Home » Technical » Pneumatic » ระบบนิวเมติกส์ (pneumatic system) คืออะไร

[เจาะลึก] ระบบนิวเมติกส์ (pneumatic system) คืออะไร

นิวเมติกส์ (pneumatic) คืออะไร

ระบบนิวเมติกส์ (pneumatic system) คือระบบที่ใช้การอัดอากาศส่งไปตามท่อที่ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร เพื่อทำให้เกิดพลังงานกลในการทำงานสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ระบบนิวเมติกส์ในปัจจุบันนั้นมีการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่ระบบกระบอกสูบลม มอเตอร์ลมอย่างง่าย ไปจนถึงการทำงานในเครื่องจักรขนาดใหญ่ ประกอบกับระบบ Automation เพื่อการทำงานแบบอัตโนมัติ

ระบบนิวเมติกได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีข้อดีที่โดดเด่นแตกต่างจากระบบไฟฟ้าและระบบไฮดรอลิกส์ ดังนี้

ข้อดีของระบบนิวเมติกส์

1.ความปลอดภัย

เมื่อเทียบกับระบบไฟฟ้าแล้ว ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดเคลื่อนไหวติดขัด จะทำให้เกิดความร้อนสะสม และอาจเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ได้

นอกจากนี้หากสายไฟชำรุด อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟดูด หรือไฟลัดวงจรได้ แต่สำหรับระบบนิวเมติกส์นั้น ถ้าหากสายชำรุดก็แค่มีลมรั่วออกมา จึงไม่เป็นอันตรายเท่าระบบไฟฟ้า

2.ความสะอาด

เมื่อเทียบกับระบบไฮดรอลิกส์ซึ่งใช้น้ำมันแล้วนั้น มักจะเกิดไอน้ำมันออกมา และเมื่อเกิดการรั่วไหลแล้ว พื้นที่บริเวณนั้นก็จะสกปรกมาก ในทางกลับกันในระบบนิวเมติกส์ หากเกิดการรั่วไหลก็จะมีแค่ลมออกมา ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความสกปรกบริเวณเครื่องจักร

โครงสร้างพื้นฐานของระบบนิวเมติกส์

ต่อไปนี้เป็นภาพตัวอย่างการใช้งานและส่วนประกอบต่าง ๆ ในโครงสร้างพื้นฐานของวงจรนิวเมติกส์ซึ่งใช้กระบอกลม【แผนภาพที่ 1】

what-is-pneumatic-system
ส่วนประกอบของวงจรนิวเมติกส์หน้าที่หลักชื่ออุปกรณ์
a) นิวเมติกส์แอคชูเอเตอร์อุปกรณ์สำหรับขับเคลื่อนเครื่องจักร หรือเครื่องจักรอัตโนมัติกระบอกสูบ
b) อุปกรณ์ควบคุมปริมาณการไหลของลมควบคุมความเร็วของกระบอกสูบวาล์วควบคุมความเร็ว,
วาล์วปีกผีเสื้อ, ฯลฯ
c) อุปกรณ์ควบคุมทิศทางการไหลของลมควบคุมทิศทางของลมในระบบโซลินอยด์วาล์ว,
วาล์วเปลี่ยนทิศทาง, ฯลฯ
d) อุปกรณ์ควบคุมแรงดันควบคุมแรงดันลมที่จะจ่ายให้นิวเมติกส์แอคชูเอเตอร์วาล์วลดแรงดัน,
วาล์วระบาย,
วาล์วเซฟตี้
e) ชุดกรองทำความสะอาดลมทำความสะอาดลมในระบบชุดกรองลม
f) แหล่งจ่ายลมจ่ายลมให้ระบบปั๊มลม
g) อุปกรณ์ระบบท่อท่อสำหรับแบ่งจ่ายลมในระบบท่อแป๊บ,
สายลม,
ข้อต่อ
h) อุปกรณ์เสริมการทำงานของวงจรนิวเมติกส์
ก) อุปกรณ์จ่ายน้ำมันหล่อลื่น
ข) สวิทช์แรงดัน
ค) ตัวเก็บเสียง
ก) จ่ายน้ำมันหล่อลื่นแบบฉีดเป็นฝอย
ข) มาตรการด้านความปลอดภัย
ค) ลดเสียงรบกวนจากท่อระบายอากาศ
ก) น้ำมันหล่อลื่น
ข) สวิทช์แรงดัน
ค) ตัวเก็บเสียง
what-is-pneumatic-system

          จากแผนภาพด้านบน จะเห็นได้ว่า โครงสร้างของระบบนิวเมติกส์ จะแบ่งเป็นสามส่วนหลัก ๆ คือ

ส่วนประกอบภายในระบบนิวเมติกส์

1. ส่วนเตรียมลม

ส่วนนี้เป็นส่วนต้นทางของระบบเลยนะครับ มีหน้าที่หลักๆคือการเตรียมลมที่ดีมีคุณภาพให้แก่ระบบ ประกอบไปด้วย ปั๊มลม(Air compressor) จะสร้างแรงดันลมให้ระบบ จากนั้นก็จะใช้ FRL unit เพื่อเตรียมคุณภาพของลมโดย F (Filter) หรือตัวกรองลม ทำหน้าที่กรองเศษฝุ่น สิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออกจากระบบ ถัดมาคือ R (Regulator) หรือตัวปรับแรงดันลม ทำหน้าที่ปรับแรงดันให้เหมาะสมกับที่ระบบต้องการ ส่วนสุดท้ายคือ L (Lubricator) หรือหัวจ่ายละอองน้ำมัน เนื่องจากอุปกรณ์นิวเมติกส์ทั้งหมดเป็นแบบกลไก หากไม่มีน้ำมันหล่อเลี้ยงเลย ก็อาจจะทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายจากการเสียดสีได้

2. ส่วนควบคุมการไหลของลม

ส่วนนี้จะทำหน้าที่ควบคุมทิศทาง และอัตราการไหลของลมในระบบ ไม่ว่าจะเป็นโซลินอยด์วาล์ว(Solenoid valve) ที่ใช้สัญญานไฟฟ้าควบคุมการเปิดปิด และทิศทางการไหลของลม, เช็ควาล์ว(Check valve) จะคอยกันไม่ให้ลมไหลย้อนกลับ รวมไปถึงสปีดคอนโทรลเลอร์(Speed controller) ที่ทำหน้าที่ปรับอัตราการไหลของลม มักจะใช้เพื่อปรับความเร็วในการเคลื่อนที่ของแอคชูเอเตอร์ เป็นต้น

3. ส่วนนิวเมติกแอคชูเอเตอร์

ส่วนนี้จะเป็นอุปกรณ์ที่เปรียบได้กับเอาท์พุตของระบบ โดยเปลี่ยนแรงดันลมเป็นการเคลื่อนที่เชิงกล เช่น การยืด-หดของกระบอกสูบ (Air cylinder), การจับ-ปล่อยของมือจับ (Air gripper) และ การหมุนของสว่านลม (Pneumatic drills) เป็นต้น

ปัจจัยในการขับเคลื่อนของนิวเมติกส์แอคชูเอเตอร์

  • 1. ทิศทางขับเคลื่อน → การเดินหน้าหรือถอยหลัง, การหมุนตามหรือทวนเข็มนาฬิกา, แบบแกว่ง
  • 2. ความเร็วในการเคลื่อนที่
  • 3. ขนาดของแรงขับเคลื่อน

ปัจจัยทั้ง 3 สิ่งนี้ถูกควบคุมโดยแรงอากาศซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานของหัวขับวาล์วลม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้งานร่วมกับวงจรนิวเมติกส์

  • รูปตัวอย่างการใช้งานของระบบนิวเมติกส์
what-is-pneumatic-system

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคำอ่าน
1นิวเมติกส์ (pneumatic)   空気圧くうきあつKū ki a tsu
2แรงดัน圧力あつりょくA tsu ryo ku

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.8 / 5. คะแนนโหวต: 21

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Jullakarn (Ham) Ittirattana
ทำงานในแผนก New Business Development ของมิซูมิ จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิคส์จาก KMITL และปริญญาโทสาขา Intelligent mechanical system จาก Fukuoka institute of technology ประเทศญี่ปุ่น มีประสบการณ์หลายปี ในการทำงานออกแบบเครื่องจักรที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีความสนใจในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า pneumatic เพิ่มเติมได้ที่นี่
Learning guide
No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง