยุกต์ใช้งานกันครับ

ขั้นตอนการเลือกพิกัดความเผื่อ

  1. พิจารณากำหนดให้ส่วนที่มีความยากในการปรับเปลี่ยนขนาดให้มีขนาดคงที่ เช่น ระบบรูเพลาคงที่ (hole basis system) หรือ ระบบเพลาคงที่ (shaft basis system)
  2. เลือกรูปแบบการประกอบให้เหมาะสม เช่น สวมเผื่อ (clearance fit) สวมพอดี (transition fit) และ สวมอัด (interference fit)
  3. เลือกค่าพิกัดความเผื่อของเพลาหรือรูเพลา (ขึ้นอยู่กับระบบงานสวมที่ใช้จากข้อที่1)

ตัวอย่างการเลือกพิกัดความเผื่อ

ตัวอย่างงานออกแบบ ต้องการติดตั้งชุดตลับลูกปืนเขากับเพลา โดยตลับลูกปืนมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายในขนาด 45 H7 mm. ต้องใช้เพลาขนาดเท่าไหร่ในการประกอบ

hole-and-shaft-selection
ตัวอย่างการประกอบเพลากับตลับลูกปืน

วิธีการเลือกค่า พิกัดความเผื่อ

ในการเลือกค่าพิกัดความเผื่อ โดยส่วนใหญ่จะมีด้วยกัน 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 กรณีที่ทราบว่าจะสวมงานรูปแบบไหนจะเลือก พิกัดความเผื่อ อย่างไร

ขั้นตอนที่ 1 พิจารณาส่วนที่มีความยากในการปรับเปลี่ยนขนาดให้มีขนาดคงที่

ก่อนจะเริ่มขึ้นตอนที่ 1 เรามาเปิดตารางประกอบดูไปพร้อม ๆ กันได้ที่นี่ครับ คลิกเพื่อเปิดตาราง

จากตัวอย่าง ต้องการประกอบเพลาเข้ากับตลับลูกปืนจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนขนาดรูตลับลูกปืนที่ติดมากับเครื่องจักรทำได้ยากกว่า เราจึงเลือกการประกอบเป็นรูปแบบ
ระบบรูเพลาคงที่ (hole basis system) เพราะเราสามารถปรับเปลี่ยนขนาดของเพลาได้ง่ายโดยไม่กระทบกับชิ้นส่วนของเครื่องจักร

hole-and-shaft-selection-001
ตารางแสดงรูปแบบงานสวมแบบรูเพลา(รูคว้าน)คงที่และเพลาคงที่

ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาส่วนที่มีค่าคงที่ควบคู่กับประเภทงานสวม

จากขั้นตอนที่แล้วเมื่อเราเลือกระบบรูเพลาคงที่แล้ว เราทราบว่า เพลามีพิกัดความเผื่ออยู่ที่ H7 และทราบว่าการประกอบตลับลูกปืนเข้ากับเพลาเป็นแบบสวมพอดี (transition fit) เมื่อนำความสัมพันธ์ทั้งสองมาจับคู่กัน ตามตารางจะได้ค่าในกรอบสีม่วง “k6” เป็นค่าที่เหมาะสมกับการประกอบแบบ สวมพอดี นั้นเอง

hole-and-shaft-selection-002
ตารางแสดงรูปแบบงานสวมแบบรูเพลา(รูคว้าน)คงที่

วิธีที่ 2 ไม่ทราบว่าควรจะประกอบรูปแบบไหนจะเลือก พิกัดความเผื่อ อย่างไร

ขั้นตอนที่ 1 ดูช่อง Tolerance zone

เมื่อเราทราบว่าเราจะใช้ระบบรูเพลาคงที่ (hole basis system) ในการประกอบ ดังนั้นเราจะต้องดู Tolerance zone H7 เป็นหลัก

ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาหน้าที่ของเพลาเมื่อนำไปประกอบว่ามีหน้าที่อะไรในระบบ

พิจารณาหน้าที่การใช้งานของเพลาเมื่อนำไปประกอบกับรูเพลา นอกจากนี้ยังสามารถดูตัวอย่างการใช้งานเพิ่มเติมได้ตามตารางด้านล่าง

ขั้นตอนที่ 3 พิจารณารูปแบบการประกอบ

ซึ่งประกอบไปด้วยการ สวมเผื่อ (clearance fit) สวมพอดี (transition fit) และ สวมอัด (interference fit)

hole-and-shaft-selection-003
ตารางพิกัดความเผื่อ

ขั้นตอนที่ 4 เลือก Tolerance zone ของเพลา

เมื่อพิจารณาข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1-3 ครบถ้วนแล้ว Tolerance zone ที่เหมาะสมสำหรับงานออกแบบนี้ก็คือ “k6”

hole-and-shaft-selection-004
ตารางพิกัดความเผื่อ

จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความ ตัวอย่างการเลือกค่าพิกัดความเผื่อให้เหมาะสมกับงานออกแบบ ทางผู้เขียนหวังว่า เพื่อนๆ จะได้รับความรู้ถูกต้องครบถ้วนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานออกแบบของเพื่อน ๆ ได้ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าใจเกี่ยวกับเรื่องของระบบงานสวมมาฝากกันครับ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคำอ่าน
1มาตรฐาน基準きじゅんKi-jun
2ระบบรูเพลาคงที่ (hole basis system)穴基準あなきじゅんA-na-ki-jun
3ระบบเพลาคงที่ (shaft basis system)軸基準じくきじゅんJi-ku-ki-jun

ตาราง พิกัดความเผื่อ

sub cover banner

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 8

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

Learning guide
shaft-selection

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save