Home » Technical » How to use » คำศัพท์ควรรู้ ก่อนใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

ศัพท์พื้นฐานควรรู้ ก่อนใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

ผู้ใช้งาน 3D printer มือใหม่นั้นมักจะประสบปัญหาเกียวกับคำศัพท์ที่พบได้บ่อย ๆ ในโปรแกรมประเภท Slicer ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับล่ามสื่อสารระหว่างโมเดล 3 มิติกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ตัวอย่างเช่น Cura, Simplify3D, Flash print และอื่น ๆ โดยแต่ละโปรแกรมก็จะมีคำศัพท์ที่มีความคล้ายคลึงกัน ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายคำศัพท์ที่ชวนสงสัยให้เพื่อน ๆ กระจ่าง และเห็นภาพ ชัดเจนยิ่งขึ้นครับ

know-before-3d-printer

1.Shell

เปลือกนอกของผิวงาน (Shell) หมายถึง จำนวนรอบของการสร้างผนังให้กับชิ้นงาน ตัวอย่างเช่น การขึ้นรูปชิ้นงานกล่องสี่เหลี่ยม ขั้นตอนแรก หัวฉีดของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D printer) จะฉีดพลาสติกออกมา และวิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม เส้นรอบรูปที่เห็นนั้นจะเรียกว่า Shell ซึ่งเราสามารถปรับจำนวนรอบของการสร้างผนังชิ้นงานได้ โดยการใส่ค่า Shell ที่ต้องการลงไป ตัวอย่างเช่น ถ้าใส่ Shell = 2 เครื่องพิมพ์จะสร้างผนังให้กับชิ้นงานเพียง 2 ชั้น ถ้าใส่ Shell = 5 เครื่องพิมพ์จะสร้างผนังให้กับชิ้นงานเป็นจำนวน 5 ชั้นนั้นเอง

know-before-3d-printer
ผนัง 1 ชั้น (Shell =1)
know-before-3d-printer
ผนัง 2 ชั้น (Shell =2)
know-before-3d-printer
ผนัง 3 ชั้น (Shell =3)

know-before-3d-printer
ผนัง 4 ชั้น (Shell =4)

2.Infill

หมายถึง ปริมาณวัสดุที่อยู่ภายในของชิ้นงาน ที่ผ่านกระบวนการพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ(3D printer) เรามาดูตัวอย่างการใช้งาน infill จากตารางด้านล่างนี้กันครับ infill โดยปกติแล้วจะนิยมกำหนดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) หาก %infill มีค่าเท่ากับ 0 พื้นที่ผิวด้านในของชิ้นงานจะมีลักษณะกลวง แต่ถ้า %infill มีค่าเท่ากับ 100 นั้นหมายถึง ชิ้นมีลักษณะตันไม่มีช่องว่างอยู่ภายในของชิ้นงาน

know-before-3d-printerknow-before-3d-printerknow-before-3d-printer
Infill = 0 % ผิวด้านในกลวงInfill = 30 % มีเนื้อชิ้นงานบางส่วนInfill = 100 % ไม่มีช่องว่างภายในชิ้นงาน

2.1 Infill มีความสำคัญอย่างไร

               Infill ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในการพิมพ์ชิ้นงานให้ได้คุณภาพ เช่น ความแข็งแรงของชิ้นงาน ระยะเวลาในการพิมพ์ น้ำหนักของชิ้นงาน เป็นต้น ในการตั้งค่า infill ให้เหมาะสมกับชิ้นงานเรามีคำแนะนำเบื้องต้นมาให้สำหรับผู้ใช้งานมือใหม่ครับ 

2.2 การตั้งค่า Infill ให้เหมาะสมกับการพิมพ์ 

ลักษณะและประเภทของงานที่นำไปใช้ Infill %
งานทั่วไปและโมเดลตกแต่ง15-50
งานที่ต้องนำไปใช้รับโหลด เช่น งานในทางวิศวกรรม50-100
วัสดุที่มีความยืดหยุ่น0-100

2.3 รูปแบบของ Infill

รูปแบบของ Infill ก็มีผลต่อการออกแบบเช่นกัน เรามาดูกันครับว่า Infill รูปแบบไหนเหมาะสมกับการใช้งานแบบไหน

know-before-3d-printer
ตัวย่างของรูปแบบ Infill ที่เกิดจากการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

2.3.1 ไม่มี Infill

ลักษณะของ Infill : ด้านในของชิ้นงานกลวง

know-before-3d-printer

ข้อดี
● ใช้เวลาในการพิมพ์น้อยมาก
● ประหยัดวัสดุ

ข้อเสีย
● ความแข็งแรงต่ำมาก ไม่สามารถรับแรงได้
● ไม่เหมาะกับการพิมพ์ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่เพราะพลาสติกไม่สามารถยึดติดกันได้สมบูรณ์เนื่องมาจากพื้นที่ด้านในของชิ้นงานไม่มีวัสดุรองรับทำให้พลาสติกย้อยลงไปพื้นที่ด้านในของชิ้นงาน

2.3.2 infill รูปแบบตาราง (Grid)

ลักษณะของ Infill : มีลักษณะเป็นตารางขนาดสม่ำเสมอกัน

know-before-3d-printer

ข้อดี
● ให้ความแข็งแรงได้มากที่สุดในการรับแรงแนวตั้ง
● ผิวด้านบนของชิ้นงานจะเรียบสวยเป็นผลมาจาก การเรียงตัวของ infill ด้านในที่เป็นระเบียบ

ข้อเสีย
● รูปแบบนี้ไม่เหมาะสำหรับการรับแรงในแนวนอนและแนวทแยง

2.3.3 infill รูปแบบสี่เหลี่ยมมุมฉาก (Rectangular or Rectilinear)

ลักษณะของ Infill : มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสทำมุม 45 องศาเรียงติดต่อกัน

know-before-3d-printer

ข้อดี
● สามารถรับแรงได้ทุกทิศทาง เหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรง
● ใช้เวลาในการพิมพ์น้อย

ข้อเสีย
●ความแข็งแรงน้อยกว่ารูปแบบ Grid และ Triangular

2.3.4 infill รูปแบบรังผึ้ง (honeycomb)

ลักษณะของ Infill : เป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันมาก infill มีลักษณะเป็นหกเหลี่ยมคล้ายรังผึ้ง

know-before-3d-printer

ข้อดี
● สามารถรับแรงได้ทุกทิศทาง เหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรงมากกว่า Rectangular

ข้อเสีย
● การพิมพ์ใช้เวลานาน

2.3.4 infill รูปแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า (Triangular)

ลักษณะของ Infill : เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าเรียงติดต่อกัน

know-before-3d-printer

ข้อดี
● มีความแข็งแรงสม่ำเสมอสามารถรับแรงได้ทุกทิศทาง และสามารถต้านทานแรงที่มีทิศทางขนานกับพื้นผิวได้

ข้อเสีย
ไม่เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการให้ผิวชั้นบนสุดเรียบสวย แต่สามารถแก้ไขได้โดยการเพิ่ม Layer ผิวด้านบนของชิ้นงาน

ข้อควรระวัง การเพิ่ม% infill ให้สูงขึ้นความแข็งแรงของชิ้นงานอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม

2.3.5 infill รูปแบบคลื่น (Wiggle or zigzag)

ลักษณะของ Infill : เป็นคลื่นสลับไปมาจะเห็นว่าไม่มีแนวเส้นเชื่อมติดกันระหว่างเส้นหนึ่งไปยังอีกเส้นหนึ่ง infill รูปแบบนี้เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการพิมพ์วัสดุชนิดมีความยืดหยุ่น (Flexible materials) เช่น Soft nylon

know-before-3d-printer

ข้อดี
● มีความแข็งแรงสม่ำเสมอสามารถรับแรงได้ทุกทิศทาง และสามารถต้านทานแรงที่มีทิศทางขนานกับพื้นผิวได้

ข้อเสีย
ไม่เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการให้ผิวชั้นบนสุดเรียบสวย แต่สามารถแก้ไขได้โดยการเพิ่ม Layer ผิวด้านบนของชิ้นงาน

สำหรับคำศัพท์ที่ควรทราบก่อนการใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ(3D printer) ไม่ว่าจะเป็น Shell และ Infill ทั้งนี้ในการใช้งาน Infill ทางเราได้อธิบายเป็นแนวทางให้เพื่อน ๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ ตามความเหมาะสมกับงานที่เพื่อนๆ ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ชิ้นงานต้นแบบ(prototype) สำหรับการตกแต่ง หรือ งานในทางวิศวกรรม ล้วนต้องพิจารณาปัจจัยเหล่านี้เพื่อให้ชิ้นงานที่พิมพ์ออกมาสามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 2

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

Related Content

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง