Home » Technical » Tools » ไมโครมิเตอร์ คืออะไร

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) คืออะไร

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เป็นเครื่องมือวัดละเอียดที่นิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการวัดหน่วยที่มีความละเอียดสูง เช่น 10 μm, 1 μm เป็นต้น โดยใช้หลักการเปรียบเทียบระหว่างการเคลื่อนที่ของสกรูกับการหมุนของมุม ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะพิทช์ของเกลียวและเส้นผ่านศูนย์กลางของกลไกภายใน ทำให้อุปกรณ์มีความแม่นยำสูง ยิ่งพิทช์เกลียวมีความละเอียดมาก ก็จะยิ่งวัดขนาดความยาวเทียบกับการเคลื่อนที่ของสกรูได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ยิ่งพิทช์เกลียวมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ ก็จะยิ่งกำหนดตำแหน่งการหมุนได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น (อ่านขนาดที่วัดได้ละเอียดขึ้น)

What-is-micrometer
ไมโครมิเตอร์และดิจิทัลไมโครมิเตอร์

ส่วนประกอบสำคัญของ ไมโครมิเตอร์ มีดังนี้

ก่อนจะไปรู้จักกับวิธีการใช้งานของไมโครมิเตอร์ เรามาดูกันก่อนครับว่าส่วนประกอบสำคัญของไมโครมิเตอร์ มีอะไรบ้าง

What-is-micrometer
ส่วนประกอบสำคัญของไมโครมิเตอร์

ไมโครมิเตอร์ ใช้งานอย่างไร ?

การเลือกใช้ไมโครมิเตอร์แต่ละชนิดจะต้องเลือกขอบเขต และรูปแบบของไมโครมิเตอร์โดยพิจารณาจากขนาด และรูปทรงของชิ้นงานที่จะนำมาวัดขนาด นอกจากนี้ยังต้องเลือกความละเอียดต่อสเกล 1 ขีดที่ความละเอียด 0.01 mm หรือ 0.001 mm โดยพิจารณาจากความแม่นยำที่ต้องการอีกด้วย โดย ไมโครมิเตอร์รุ่นมาตรฐานจะมีระยะพิทช์เกลียว = 0.5 mm เมื่อหมุนครบ 1 รอบ ในส่วนปลอกหมุนมีสเกลแบ่งเป็น 50 ขีด และทุกๆ 5 ขีดจะมีตัวเลขกำกับไว้โดยเพิ่มขึ้นทีละ 5 หน่วย คือ 0, 5, 10, 15, 20, 25 ไปจนถึง ,45 และจะวนกลับมาที่ 0 โดยทุกๆ 1 ขีดที่สเกลเลื่อนของปลอกหมุนแกนวัดจะเคลื่อนที่ไปเป็นระยะ 0.5÷0.01 = 0.01 mm

ตัวอย่างการอ่านค่าบน ไมโครมิเตอร์

What-is-micrometer
ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์ (micrometer)

1. อ่านค่าจากขีดสเกลบนสเกลหลัก
ในตัวอย่างนี้ ขีดสเกลบนเส้นอ้างอิงของสเกลหลักอยู่ที่ 7 mm ดังนั้นค่าที่วัดได้จึงต้องมากกว่า 7 mm ดังนั้น ค่าที่อ่านจากสเกลหลัก =7.0 mm
2. อ่านค่าจากขีดสเกลของปลอกหมุนได้ 37
เนื่องจากไมโครมิเตอร์ที่ใช้งานมีขนาดสเกล 1 ขีด=0.01 mm ดังนั้น ค่าที่อ่านจากปลอกหมุน =37 x 0.01 mm=0.37 mm
3. รวมผลลัพธ์จากข้อ 1. และ 2.
จึงวัดขนาดได้ 7.0 mm+0.37 mm=7.37 mm
4. ตำแหน่งที่เส้นอ้างอิงของสเกลหลักชี้ที่ปลอกหมุน เมื่อประมาณสัดส่วนด้วยสายตาอ่านค่าได้เป็น 37.5
ในกรณีนี้ เนื่องจากขีดสเกลรองมีหน่วยเป็น 0.01 mm ดังนั้นค่าที่อ่านได้จากสเกลหลัก =37.5 x 0.01 mm=0.375 mm
5. นำผลลัพธ์ข้างต้นมารวมกัน
จึงอ่านค่าโดยรวมการประมาณด้วยสายตาในหลัก 0.001 mm ได้เป็น 7 mm+0.375 mm=7.375 mm

อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่ใช้งานร่วมกับไมโครมิเตอร์

อุปกรณ์เสริมที่มักพบเห็นในกล่องไมโครมิเตอร์ มีดังนี้

Interchangeable Anvil ของไมโครมิเตอร์

Interchangeable-Anvil

Interchangeable Anvil ของ ไมโครมิเตอร์ มีไว้สำหรับปรับระยะในการจับยึดชิ้นงาน ทำให้สามารถวัดชิ้นงานได้หลายขนาดมากยิ่งขึ้น โดยในการใช้งานนั้น มักจะต่ออุปกรณ์ชิ้นนี้เข้ากับส่วนปลายของแกนรับ หรือด้านตรงข้ามกับแกนวัด

ตัวอย่างการใช้งาน Interchangeable Anvil ของไมโครมิเตอร์

จากภาพด้านซ้ายมือจะเห็นได้ว่า ในการวัดขนาดของชิ้นงานทั้งสองชิ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดของไมโครมิเตอร์เพื่อให้สามารถวัดชิ้นงานได้ แต่ในทางกลับกันภาพทางด้านขวามือ ใช้ไมโครมิเตอร์เพียงตัวเดียว แต่ใช้อุปกรณ์เสริมคือ Interchangeable Anvil ซึ่งมีส่วนช่วยให้สามารถจับยึดชิ้นงานได้หลากหลายขนาดมากยิ่งขึ้น

how-to-use-interchangeable-anvil
ตัวอย่างการใช้งาน Interchangeable Anvil

แท่งมาตรฐาน (Setting Standard) ของไมโครมิเตอร์

setting-standard-micrometer

แท่งมาตรฐาน (Setting Standard) ของ ไมโครมิเตอร์ มีไว้สำหรับปรับจุดอ้างอิง ในการวัดของไมโครมิเตอร์ โดยในการใช้งานนั้น มักจะนำมาใช้วัดเพื่อทำการปรับระยะอ้างอิง (Calibration) ให้กับไมโครมิเตอร์ ก่อนการวัดจริง

ข้อควรระวังในการใช้งานไมโครมิเตอร์

  1. ก่อนเริ่มวัดค่าต้องเช็ดทำความสะอาดทั้งด้านแกนรับและแกนวัดให้สะอาด และตรวจสอบจุด 0 (เส้น 0 บนปลอกหมุนและเส้นอ้างอิงบนสเกลหลักต้องถูกต้อง) ในกรณีใช้ดิจิทัลไมโครมิเตอร์ ต้องไม่ลืมที่จะ Set Zero ก่อนการใช้งานทุกครั้ง
  2. เช็ดทำความสะอาดผิวหน้าของชิ้นงานที่นำมาวัดขนาดอย่าให้มีฝุ่นผงหรือสิ่งแปลกปลอม
  3. วัดขนาดด้วยแรงคงที่ เมื่อผิวหน้าแกนรับสัมผัสกับชิ้นงานที่นำมาวัดแล้ว ให้หมุนเข็มไปแตะเบา ๆ แล้วหมุนกร่อกแกร่กอีกประมาณ 1.5〜2 รอบหมุน จากนั้นจึงอ่านค่า เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนในการวัดขนาดที่อาจเกิดจากตัวผู้วัด
  4. อ่านค่าสเกลวัดในทิศทางตั้งฉากกับแนวสายตา
  5. หลังใช้งานควรเช็ดทำความสะอาด ทาน้ำมันเล็กน้อยบริเวณเกลียว เก็บรักษาในพื้นที่ที่มีความชื้นและอุณหภูมิคงที่
  6. ไม่ลืมที่จะส่งเครื่องมือวัดไปสอบเทียบ (Calibration) เมื่อถึงเวลาที่กำหนด เพื่อให้เครื่องมือพร้อมใช้อยู่เสมอ

จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความไมโครมิเตอร์ (Micrometer) คืออะไร เพื่อนๆ สามารถเลือกซื้อเครื่องมือวัดชนิดนี้แบบอื่นๆ ได้ที่นี่ หากสนใจบทความเกี่ยวกับเครื่องมือวัด ชนิดอื่นๆ เช่น เวอร์เนียคาลิปเปอร์ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่ หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยสามารถส่ง E-mail มาถามกันได้เลยครับ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคาตาคานะคำอ่าน
1ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)マイクロメータMai-ku-ro-mē-ta
2การวัด測定するそくていするSo-ku-tei-su-ru

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 3

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า เครื่องมือวัด เพิ่มเติมได้ที่นี่
Related Content

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง