Home » Technical » How to use » ขนาดรูเจาะที่เหมาะสมสำหรับการต๊าปเกลียว

ขนาดรูเจาะที่เหมาะสมสำหรับการต๊าปเกลียว

เคยสงสัยกันไหมครับ ว่าขนาดรูเจาะต๊าปเกลียวสำคัญอย่างไรในการทำงาน เจาะรูเล็กไปจะใช้ได้ไหม แล้วถ้าเจาะรูใหญ่ไปจะเกิดอะไรขึ้น เรามาหาคำตอบได้ในบทความนี้กันครับ

tap-hole-size

ขนาดของรูเจาะต๊าปเกลียวมีความสำคัญแค่ไหน?

ขนาดของรูเจาะที่เตรียมไว้ก่อนทำการต๊าปเกลียว มีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากเพื่อน ๆ เจาะรูที่มีขนาดใหญ่จนเกินไป จะส่งผลให้เกลียวที่ได้มีฟันเกลียวที่ตื้น ซึ่งส่งผลให้เกลียวที่ได้ไม่มีความแข็งแรง ถ้าหากเพื่อนๆ เจาะรูที่มีขนาดเล็กเกินไป เพื่อนๆ จะต้องใช้แรงบิดมากขึ้น เพื่อทำการต๊าปเกลียว ซึ่งอาจทำให้ดอกต๊าปเกลียวหักได้

tap-hole-size
tap-hole-size

วิธีการหาขนาดของรูเจาะที่เหมาะสมสำหรับการต๊าปเกลียวแต่ละชนิด

เกลียวแต่ละชนิดต่างมีขนาดของรูเจาะที่ต้องเตรียมแตกต่างกันออกไป แล้ววิธีการหาขนาดของรูเจาะสำหรับเกลียวแต่ละชนิด มีวิธีการไหนบ้างนะ

  • 1.    เปิดตารางแคตตาล็อกสินค้าดูว่าควรเจาะรูขนาดไหน
  • 2.    การคำนวณ

ในบทความนี้เราจะมาสอนทั้งสองวิธีการใช้งานกันครับ

1.เปิดตารางแคตตาล็อกสินค้าดูว่าควรเจาะรูขนาดเท่าไหร่

ในบางครั้งผู้ผลิตได้แนะนำ ขนาดรูเจาะที่เหมาะสมไว้ในหน้าเดียวกับผลิตภัณฑ์ดังรูป หากไม่พบสามารถค้นหาได้เพิ่มเติมได้จาก Internet หรือสามารถใช้วิธีการคำนวณรูเจาะได้ตามวิธีด้านล่าง  เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลด “ตารางต๊าปเกลียว” ได้ที่นี่

tap hole size
ตารางสำหรับ กำหนดขนาดรูเจาะก่อนการต๊าปเกลียว

ตารางแสดง ขนาดรูเจาะก่อนการต๊าปเกลียว

table-of-hole-size

2.การคำนวณรูเจาะสำหรับการต๊าปเกลียว

การคำนวณขนาดของรูเจาะสามารถทำได้ดังนี้

2.1 การคำนวณรูเจาะสำหรับ เกลียวเมตริก (Metric)

สามารถหาได้จากสูตร

ขนาดของรูเจาะทำเกลียว = เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของเกลียว – ระยะพิตซ์ (pitch)

ตัวอย่างเช่น : ต้องการต๊าปเกลียวขนาด M8 x 1.0 ต้องใช้ดอกสว่านเจาะรูขนาดเท่าไหร่ ?

ก่อนจะเริ่มการคำนวณ เรามาดูความหมายของตัวเลขแต่ละชุดกันก่อนครับ

tap-hole-size
ตัวเลขความหมาย
M8ขนาดของเกลียวในหน่วยเมตริก(Metric)
1.0ระยะพิตซ์ (pitch)

แทนค่าสูตร

ขนาดของรูเจาะทำเกลียว =  8.0 -1.0 = 7.0 mm.

