Home » Technical » Mechanical » สายพาน ในโรงงานอุตสาหกรรม

รู้จัก “สายพาน” แต่ละชนิด พร้อมตัวตัวอย่างการติดตั้ง

การส่งกำลังจากเพลาหนึ่งไปยังอีกเพลาหนึ่งมีวิธีการมากมาย เช่น การส่งกำลังผ่านเฟืองขบกัน การส่งกำลังด้วยโซ่ และ การส่งกำลังด้วย สายพาน โดยในบทความนี้เราจะมาดูข้อดีและข้อเสียของการส่งกำลังแบบสายพานกันครับ

type-of-belt
รูปแสดง ตำแหน่งของสายพาน (Belt) และพูลเล่ย์ (Sprocket)

ข้อดีและข้อเสีย ของการใช้งานสายพาน

ข้อดี 

  • ราคาถูก ใช้งานง่าย รับแรงสั่นสะเทือนได้ เสียงไม่ดัง เมื่อเทียบกับการส่งกำลังแบบฟันเฟือง 
  • เหมาะสำหรับการส่งกำลังระหว่างเพลา ที่มีระยะห่างระหว่างเพลามาก ๆ 

ข้อเสีย

  • อัตราทดไม่แน่นอน
  • จำเป็นปรับระยะแรงดึงในสายพานหรือระยะห่างระหว่างเพลา เมื่อมีการใช้งานไปเป็นระยะเวลานาน

สายพานแต่ละชนิดที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม

สายพานแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจากรูปร่างหน้าตัดของสายพาน

1.สายพานแบน (Flat belts)

สายพานแบน มีหน้าตัดของสายพานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นสายพานที่นิยมใช้กันมากในการส่งกำลังจากพูลเลย์ของเพลาขับไปยังพูลเลย์ของเพลาตาม ตัวอย่างการใช้งาน เช่น flat belt conveyor

type-of-belt
สายพานแบน (Flat belts)
type-of-belt
สายพานลำเลียง (conveyor belt)

2.สายพานวี หรือ สายพานลิ่ม (V-belts)

สายพานวีหรือสายพานลิ่ม มีหน้าตัดของสายพานเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู นิยมใช้กับการส่งกำลังในเครื่องจักรอุตสาหกรรม เช่น  สายพานของเครื่องกลึง

type-of-belt


3.สายพานกลม (rope belts)

สายพานกลม มีหน้าตัดของสายพานเป็นรูปวงกลมมีด้วยกัน 2 แบบ คือวงกลมตันและวงแหวน ส่วนใหญ่ทำมากจากพลาสติกโพลียูริเทน (Polyurethane) สามารถทนต่อ จารบี น้ำมัน และน้ำได้ อีกทั้งใช้งานไม่เกิดเสียงดังอีกด้วย มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบวง (seamless) และ แบบเส้น (open end)

type-of-belt
สายพานกลมแบบวง (rope belt seamless)
type-of-belt
สายพานกลมแบบเส้น (rope beltopen end)


4.สายพานไทม์มิ่ง (timing belt)

สายพานไทม์มิ่ง มีหน้าตัดของสายพานเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู แต่จะมีร่องคล้ายกับฟันเฟืองตลอดความยาวของสายพาน สายพานชนิดนี้สามารถงอตัวได้ดี และไม่เกิดเสียงดังในขณะใช้งาน 

type-of-belt
สายพานไทม์มิ่งแบบวงปิด
(timing belt closed end)
type-of-belt
สายพานไทม์มิ่งแบบเส้น
(timing belt opened end)

รูปแบบการติดตั้ง สายพาน (Type of belt drive)

รูปแบบการขับเคลื่อนด้วยสายพานที่นิยมใช้ในการออกแบบเครื่องจักรอุตสาหกรรม มีด้วยกัน 5 รูปแบบ ดังนี้

1. การติดตั้งสายพานแบบ Open belt drive

เป็นการขับเคลื่อนสายพานที่ใช้เมื่อเพลาอยู่ในระดับเดียวกัน และต้องการให้เพลาทั้งสองนั้นหมุนไปในทิศทางเดียวกัน

type-of-belt
ตัวอย่างการติดตั้งสายพานแบบ Open belt drive

2. การติดตั้งสายพานแบบ Crossed belt drive

เป็นการขับเคลื่อนสายพานที่ใช้เมื่อ เพลาอยู่ในระดับเดียวกัน และต้องการให้เพลาทั้งสองนั้นหมุนในทิศทางสวนกัน เหมาะสำหรับการส่งกำลังที่ไม่ต้องการความเร็วรอบสูง

ข้อควรระวัง จุดที่สายพานไขว้กันมีโอกาสที่จะเกิดการเสียดสีกันเอง ทำให้อายุการใช้งานสั้นลงอันเนื่องมาจากการสึกหรอ

type-of-belt
ตัวอย่างการติดตั้งสายพานแบบ Crossed belt drive

3. การติดตั้งสายพานแบบ Quarter turn belt drive

ใช้เมื่อเพลาทั้งสองตั้งฉากกัน และเพื่อป้องกันไม่ให้สายพานหลุดออกจากล้อสายพานในขณะใช้งาน จึงต้องใช้ล้อสายพานที่กว้างมากพอ

type-of-belt
ตัวอย่างการติดตั้งสายพานแบบ Quarter turn belt drive

4. การติดตั้งสายพานแบบ Step pulley หรือ Cone pulley belt drive

การขับของสายพานรูปแบบนี้ จะเห็นได้ว่าตัวพูลเล่ย์มีลักษณะเป็นชั้นๆ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่างกันในแต่ละชั้น ซึ่งส่งผลให้สามารถปรับความเร็วรอบในการใช้งานได้ โดยวิธีการใช้งานนั้นจะติดตั้งสายพานให้อยู่ระดับเดียวกัน นิยมใช้กับการส่งกำลังให้กับเครื่องจักรที่ต้องมีการปรับความเร็วรอบ ตัวอย่างเช่น เครื่องกลึง (lathe machine) ,เครื่องกัด (milling machine) เป็นต้น

type-of-belt
การติดตั้งสายพานแบบ Step pulley หรือ Cone pulley belt drive

5. การติดตั้งสายพานแบบ Jockey pulley belt drive

ในกรณีที่ไม่สามารถติดตั้งสายพานในรูปแบบ open belt drive ได้เพราะมุมสัมผัส (contact angle) บนล้อพูลเล่ย์มีขนาดเล็กเกินไปจนเกินไปจึงจำเป็นต้องใช้ Idler หรือ Jockey pulley เพื่อช่วยเพิ่มมุมสัมผัสให้มากขึ้น ส่งผลให้สามารถส่งกำลังได้มากยิ่งขึ้น

type-of-belt
การติดตั้งสายพานแบบ Jockey pulley belt drive

สายพานแต่ละชนิดมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนี้รูปแบบการติดตั้งสายพาน ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ที่ต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน หากเพื่อนๆ ออกแบบเครื่องจักรที่ต้องมีการปรับความเร็วรอบในการส่งกำลัง เพื่อนๆ สามารถที่จะติดตั้งในรูปแบบ Step pulley หรือ cone pulley belt drive ได้ เป็นต้น

จบกันไปแล้วนะครับสำหรับ บทความเรื่องของสายพานส่งกำลังในอุตสาหกรรม พร้อมตัวอย่างการติดตั้งสายพานรูปแบบต่างๆ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ 

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคำอ่าน
1สายพาน (Belt)ベルトBe-ru-to

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.3 / 5. คะแนนโหวต: 6

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า สายพาน (Belt) เพิ่มเติมได้ที่นี่
Related Content

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง