Home » Technical » Pneumatic » Single VS Double Solenoid valve 5/2 ต่างกันอย่างไร

Single VS Double Solenoid valve 5/2 ต่างกันอย่างไร

จากบทความที่แล้วเพื่อนๆ ได้รู้จักกับ โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) แต่ละประเภทกันไปแล้วใช่ไหมครับ ในบทความนี้เราจะมาดูตัวอย่างการใช้งาน โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยว และโซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์คู่ กันครับว่ามีการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงตัวอย่างการใช้งานเมื่อต้องนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์นิวเมติกส์

ตัวอย่างการใช้งานโซลินอยด์วาล์ว 5/2

ก่อนเราจะไปดูข้อแตกต่างของ โซลินอยด์วาล์ว 5/2 ทั้งสองแบบ เรามาดูตัวอย่างการนำอุปกรณ์ชิ้นนี้ ไปประยุกต์ใช้ในเครื่องจักรกันก่อนเลยครับ

double-acting-air-cylinder
ใช้ควบคุมกระบอกสูบแบบ 2 ทาง
(Double acting cylinder)

air-gripper
ใช้งานกับมือจับ
(Air gripper)

rotary-actuator
ใช้งานกับฐานหมุน
(Rotary actuator)

ข้อแตกต่างระหว่าง โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยวและคอยล์คู่ ต่างกันอย่างไร

เรามาดูความแตกต่างของการทำงานของ โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยวและคอยล์คู่ กันครับ หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสัญลักษณ์บนโซลินอยด์วาล์ว สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

การทำงานของ โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยว

solenoid-valve-5-2-position-koganei
สัญลักษณ์ โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยว

โซลินอยด์รูปแบบนี้จะมีด้วยกัน 5 พอร์ต 2 ตำแหน่ง โดยมีชุดโซลินอยด์ติดตั้งอยู่เพียง 1 ฝั่งเท่านั้น ในส่วนของอีกฝั่งที่ไม่มีชุดโซลินอยด์ จะมีขดลวดสปริงที่ทำหน้าที่ดัน spool ให้กลับสู่ตำแหน่งเดิม เมื่อหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้า หรือในบางครั้งอาจจะเรียกว่า โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยว

ตัวอย่างการใช้งาน
โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยว
Solenoid-Valve-Single-Coil
ตัวอย่างการใช้งาน
Single solenoid valves 5/2
แบบสัญลักษณ์

จากวีดีโอการใช้งานจะเห็นว่า โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยว ใช้ควบคุมกระบอกสูบแบบ Double Acting เมื่อมีการป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ชุดโซลินอยด์ จะทำให้ก้านสูบเคลื่อนที่ออกจากกระบอกสูบ และเมื่อหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้า จะส่งผลให้สปริงที่อยู่ภายในโซลินอยด์วาล์ว ผลัก Spool เคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเดิม จึงส่งผลทำให้ก้านสูบเคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น

(ตัวอย่างนี้ใช้การกดปุ่ม Manual Override แทนการป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังชุดโซลินอยด์ ซึ่งปุ่มนี้มีไว้สำหรับทดสอบระบบ ก่อนการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ชุดโซลินอยด์)

การทำงานของ โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์คู่

solenoid-valve-5-2-position-koganei
สัญลักษณ์ โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์คู่

โซลินอยด์รูปแบบนี้จะมีด้วยกัน 5 พอร์ต 2 ตำแหน่ง โดยมีโซลินอยด์ติดตั้งอยู่ทั้ง 2 ฝั่ง หรือในบางครั้งอาจจะเรียกว่า โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์คู่

ตัวอย่างการใช้งาน
โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์คู่
Solenoid-Valve-double-coils
ตัวอย่างการใช้งาน
Double solenoid valves 5/2
แบบสัญลักษณ์

จากวีดีโอการทดสอบจะเห็นว่า โซลินอยด์วาล์ว 5/2 จะใช้ควบคุมกระบอกสูบแบบ Double Acting เมื่อมีการปล่อยลมอัดเข้าไป ก้านสูบจะถูกดันออกจากกระบอกสูบ โดยก้านสูบจะอยู่ที่ตำแหน่งเดิมเสมอ แม้ว่าจะถูกตัดกระแสไฟฟ้าไปแล้วก็ตาม เมื่อมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปที่ขดลวดโซลินอยด์อีกฝั่งหนึ่ง จะส่งผลให้ Spool ที่อยู่ภายในโซลินอยด์วาล์วเคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเดิม ทำให้ก้านสูบเคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น

(ตัวอย่างนี้ใช้การกดปุ่ม Manual Override แทนการป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังชุดโซลินอยด์ ซึ่งปุ่มนี้มีไว้สำหรับทดสอบระบบ ก่อนการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ชุดโซลินอยด์)

สรุปข้อแตกต่างระหว่าง โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยวและคอยล์คู่

โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยว ที่ใช้ควบคุมกระบอกสูบแบบสองทาง จะถูกควบคุมด้วยชุดโซลินอยด์และสปริง ในส่วนของ โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์คู่ จะถูกควบคุมด้วยชุดโซลินอยด์ทั้งสองฝั่งซึ่งทำให้ผลลัพท์ที่ได้คือ สามารถรักษาตำแหน่งของก้านสูบได้นานขึ้น

ตัวอย่างการใช้งาน โซลินอยด์วาล์ว F-Series จากทาง KOGANEI

เรามาดูตัวอย่างการใช้งานของ โซลินอยด์วาล์ว F-Series จากทาง KOGANEI กันครับ ว่ามา Feature ที่น่าสนใจอะไรบ้าง

การพิจารณาเลือก โซลินอยด์วาล์ว 5/2 ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

  1. รูปแบบการทำงานของ actuator เช่น เคลื่อนที่ไปและกลับทันที หรือ เคลื่อนที่แล้วหยุดค้างไว้สักพักและหลังจากนั้นเคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเดิม เป็นต้น
  2. ขนาดเกลียวของ fitting ก่อนการประกอบเข้ากับโซลินอยด์วาล์ว เช่น Rc 1/4
  3. แรงดันที่ใช้งาน เช่น 0.7 MPa, 0.9 MPa เป็นต้น
  4. กระแสไฟฟ้าที่จ่ายเข้าสู่ชุดโซลินอยด์ เช่น ไฟกระแสตรง 24 V (DC 24 V) ไฟกระแสสลับ 100V (AC 100 V) เป็นต้น
  5. สภาพแวดล้อมของการใช้งาน เช่น อุณหภูมิ ความชื้น เป็นต้น
  6. รูปแบบของการต่อสายไฟเข้าที่ชุดขดลวดโซลินอยด์
Solenoid-valve-wring-S
ตัวอย่างการต่อสาย connector
เข้าทางด้านบน
Solenoid-valve-wring-L
ตัวอย่างการต่อสาย connector
เข้าทางด้านข้าง

จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความเกี่ยวกับโซลินอยด์วาล์ว 5/2 แต่ละแบบมีการทำงานที่แตกต่างกันอย่างไร ? พร้อมตัวอย่างการใช้งาน หากเพื่อนสนใจสินค้าคุณภาพสูงจากทางบริษัท KOGANEI สามารถเลือกดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

คำศัพท์คันจิฮิราคานะคำอ่าน
โซลินอยด์วาล์ว 電磁弁でんじべんDen-ji-ben

ข้อมูลอ้างอิง

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.6 / 5. คะแนนโหวต: 12

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

Related Content

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save