ดังนั้นรูเจาะที่เหมาะสมสำหรับ การต๊าปเกลียวขนาด M8 x 1.0 ต้องใช้ดอกสว่านเจาะรูขนาด 7 mm.

2.2 การคำนวณรูเจาะสำหรับ เกลียวอเมริกัน (Unified National Coarse (UNC))

สามารถหาได้จากสูตร

ขนาดของรูเจาะทำเกลียว = เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของเกลียว – ระยะพิตซ์ (pitch)

ระยะพิตซ์ (pitch)  = (1/จำนวนเกลียวต่อนิ้ว)

ตัวอย่างเช่น : ต้องการต๊าปเกลียวขนาด 5/8”- 11 UNC ต้องใช้ดอกสว่านเจาะรูขนาดเท่าไหร่ ?

ก่อนจะเริ่มการคำนวณ เรามาดูความหมายของตัวเลขแต่ละชุดกันก่อนครับ

tap-hole-size
ตัวเลขความหมาย
5/8ขนาดของเกลียวในหน่วย UNC
11จำนวนฟันของเกลียวในช่วงความยาว 1 นิ้ว

แทนค่าสูตร

               ขนาดของรูเจาะทำเกลียว =  5/8 -1/11 = 0.625 – 0.091 = 0.534 นิ้ว

ค่าที่อยู่ใกล้เคียงกับ 0.534 นิ้ว คือ 0.531 นิ้ว (17/32 นิ้ว) ดังนั้นขนาด 17/32 จึงเป็นขนาดที่เหมาะสมสำหรับการเจาะรูเพื่อทำเกลียวขนาด 5/8-11 UNC

2.3 การคำนวณรูเจาะสำหรัเกลียวอังกฤษ British Standard Whitworth (BSW)

สามารถหาได้จากสูตร

ขนาดของรูเจาะทำเกลียว = เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของเกลียว – (2 x ความลึกของเกลียว) + (ระยะเผื่อ)

โดยระยะเผื่อสามารถหาได้จาก 2 x ¼ x ความลึกเกลียว

ตัวอย่างเช่น : ต้องการต๊าปเกลียวขนาด 1/2”- 12 BSW ต้องใช้ดอกสว่านเจาะรูขนาดเท่าไหร่ ?

ก่อนจะเริ่มการคำนวณ เรามาดูความหมายของตัวเลขแต่ละชุดกันก่อนครับ

tap-hole-size
ตัวเลขความหมาย
½”ขนาดของเกลียวในหน่วย BSW
12จำนวนฟันของเกลียวในช่วงความยาว 1 นิ้ว

วิธีการคำนวณ

หาระยะพิตซ์ (pitch)  = (1/จำนวนเกลียวต่อนิ้ว) =1/12 = 0.083 in.
ความลึกเกลียว = 0.64 x P = 0.64 x 0.083 = 0.053 in.

แทนค่าสูตร

               ขนาดของรูเจาะทำเกลียว =  1/2 -2(0.053)+(2 x 1/4 x 0.53) = 0.5-0.106+0.0265 = 0.4205 นิ้ว

ดังนั้นต้องใช้ดอกสว่าน ขนาด 0.420 นิ้วหรือ 27/64 นิ้ว ในการเจาะรูเพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสมสำหรับการเจาะรูเพื่อทำเกลียวขนาด 1/2”- 12 BSW

จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความการเจาะรูให้เหมาะสมสำหรับการต๊าปเกลียว หวังว่าเพื่อนๆ  จะทราบวิธีการหาขนาดรูที่เหมาะสมสำหรับการเจาะชิ้นงานทั้งใน แคตตาล็อกสินค้าและจากการคำนวณ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ 

ตารางสำหรับกำหนด ขนาดรูเจาะก่อนต๊าปเกลียว

table-of-hole-size

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคาตาคานะคำอ่าน
1 รูเจาะ あなA-na
2ดอกต๊าป (Tap)タップTap-pu

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.9 / 5. คะแนนโหวต: 25

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า Drill tap เพิ่มเติมได้ที่นี่
Learning guide
taps-subject

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง