ดอกสว่าน (Drill bit) และข้อมูลพื้นฐานที่คุณควรรู้ก่อนใช้งาน
สารบัญ
เพื่อนๆ ทุกคนรู้จักดอกสว่านกันอยู่แล้วใช่ไหมครับ? ดอกสว่าน เป็นอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่กัดเจาะเนื้อวัสดุต่าง ๆ ให้เป็นรูตามขนาดที่ต้องการ แต่รู้ไหมครับว่าดอกสว่านจริง ๆ แล้วมีรูปร่างหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบนั้น ถูกออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเจาะวัสดุที่แตกต่างกัน เช่น เหล็ก ปูน ไม้ พลาสติก หรือวัสดุอื่น ๆ หากเพื่อน ๆ สามารถเลือกดอกสว่าน (Drill bit) ได้เหมาะสมกับงานเจาะ ก็จะช่วยให้งานเจาะออกมาสมบูรณ์ เรามาหาคำตอบในบทความนี้กันครับ
ส่วนประกอบต่างๆ ของดอกสว่าน
- ก้านจับ (Shank) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าด้ามดอกสว่าน ใช้ยึดเข้ากับหัวจับดอกสว่านมีรูปร่างหลายแบบให้เลือกใช้งานดังนี้
ก้านตรงไม่มีร่อง ใช้กับสว่านไฟฟ้าแบบ clamp | ก้านมีร่องบาก 4 ด้าน ใช้กับสว่าน rotary | ก้านเทเปอร์ ใช้กับด้ามจับแบบ chuck |
- ลำตัวดอกสว่าน มีลักษณะเป็นร่อง ประกอบด้วยสันคมตัด และร่องช่วยในการคายเศษวัสดุ
- มุมจิก ทำหน้าที่นำศูนย์ในการเจาะชิ้นงานในขณะเริ่มต้น
ประเภทของดอกสว่าน
1.ดอกสว่านเจาะนำศูนย์ (Center drill)
หัวดอกสว่าน | คำอธิบาย |
---|---|
เป็นดอกสว่านที่นิยมใช้กันมาก ก่อนการเจาะรูในช่วงเริ่มต้นของการทำงาน เพื่อจะนำไปใช้งานต่อ ซึ่งเรียกว่า “การเจาะนำ” ประโยชน์ของดอกสว่านนำศูนย์ คือ ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งของรูเจาะ ให้กับดอกสว่านก่อนการเจาะ เพื่อป้องกันดอกสว่านเกิดการหนีศูนย์ในขณะที่เจาะชิ้นงาน |
2.ดอกสว่านเจาะเหล็ก
หัวดอกสว่าน | คำอธิบาย |
---|---|
จุดสังเกต คือ ปลายดอกสว่านจะมีลักษณะแหลม เพื่อป้องกันการหนีศูนย์กลาง เป็นดอกสว่านที่ในงานทั่วไปในอุตสาหกรรม เจาะได้ทั้ง เหล็ก อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง มีโอกาสหักง่ายถ้าใช่้เจาะวัสดุที่แข็งมาก |
3.ดอกสว่านเจาะปูน หรือ ดอกสว่านเจาะคอนกรีต (Drill for concrete)
หัวดอกสว่าน | คำอธิบาย |
---|---|
จุดสังเกต คือ ดอกสว่านชนิดนี้ส่วนปลายมีลักษะคล้ายกับค้อน อีกทั้งบริเวณส่วนปลายดอกสว่านยังเป็นเหล็กชุบแข็งพิเศษ เพื่อรองรับแรงกระแทกจากการใช้งานได้ ดอกสว่านชนิดนี้ นิยมนำมาใช้สำหรับเจาะปูนซีเมนต์ อิฐ หรือ บล๊อก เป็นต้น |
4.ดอกสว่านเจาะไม้ (Drill for woodworking)
หัวดอกสว่าน | คำอธิบาย |
---|---|
จุดสังเกต คือ ส่วนปลายของดอกสว่านมีลักษณะแหลม และมีมุมกดเล็กน้อย มีให้เลือกทั้งแบบปลายแหลม และปลายลักษณะเป็นเกลียว นิยมใช้ในการเจาะรูชิ้นงานประเภท เฟอร์นิเจอร์ไม้ ข้อดี – มีด้ามจับขนาดเล็กสามารถเจาะรูขนาดใหญ่ได้ – น้ำหนักของดอกสว่านเบา เมื่อเทียบกับดอกสว่านทั่วไปที่ต้องการเจาะรูที่มีขนาดเท่ากัน |
5.ดอกสว่านใบพาย (Flat bits)
หัวดอกสว่าน | คำอธิบาย |
---|---|
จุดสังเกต คือ ส่วนปลายของดอกสว่านมีลักษณะแหลม และมีมุมกดเล็กน้อย นิยมใช้ในการเจาะรูชิ้นงานประเภท เฟอร์นิเจอร์ไม้ ข้อดี – มีด้ามจับขนาดเล็กสามารถเจาะรูขนาดใหญ่ได้ – น้ำหนักของดอกสว่านเบาเมื่อเทียบกับดอกสว่านทั่วไปที่ต้องการเจาะรูที่มีขนาดเท่ากัน |
6.ดอกสว่านเจดีย์ (Step drills)
หัวดอกสว่าน | คำอธิบาย |
---|---|
จุดสังเกต คือ ส่วนปลายของดอกสว่าน จะมีลักษณะคล้ายเจดีย์ โดยขนาดของรูเจาะนั้นสามารถสังเกตได้จากตัวเลขที่ระบุไว้ที่ด้านข้างดอกสว่านในแต่ละชั้น สามารถเจาะได้ทั้ง ไม้ เหล็ก และอลูมิเนียมโปรไฟล์ (Aluminum profile) |
วิธีการใช้และการบำรุงรักษาดอกสว่าน
- ในการเจาะรูวัสดุจำพวกโลหะ ควรมีการใช้เหล็กตอกนำศูนย์ เพื่อเป็นการกำหนดจุดที่จะทำการเจาะให้กับดอกสว่านเจาะนำศูนย์
- ใช้ดอกเจาะนำศูนย์ เจาะก่อนใช้ดอกสว่านอื่นเจาะ เพื่อลดปัญหาการเจาะหนีศูนย์กลาง
- ลับคมดอกสว่านให้มีความคมอยู่เสมอ โดยการใช้หินเจียร หรือ เครื่องเจียรดอกสว่าน
- เลือกดอกสว่านให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการจะเจาะ เช่น ไม้ โลหะ พลาสติก เป็นต้น
- ปรับความเร็วรอบของสว่านให้เหมาะสมกับชนิดของวัสดุ และขนาดของรูที่ทำการเจาะ
- อาจจะใช้สารหล่อเย็นในขณะทำการเจาะ เพื่อไม่ให้ดอกสว่านเกิดความร้อนสูง
- ทำความสะอาดดอกสว่านหลังการใช้งาน อาจะใช้แปรงปัดเพื่อไม่ให้มีเศษติดอยู่บริเวณดอกสว่าน
- ควรทาน้ำมันป้องกันสนิมหลังการใช้งาน
สามารถเลือกดูดอกสว่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้ ในบทความถัดไป เราจะมาดูกันนะครับ ดอกสว่านทำมาจากวัสดุอะไรบ้าง และทำไมดอกสว่านจึงมีหลายสี สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
No. | คำศัพท์ | คันจิ | ฮิรางานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|---|
1 | ดอกสว่าน | – | – | ドリル | Do-ri-ru |