Home » Technical » Mechanical » สัญลักษณ์พื้นฐานที่ควรรู้ในงานเชื่อมโลหะ

สัญลักษณ์ในงานเชื่อมคืออะไร

สัญลักษณ์ในงานเชื่อม (Weld Symbols) คือสัญลักษณ์ที่ใช้เพื่อสื่อสารระหว่างฝ่ายออกแบบกับฝ่ายผลิตที่เกี่ยวข้องกับงานเชื่อมให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันตามมาตรฐานที่กำหนด โดยมาตรฐานของสัญลักษณ์งานเชื่อมที่นิยมใช้มากที่สุดคือ มาตรฐานสากล (ISO : International Standardization Organization) และมาตรฐานอเมริกา (AWS : American Welding Stardard) ซึ่งในบทความนี้เราจะอ้างอิงมาตรฐาน ISO เป็นหลัก

ส่วนประกอบของสัญลักษณ์งานเชื่อมมีอะไรบ้าง

สัญลักษณ์ในงานเชื่อมเกิดจากการรวมกันของรายละเอียดต่างๆที่ต้องระบุให้ครบถ้วนชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเชื่อมสามารถเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของสัญลักษณ์ที่ระบุมาในแบบได้อย่างถูกต้อง สัญลักษณ์งานเชื่อมมีส่วนประกอบดังนี้

  1. เส้นหัวลูกศร จะชี้ไปยังจุดที่ต้องการทำการเชื่อม หัวลูกศรสามารถหันได้ทั้งด้านขวา ด้านซ้าย ด้านบนหรือด้านล่าง และเส้นลูกศรจะทำมุม 60 องศากับเส้นแนวราบของตำแหน่งที่ชี้
สัญลักษณ์งานเชื่อมเส้นหัวลูกศร
สัญลักษณ์งานเชื่อมเส้นหัวลูกศร

2. เส้นอ้างอิงต่อเนื่อง คือเส้นที่เชื่อมต่อกับเส้นหัวลูกศรเขียนขนานกับแบบงานใช้เพื่อวางตำแหน่งของสัญลักษณ์แนวเชื่อม โดยถ้าต้องการเชื่อมด้านเดียวกับหัวลูกศรชี้จะเขียนสัญลักษณ์แนวเชื่อมติดกับเส้นอ้างอิงต่อเนื่องอาจอยู่ด้านบนหรือด้านล่างของเส้น ในกรณีที่เชื่อมทั้ง 2 ด้าน จะเขียนสัญลักษณ์แนวเชื่อมติดกับเส้นอ้างอิงต่อเนื่องทั้งบนและล่าง

สัญลักษณ์งานเชื่อมเส้นอ้างอิงต่อเนื่อง
สัญลักษณ์งานเชื่อมเส้นอ้างอิงต่อเนื่อง

3. เส้นอ้างอิงเส้นประ จะเขียนให้ขนานกับเส้นอ้างอิงต่อเนื่อง สามารถอยู่ได้ทั้งด้านบนและด้านล่าง ใช้เพื่อวางตำแหน่งของสัญลักษณ์แนวเชื่อม โดยถ้าต้องการเชื่อมด้านตรงข้ามกับหัวลูกศรชี้จะเขียนสัญลักษณ์แนวเชื่อมติดกับเส้นอ้างอิงเส้นประอาจอยู่ด้านบนหรือด้านล่างของเส้น

สัญลักษณ์งานเชื่อมเส้นอ้างอิงเส้นประ
สัญลักษณ์งานเชื่อมเส้นอ้างอิงเส้นประ

4. สัญลักษณ์แนวเชื่อม คือส่วนที่บอกถึงลักษณะของงานเชื่อมที่ต้องการจะกำหนด โดยรูปแบบของสัญลักษณ์ส่วนใหญ่จะอ้างอิงมาจากรูปร่างของรอยเชื่อมจริงที่เกิดขึ้น เช่นการเชื่อมมุมฉาก การเชื่อมบากร่องวี การเชื่อมแบบสล็อต หรือการเชื่อมต่อชนไม่บาก เป็นต้น

สัญลักษณ์แนวเชื่อมต่างๆ

5. ส่วนหาง เป็นส่วนที่ใช้บอกรายละเอียดเพิ่มเติมของงานเชื่อม เช่น กระบวนการเชื่อม ข้อมูลลวดเชื่อม หรือทิศทางในการเชื่อม เป็นต้น โดยส่วนหางนี้อาจจะมีหรือไม่ก็ได้

สัญลักษณ์งานเชื่อมส่วนหาง
สัญลักษณ์งานเชื่อมส่วนหาง

ทำความรู้จักรูปแบบของสัญลักษณ์แนวเชื่อม

สัญลักษณ์ในงานเชื่อมตามมาตรฐาน ISO 2553 : 1992(E) จะกำหนดลักษณะแนวเชื่อมรูปแบบต่างๆไว้เพื่อใช้ระบุลงไปในการเขียนแบบ ผู้ออกแบบจะต้องเลือกใช้สัญลักษณ์งานเชื่อมให้ถูกต้องและเหมาะสมกับชิ้นงานที่ต้องการจะเชื่อม โดยรูปแบบของสัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้กันทั่วไปมีได้ดังนี้

1. การเชื่อมต่อชนไม่บาก (Square Butt Weld)

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนไม่บาก
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนไม่บาก

2. การเชื่อมต่อชนบากร่องตัววีด้านเดียว (Single-V Butt Weld)

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนบากร่องวีด้านเดียว
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนบากร่องวีด้านเดียว

3. การเชื่อมต่อชนบากร่องตัววีสองด้าน (Double-V Butt Weld)

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนบากร่องวีสองด้าน
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนบากร่องวีสองด้าน

4. การเชื่อมต่อชนบากร่องเอียงด้านเดียว (Single-Bevel Butt Weld )

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนบากร่องเอียงด้านเดียว
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนบากร่องเอียงด้านเดียว

5. การเชื่อมต่อชนบากร่องเอียงด้านเดียวหน้าประชิดกว้าง (Single-Bevel Butt Weld With Broad Root Face )

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนบากร่องเอียงด้านเดียวหน้าประชิดกว้าง
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนบากร่องเอียงด้านเดียวหน้าประชิดกว้าง

6. การเชื่อมต่อชนบากร่องตัวยูด้านเดียว (Single-U Butt Weld)

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนบากร่องตัวยูด้านเดียว
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนบากร่องตัวยูด้านเดียว

7. การเชื่อมต่อชนบากร่องตัวเจด้านเดียว (Single-J Butt Weld)

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนบากร่องตัวเจด้านเดียว
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนบากร่องตัวเจด้านเดียว

8. การเชื่อมต่อชนขอบหน้าแปลน (Edge Weld on a Flanged Butt Joint )

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนขอบหน้าแปลน
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อชนขอบหน้าแปลน

9. การเชื่อมต่อฉาก (Fillet Weld )

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อฉาก
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมต่อฉาก

10. การเชื่อมสล็อต (Slot Weld )

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมสล็อต
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ของการเชื่อมสล็อต

สัญลักษณ์เพิ่มเติม ( Supplementary Symbols)

คือสัญลักษณ์ที่ใช้บอกรายละเอียดที่ผู้เขียนแบบต้องการเพิ่มเติม ส่วนใหญ่จะวางด้านบนสัญลักษณ์แนวเชื่อมพื้นฐาน นอกจากนี้ยังมีการใช้ตัวอักษรเพื่อแสดงถึงการตกแต่งผิวแนวเชื่อมให้สวยงามหรือเพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานอื่นๆจะวางไว้บนสัญลักษณ์เพิ่มเติมอีกที วิธีการแต่งผิวมีได้หลายแบบเช่น

  • การเจียร (Grinding : G)
  • การปาดผิวด้วยเครื่องจักร (Machining : M)
  • การสกัด (Chipping : C)
  • การใช้ค้อนทุบ (Hammering : H)

ตัวอย่างสัญลักษณ์เพิ่มเติมมีดังนี้

ผิวแนวเชื่อมเรียบ (Flat)

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ผิวแนวเชื่อมเรียบ
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ผิวแนวเชื่อมเรียบ

ผิวแนวเชื่อมโค้งนูน (Convex)

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ผิวแนวเชื่อมโค้งนูน
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ผิวแนวเชื่อมโค้งนูน

ผิวแนวเชื่อมโค้งเว้า (Concave)

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ผิวแนวเชื่อมโค้งเว้า
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์ผิวแนวเชื่อมโค้งเว้า

เชื่อมรอบชิ้นงาน (Weld All Around)

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์การเชื่อมรอบชิ้นงาน
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์การเชื่อมรอบชิ้นงาน

การเชื่อมหน้างานหรือเชื่อมสนาม (Field Weld )

ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์การเชื่อมหน้างาน
ลักษณะรอยเชื่อมและการใช้สัญลักษณ์การเชื่อมหน้างาน

การกำหนดขนาดรอยเชื่อม

การกำหนดขนาดแนวเชื่อมคือการบอกค่าขนาดต่างๆของแนวเชื่อม สำหรับมาตรฐาน ISO ค่าตัวเลขจะมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรและจะใช้ตัวอักษรเป็นตัวกำหนดตำแหน่งขนาดของแนวเชื่อมในแต่ละรูปแบบ ดังนี้

  • a = ระยะลึกของสามเหลี่ยมหรือระยะโทรต (Throat)ของแนวเชื่อมต่อฉาก (Fillet Weld)
  • z = ระยะขา (Leg) ของแนวเชื่อมต่อฉาก (Fillet Weld) : z=a√2
  • s = ระยะความลึกจากผิวชิ้นงานถึงด้านล่างแนวเชื่อม
  • c = ความกว้างแนวเชื่อมตะเข็บ (Seam Weld ) และแนวเชื่อมสล็อต (Slot Weld)
  • d = ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรอยเชื่อมอุดรู (Plug Weld) และรอยเชื่อมจุด (Spot Weld)
  • e = ระยะเว้นของแนวเชื่อม (pitch)
  • l = ความยาวแนวเชื่อม (Length)
  • n = จำนวนแนวเชื่อม (Number of Welds)

หลักในการเขียนสัญลักษณ์ คือ ขนาดหรือความลึกแนวเชื่อมจะเขียนไว้ด้านซ้ายของสัญลักษณ์แนวเชื่อม ส่วนความยาว ระยะห่าง และจำนวนแนวเชื่อมจะเขียนไว้ด้านขวาของสัญลักษณ์แนวเชื่อมและถ้าด้านขวาไม่มีการระบุใดๆหมายถึงการเป็นเชื่อมต่อเนื่องตลอดความยาวชิ้นงาน

การกำหนดขนาดแนวเชื่อมแบบต่างๆ

การเชื่อมต่อฉาก (Fillet Welding)

  • การเชื่อมต่อฉาก สามารถกำหนดขนาดได้ 2 วิธี คือ การบอกระยะโทรต (a) และการบอกระยะขา (z) ดังนั้นการบอกขนาดแนวเชื่อมต่อฉากจำเป็นต้องใส่วิธีการที่ต้องการจะบอกระยะไว้ด้วย เช่น a7 หรือ z5 และ
  • การเชื่อมเป็นช่วงๆ รูปแบบการเขียนคือ สัญลักษณ์แนวเชื่อมฉากตามด้วย  n x l(e)
  • การเชื่อมเป็นช่วงๆ 2 ด้านแนวเชื่อมสลับกัน รูปแบบการเขียนคือ ลัญษณ์แนวเชื่อมฉาก ตามด้วย เส้นแสดงการสลับและ n x l(e) ทั้งด้านบนและล่างเส้นอ้างอิงต่อเนื่อง
การกำหนดขนาดการเชื่อมต่อฉาก
การกำหนดขนาดการเชื่อมต่อฉาก

การเชื่อมต่อชน (Butt Welding)

  • การเชื่อมต่อชนมีหลายแบบแต่จะใช้การบอกขนาดด้วยระยะความลึกจากผิวชิ้นงานถึงด้านล่างแนวเชื่อม (s)
  • การเชื่อมต่อเนื่องแบบเชื่อมยาวตลอดแนวจะไม่ระบุค่าใดๆหลังสัญลักษณ์แนวเชื่อมหรือเชื่อมตามความยาวที่กำหนดจะใช้เป็นค่า (l)
  • การเชื่อมเป็นช่วงๆ รูปแบบการเขียนคือ สัญลักษณ์แนวเชื่อมตามด้วย  n x l(e)
การกำหนดขนาดการเชื่อมต่อชน
การกำหนดขนาดการเชื่อมต่อชน

การเชื่อมสล็อต (Slot Welding) และการเชื่อมตะเข็บ (Seam Welding)

  • กำหนดขนาดแนวเชื่อมโดยค่าความกว้างของแนวเชื่อม (c)   
  • การเชื่อมต่อเนื่องแบบเชื่อมยาวตลอดแนวจะไม่ระบุค่าใดๆหลังสัญลักษณ์แนวเชื่อมหรือเชื่อมตามความยาวที่กำหนดจะใช้เป็นค่า (l)
  • การเชื่อมเป็นช่วงๆ รูปแบบการเขียนคือ สัญลักษณ์แนวเชื่อมสล็อตหรือตะเข็บตามด้วย n x l(e)
การกำหนดขนาดการเชื่อมสล็อตและการเชื่อมตะเข็บ
การกำหนดขนาดการเชื่อมสล็อตและการเชื่อมตะเข็บ

การเชื่อมอุดรู (Plug Welding) และการเชื่อมจุด (Spot Welding)

  • กำหนดขนาดแนวเชื่อมโดยค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของรูเจาะหรือเส้นผ่านศูนย์กลางของรอยเชื่อมจุด (d)
  • การเชื่อมเป็นช่วงๆ รูปแบบการเขียนคือ สัญลักษณ์แนวเชื่อมอุดรูหรือแนวเชื่อมจุดตามด้วย n x (e)
การกำหนดขนาดการเชื่อมอุดรูและการเชื่อมจุด
การกำหนดขนาดการเชื่อมอุดรูและการเชื่อมจุด

จบไปแล้วน่ะครับสำหรับความรู้เรื่องสัญลักษณ์พื้นฐานที่ควรรู้ในงานเชื่อมโลหะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆที่สนใจในงานเขียนแบบหรืออ่านแบบที่มีงานเชื่อมมาเกี่ยวข้อง

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 1

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Technical Center Team

ค้นหารายการสินค้า​

No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง