Home » Technical » Industrial Standard » แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) ใช้งานอย่างไร

การวิเคราะห์ปัญหาด้วย แผนภูมิก้างปลา ทำอย่างไร

ในบทความที่แล้ว เพื่อนๆ ได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ปัญหาด้วยเครื่องมือ 5 Whys Analysis กันไปแล้ว จะเห็นได้ว่ามันมีข้อดีในเรื่องของการเจาะลึกลงไปหารากของปัญหาได้มาก แต่หากเราต้องเผชิญกับเครื่องจักรที่มีมากกว่า 1 ปัญหาล่ะ…เราจะทำยังไงให้สามารถวิเคราะห์ได้อย่างครอบคลุม และสามารถเลือกปัญหามาทำการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงเครื่องมือวิเคราะห์อีกตัว นั่นก็คือ แผนภูมิก้างปลา หรือ Fishbone Diagram ที่จะมาช่วยให้เพื่อนๆ สามารถรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ครับ

เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาการ breakdown
เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาการ breakdown

แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) คืออะไร

แผนภูมิก้างปลา หรือ Fishbone Diagram ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ปัญหา ที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักรได้เป็นอย่างดี โดยแผนภูมิก้างปลานั้นมีจุดเด่นต่างจากเครื่องมืออันอื่นๆ ในเรื่องของการช่วยให้เราสามารถเห็นองค์ประกอบของปัญหาได้จากหลากหลายปัจจัยรอบด้าน

โดยปกติในเชิงการผลิตแล้ว เราจะมีการแตกแขนง แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) ออกเป็น 6 ขาหลักๆ ประกอบด้วย

  1. Machine ปัญหาด้านเครื่องจักร – ซึ่งหมายความถึง ความพร้อมของเครื่องมือ/เครื่องจักรในการทำงาน
  2. Man ปัญหาด้านกำลังคน – ซึ่งอาจจะรวมทั้งเรื่องของจำนวนคนที่เหมาะสมกับงาน ไปจนถึงทักษะในการทำงาน
  3. Material ปัญหาด้านวัสดุ – ซึ่งวัสดุในที่นี้ หมายถึง วัสดุที่มีการป้อนเข้าไปในเครื่องจักรเพื่อให้เกิดออกมาเป็น ผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หมายถึงอะไหล่หรืออุปกรณ์แต่อย่างใด
  4. Method ปัญหาด้านกระบวนการทำงาน – เช่น Process Flow ของไลน์การผลิต, ขั้นตอนในการเบิกอะไหล่
  5. Measurement ปัญหาด้านสอบเทียบวัด – เช่น มีการสอบเทียบเครื่องมือวัดอย่างเป็นประจำหรือไม่, เครื่องมือหรืออุปกรณ์มีความแม่นยำอยู่ในช่วงที่สามารถใช้งานได้หรือไม่
  6. Environment ปัญหาจากสภาพแวดล้อม – เช่น ความร้อนสูง/ความชื้นสูง, แสงสว่างน้อยเกินไป/มากเกินไป เป็นต้น
ตัวอย่าง  แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram)
ตัวอย่าง แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram)

ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาด้วยการใช้ Fishbone Diagram หรือ 5M1E

เรามีตัวอย่างของกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาด้วยการใช้แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) มาให้เพื่อนๆ ได้ดูกันครับ จะเห็นได้ว่า เราสามารถมองเห็นสาเหตุของปัญหาได้จากหลากหลายประเด็นมากขึ้น ซึ่งบางขาก็มีมากกว่า 1 สาเหตุ ในขณะที่บางขาอาจจะไม่มีก็ได้ ซึ่งด้วยลักษณะของการแยกเป็น 6 ขานี้ ทำให้แผนภูมิก้างปลามีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “การวิเคราะห์ปัญหาด้วยหลักการ 5M1E” ก็ได้

ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาด้วยการใช้ Fishbone Diagram หรือ 5M1E
ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาด้วยการใช้ Fishbone Diagram หรือ 5M1E

ตัวอย่างการใช้งาน Fishbone Diagram ตรวจสอบปัญหาของเครื่องจักร

แต่ในเชิงของทีมงานซ่อมนั้น เราไม่ได้สนใจในเรื่องของในเรื่องของ สภาพแวดล้อม (Environment) หรือ วัสดุ (Material) หรืออันอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องแบบในเชิงของการผลิต แต่เรามักจะแยกก้างปลาออกตามมาตรฐานการตรวจสอบปัญหาเครื่องจักร ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 6 ขาหลักๆ นั่นคือ

ตัวอย่างการใช้งาน Fishbone Diagram ตรวจสอบปัญหาของเครื่องจักร
ตัวอย่างการใช้งาน Fishbone Diagram ตรวจสอบปัญหาของเครื่องจักร
  1. ระบบไฮดรอลิก (Hydraulic) เช่น มีน้ำหรือของเหลวอื่นปะปน, ความดันน้ำมันไฮดรอลิกลดลง เป็นต้น
  2. ระบบนิวเมติกส์ (Pneumatic) เช่น แรงดันภายในระบบตก, มีน้ำผสมอยู่ในระบบลมอัด เป็นต้น
  3. ระบบส่งกำลัง (Transmission) เช่น พูลเล่ย์สึก, สายพานหย่อน เป็นต้น
  4. การหล่อลื่น (Lubrication) เช่น อัดจาระบีไม่ได้ตามสเปคที่กำหนดไว้, ใช้จาระบีหรือสารหล่อลื่นไม่เหมาะสมกับงาน
  5. ระบบไฟฟ้า (Electric) เช่น ต่อสายไฟสลับกันส่งผลให้มอเตอร์หมุนกลับทิศทาง, ไฟกระชาก, สายไฟไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เป็นต้น
  6. การขันแน่น (Tightening) เช่น การขัดอัดแน่นจนเกินไป, การขันยึดโดยลืมใส่น้ำยาล็อคเกลียวในงานเฉพาะทาง เป็นต้น

ซึ่งหลักการสำหรับวิเคราะห์ปัญหาการชำรุดที่เกิดขึ้นนี้ ก็สามารถใช้หลักการแบบเดียวกับการวิเคราะห์ปัญหาของกระบวนการผลิต จึงทำให้ แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) นั้นเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถเห็นสาเหตุของปัญหาได้อย่างครอบคลุมที่สุด แต่กระนั้นมันก็ยังมีความยาก หากข้อมูลในบางส่วนขาดตกบกพร่อง ก็จะทำให้การแก้ปัญหาทำได้ไม่ครอบคลุม

ก็จบไปกันแล้วนะครับสำหรับเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา Breakdown ตัวที่ 2 Fishbone Diagram เป็นยังไงบ้าง…ทีนี้ต่อให้มีปัญหาเครื่องจักรเข้ามามากกว่าหนึ่งอย่าง เพื่อนๆก็สามารถเลือกได้แล้วว่า ควรแก้ปัญหาไหนก่อนเพื่อให้สามารถลดการเสียเวลาได้มากที่สุด

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.7 / 5. คะแนนโหวต: 3

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Technical Center Team

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) เพิ่มเติมได้ที่นี่
No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง