4 หน้าสัมผัสของสวิตช์ที่คุณควรรู้ SPST, SPDT, DPST, DPDT
สารบัญ
ในหลาย ๆ ครั้งที่วิศวกรมือใหม่ มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการเลือกหน้าสัมผัสของสวิตช์ ไม่ว่าจะเป็น SPST, SPDT, DPST, DPDT วันนี้ทางทีมงานได้นำความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับตัวอย่างการใช้งานหน้าสัมผัสของสวิตช์ ในแต่ละรูปแบบมาฝากกันครับ
หน้าสัมผัสของสวิตช์ คืออะไร
หน้าสัมผัสของสวิตช์ คือ ชุดรูปแบบการทำงานของสวิตช์ที่เกิดจากการกดสวิตช์ เพื่อเปลี่ยนการทำงานในแต่ละโหมด ซึ่งสามารถพบได้ในสวิตช์ชนิดต่าง ๆ เช่น สวิตช์กระดก (rocker switch), สวิตช์โยก หรือ สวิตช์ก้านยาว (toggle switch), สวิตช์เลื่อน (slide switch) เป็นต้น
4 หน้าสัมผัสของสวิตช์ ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม
1.Single Pole, Single Throw (SPST)
Single Pole, Single Throw
เป็นสวิตช์ทั่วไปที่ใช้สำหรับเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า ประกอบไปด้วย 2 เทอร์มินอล คือ input 1 และ output 1 ขา โดยมีให้เลือก 2 แบบ ดังนี้
1.ปกติเปิด (Normal open /NO)
2.ปกติปิด (์Normal Closed/NC)
ตัวอย่างการใช้งาน Single Pole, Single Throw
ตัวอย่าง เช่น ใช้ในสวิตช์สำหรับเปิดและปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
2.Single Pole, Double Throw (SPDT)
Single Pole, Double Throw
เป็นสวิตช์ที่สามารถเลือกการทำงานได้ 2 รูปแบบ ประกอบไปด้วย 3 เทอร์มินอล คือ input 1 ขา และ output 2 ขา เหมาะสำหรับใช้ในการสลับการทำงานระหว่างวงจรสองวงจร
ตัวอย่างการใช้งาน Single Pole, Double Throw
ตัวอย่างการใช้งาน เช่น หากหน้าสัมผัสของสวิตช์ สัมผัสที่ตำแหน่ง A ไฟแสดงสถานะสีแดงจะสว่างขึ้น หรือ หากหน้าสัมผัสของสวิตช์ สัมผัสที่ตำแหน่ง B ไฟสีเขียวก็จะสว่างขึ้น
3.Double Pole, Single Throw (DPST)
Double Pole , Single Throw
เป็นสวิตช์ที่มีการควบคุมการเปิด-ปิดคล้ายกับแบบ SPST แต่ DPST นั้นสามารถตัดต่อวงจรการทำงานได้พร้อมกันถึง 2 วงจรในเวลาเดียวกัน (จากรูปซ้ายมือ แสดงการทำงานพร้อมกันของสวิตช์ทั้งสองฝั่ง โดยเส้นปะแสดงถึงการเชื่อมต่อการทำงาน) โดยสวิตช์ตัวนี้ประกอบไปด้วย 4 เทอร์มินอล คือ input 2 ขา และ output 2 ขา ตัวอย่างการใช้งานที่มักพบเห็นได้ในอุปกรณ์คัทเอาท์
ตัวอย่างการใช้งาน Double Pole , Single Throw
ตัวอย่างการใช้งานเพิ่มเติม เช่น การประยุกต์ใช้สวิตช์รูปแบบ DPST กับไฟแสดงสถานะ (pilot lamp) และพัดลมระบายความร้อน เมื่อเปิดพัดลมระบายความร้อนจะเห็นได้ว่า ไฟแสดงสถานะและพัดลมทำงานพร้อมกัน (ไฟสว่างขึ้น, พัดลมหมุน)
4.Double Pole, Double Throw (DPDT)
Double Pole , Double Throw
เป็นสวิตช์ที่มีการควบคุมการเปิด-ปิดคล้ายกับแบบ SPDT แต่ DPDT นั้นสามารถตัดต่อวงจรการทำงานได้พร้อมกันถึง 2 วงจรในเวลาเดียวกัน (จากรูปซ้ายมือ แสดงการทำงานพร้อมกันของสวิตช์ทั้งสองฝั่งโดยเส้นปะแสดงถึงการเชื่อมต่อการทำงานไปพร้อมกัน) โดยสวิตช์ตัวนี้ประกอบไปด้วย 6 เทอร์มินอล คือ input 2 ขา และ output 4 ขา ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ควบคุมทิศทางการหมุนของมอเตอร์ เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้งาน Double Pole, Double Throw
ตัวอย่างการใช้งานเพิ่มเติม เช่น การประยุกต์ใช้สวิตช์รูปแบบ DPDT กับไฟแสดงสถานะ (pilot lamp) 2 ชุด กับพัดลมระบายความร้อน เมื่อเปิดพัดลมระบายความร้อนจะเห็นได้ว่า ไฟแสดงสถานะและพัดลมทำงานพร้อมกัน (ไฟสว่างขึ้น, พัดลมหมุน) และ เมื่อทำการกดสวิตช์ไปอีกทิศทางหนึ่ง จะพบว่า ไฟแสดงสถานะสีเขียวจะดับลงพร้อมกับพัดลมระบายความร้อนที่หยุดหมุน ส่วนไฟแสดงสถานะสีแดงจะสว่างขึ้น
จบไปแล้วนะครับสำหรับสาระความรู้เกี่ยวกับ 4 หน้าสัมผัสของสวิตช์ที่พบเจอได้บ่อยในการออกแบบเครื่องจักรในอุตสาหกรรม พร้อมทั้งตัวอย่างการใช้งานของสวิตช์แต่ละรูปแบบ หากเพื่อน ๆ สนใจอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การเลือกสวิตช์สามารถ อ่านต่อได้ที่นี่ “8 องค์ประกอบสำคัญในการเลือกสวิตช์” หากเพื่อนๆ ถูกใจบทความนี้หรือมีคำติชมใดๆ สามารถให้กำลังใจทีมงานผู้จัดทำเว็บไซต์ได้ที่คอมเมนต์ด้านล่าง สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
คำศัพท์ | คันจิ | ฮิราคานะ | คำอ่าน |
Single Pole, Single Throw (SPST) | 単極単投 | たんきょくたんとう | Tan-kyo-ku-tan-tō |
Single Pole, Double Throw (SPDT) | 単極双投 | たんきょくそうとう | Tan-kyo-ku-sō-tō |
Double Pole, Single Throw (DPST) | 2極単投 | にきょくたんきとう | Ni-kyo-ku-tan-kyo-tō |
Double Pole, Double Throw (DPDT) | 2極双投 | にきょくそうとう | Ni-kyo-ku- sō-tō |