วิธีการเลือกใช้ตัวยึดเพลาแบบมาตรฐาน (Standard Shaft holder)
สารบัญ
ตัวยึดเพลา มีมากมายหลายรูปแบบ แต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป แล้วเราจะเลือกแบบไหนมาใช้กันดีล่ะ ในบทความนี้เราจะมาแนะนำตัวยึดเพลาแบบมาตรฐาน (Standard Shaft holder) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรม มา 4 รุ่นตามที่แสดงไว้ด้านล่างนะครับ
ตัวอย่าง ตัวยึดเพลา ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม
ชื่อเรียก | วิธีการยึดเพลา | คุณสมบัติ |
---|---|---|
รุ่นมาตรฐาน (Standard Type) | ยึดที่ตัวเพลาโดยตรงด้วยสกรูตัวหนอนหกเหลี่ยม | ・มีแรงในการยึดเพลาต่ำ ・ไม่เหมาะกับการควบคุมทิศทางหมุนหรือแรงตามแนวแกนที่ตัวเพลา ・ต้องเสียบเพลาเข้าจากด้านข้างเท่านั้น จึงเป็นข้อจำกัดที่สัมพันธ์กับการจัดวางร่วมกับชิ้นส่วนรอบข้างในการประกอบ/ซ่อมบำรุง |
แบบมีร่อง (Slit Type) (SHKSM) | ยึดเพลาโดยขันโบลท์ เข้าที่รูยึดโบลท์ด้านข้าง เพื่อบีบรูของเพลาให้แคบลง | ・มีแรงในการยึดเพลาสูง ・ต้องเสียบเพลาเข้าจากด้านข้างเท่านั้น จึงเป็นข้อจำกัดที่สัมพันธ์กับการจัดวางร่วมกับชิ้นส่วนรอบข้างในการประกอบ/ซ่อมบำรุง |
แบบมีร่องด้านข้าง (Side Slit Type) (SHKWM) | มีร่องด้านข้างของรูเพลา ยึดเพลาโดยขันโบลท์เข้าที่ร่องทั้งสองด้านของเพลา | ・ต้องเสียบเพลาเข้าจากด้านข้างเท่านั้น จึงเป็นข้อจำกัดที่สัมพันธ์กับการจัดวางร่วมกับชิ้นส่วนรอบข้างในการประกอบ/ซ่อมบำรุง ・ต่างกับแบบมีร่องด้านบนเฉพาะทิศทางในการขันโบลท์ยึดเพลาเท่านั้น แบบมีร่องด้านข้างสามารถขันแน่นโบลท์ทั้ง 3 ตัวได้จากด้านบน |
แบบแยกส่วน (Separate Type) (SHKPM) | มีการตัดแยกส่วนตรงรูเพลาหลังกระบวนการเจาะรู ยึดเพลาโดยขันแน่นโบลท์เข้าที่รูเพลาทั้งสองด้าน | ・การประกอบเพลาสามารถประกอบจากด้านบนหรือด้านข้างก็ได้จึงสะดวกในการซ่อมบำรุง ・มีจำนวนชิ้นส่วนเพิ่มมากขึ้นทำให้ขั้นตอนการทำงานซับซ้อนขึ้น |
จากตารางด้านบน จะเห็นได้ว่าตัวยึดเพลาแต่ละแบบ มีรูปทรงโดยพื้นฐานใกล้เคียงกัน แต่ว่าวิธีการเสียบ/ถอดเพลามีความแตกต่างกันซึ่งจะส่งผลกับขั้นตอนการประกอบหรือการซ่อมบำรุงเป็นอย่างมากเลยครับ
ตัวอย่างการใช้งาน ตัวยึดเพลา(Shaft holder)
รูปที่ 1 ตัวอย่างการติดตั้งตัวยึดเพลา แบบร่องด้านข้าง | รูปที่ 2 ตัวอย่างการใช้งาน ร่วมกับตัวยึดไมโครมิเตอร์ |
รูปที่ 3 ตัวอย่างการใช้งานตัวยึดเพลา แบบแยกส่วน | รูปที่ 4 ตัวอย่างการใช้งานตัวยึดเพลา รูปตัว T แบบมีร่อง |
จากรูปด้านบนทั้ง 4 รูปจะเป็นตัวอย่างการใช้งานนะครับ เพื่อนๆจะเห็นได้ว่านอกเหนือจากตัวยึดเพลารูปตัว L ข้างต้นแล้ว ยังมีทั้งตัวยึดเพลารูปตัว T และตัวยึดเพลาแบบติดตั้งด้านข้างอีกด้วย ทั้งนี้การเลือกใช้งานตัวยึดเพลาแต่ละชนิดจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน
สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นหลักเลยนะครับ ก็คือความสะดวกในการติดตั้งและซ่อมบำรุง โดยเราจำเป็นดูพื้นที่การติดตั้งให้ดี ไม่ใช่เพียงแค่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับตัวยึดเท่านั้น ต้องคิดเผื่อสำหรับขั้นตอนการนำเพลาเข้ามาสวม รวมไปถึงทิศทางและพื้นที่ของเครื่องมือที่ใช้ติดตั้งก็ต้องเพียงพออีกด้วย
ดังนั้นในตอนที่ออกแบบ นอกจากจะกำหนดพื้นที่ติดตั้งแล้ว ต้องวางแผนถึงลำดับและวิธีการประกอบด้วย ซึ่งมักจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับนักออกแบบมือใหม่ ที่ยังไม่คุ้นเคยกับกระบวนการประกอบเครื่องจักรนะครับ
อยากจะฝากเพื่อนๆ นักออกแบบมือใหม่ไว้นะครับว่า นอกจากจะวางตำแหน่งให้ลงตัวเคลื่อนที่ได้อย่างลื่นไหลแล้ว ควรจะลองไปดูการประกอบเองด้วย ถ้าได้ลองทำเองด้วยยิ่งดีครับ เพราะบางทีเราอาจจะคิดว่าเว้นพื้นที่ไว้หมดแล้วนี่ แต่ก็อาจจะลืมนึกถึงปัญหายิบย่อย เช่น การจัดระเบียบร่างกายหรือการเคลื่อนไหวของผู้ประกอบ, รอยเชื่อม, การเชื่อมต่อสายไฟ เป็นต้น
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
No. | คำศัพท์ | คันจิ | ฮิรางานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|---|
1 | ตัวยึดเพลา | – | – | シャフトホルダー | Sha-fu-to-ho-ru-dā |