Single VS Double Solenoid valve 5/2 ต่างกันอย่างไร
สารบัญ
- Single VS Double Solenoid valve 5/2 ต่างกันอย่างไร
- ตัวอย่างการใช้งานโซลินอยด์วาล์ว 5/2
- ข้อแตกต่างระหว่าง โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยวและคอยล์คู่ ต่างกันอย่างไร
- สรุปข้อแตกต่างระหว่าง โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยวและคอยล์คู่
- ตัวอย่างการใช้งาน โซลินอยด์วาล์ว F-Series จากทาง KOGANEI
- การพิจารณาเลือก โซลินอยด์วาล์ว 5/2 ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
- คำศัพท์ที่น่าสนใจ
จากบทความที่แล้วเพื่อนๆ ได้รู้จักกับ โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) แต่ละประเภทกันไปแล้วใช่ไหมครับ ในบทความนี้เราจะมาดูตัวอย่างการใช้งาน โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยว และโซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์คู่ กันครับว่ามีการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงตัวอย่างการใช้งานเมื่อต้องนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์นิวเมติกส์
ตัวอย่างการใช้งานโซลินอยด์วาล์ว 5/2
ก่อนเราจะไปดูข้อแตกต่างของ โซลินอยด์วาล์ว 5/2 ทั้งสองแบบ เรามาดูตัวอย่างการนำอุปกรณ์ชิ้นนี้ ไปประยุกต์ใช้ในเครื่องจักรกันก่อนเลยครับ
ข้อแตกต่างระหว่าง โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยวและคอยล์คู่ ต่างกันอย่างไร
เรามาดูความแตกต่างของการทำงานของ โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยวและคอยล์คู่ กันครับ หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสัญลักษณ์บนโซลินอยด์วาล์ว สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
การทำงานของ โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยว
โซลินอยด์รูปแบบนี้จะมีด้วยกัน 5 พอร์ต 2 ตำแหน่ง โดยมีชุดโซลินอยด์ติดตั้งอยู่เพียง 1 ฝั่งเท่านั้น ในส่วนของอีกฝั่งที่ไม่มีชุดโซลินอยด์ จะมีขดลวดสปริงที่ทำหน้าที่ดัน spool ให้กลับสู่ตำแหน่งเดิม เมื่อหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้า หรือในบางครั้งอาจจะเรียกว่า โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยว
จากวีดีโอการใช้งานจะเห็นว่า โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยว ใช้ควบคุมกระบอกสูบแบบ Double Acting เมื่อมีการป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ชุดโซลินอยด์ จะทำให้ก้านสูบเคลื่อนที่ออกจากกระบอกสูบ และเมื่อหยุดการจ่ายกระแสไฟฟ้า จะส่งผลให้สปริงที่อยู่ภายในโซลินอยด์วาล์ว ผลัก Spool เคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเดิม จึงส่งผลทำให้ก้านสูบเคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น
(ตัวอย่างนี้ใช้การกดปุ่ม Manual Override แทนการป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังชุดโซลินอยด์ ซึ่งปุ่มนี้มีไว้สำหรับทดสอบระบบ ก่อนการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ชุดโซลินอยด์)
การทำงานของ โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์คู่
โซลินอยด์รูปแบบนี้จะมีด้วยกัน 5 พอร์ต 2 ตำแหน่ง โดยมีโซลินอยด์ติดตั้งอยู่ทั้ง 2 ฝั่ง หรือในบางครั้งอาจจะเรียกว่า โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์คู่
จากวีดีโอการทดสอบจะเห็นว่า โซลินอยด์วาล์ว 5/2 จะใช้ควบคุมกระบอกสูบแบบ Double Acting เมื่อมีการปล่อยลมอัดเข้าไป ก้านสูบจะถูกดันออกจากกระบอกสูบ โดยก้านสูบจะอยู่ที่ตำแหน่งเดิมเสมอ แม้ว่าจะถูกตัดกระแสไฟฟ้าไปแล้วก็ตาม เมื่อมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปที่ขดลวดโซลินอยด์อีกฝั่งหนึ่ง จะส่งผลให้ Spool ที่อยู่ภายในโซลินอยด์วาล์วเคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเดิม ทำให้ก้านสูบเคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น
(ตัวอย่างนี้ใช้การกดปุ่ม Manual Override แทนการป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังชุดโซลินอยด์ ซึ่งปุ่มนี้มีไว้สำหรับทดสอบระบบ ก่อนการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ชุดโซลินอยด์)
สรุปข้อแตกต่างระหว่าง โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยวและคอยล์คู่
โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์เดี่ยว ที่ใช้ควบคุมกระบอกสูบแบบสองทาง จะถูกควบคุมด้วยชุดโซลินอยด์และสปริง ในส่วนของ โซลินอยด์วาล์ว 5/2 แบบคอยล์คู่ จะถูกควบคุมด้วยชุดโซลินอยด์ทั้งสองฝั่งซึ่งทำให้ผลลัพท์ที่ได้คือ สามารถรักษาตำแหน่งของก้านสูบได้นานขึ้น
ตัวอย่างการใช้งาน โซลินอยด์วาล์ว F-Series จากทาง KOGANEI
เรามาดูตัวอย่างการใช้งานของ โซลินอยด์วาล์ว F-Series จากทาง KOGANEI กันครับ ว่ามา Feature ที่น่าสนใจอะไรบ้าง
การพิจารณาเลือก โซลินอยด์วาล์ว 5/2 ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
- รูปแบบการทำงานของ actuator เช่น เคลื่อนที่ไปและกลับทันที หรือ เคลื่อนที่แล้วหยุดค้างไว้สักพักและหลังจากนั้นเคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเดิม เป็นต้น
- ขนาดเกลียวของ fitting ก่อนการประกอบเข้ากับโซลินอยด์วาล์ว เช่น Rc 1/4
- แรงดันที่ใช้งาน เช่น 0.7 MPa, 0.9 MPa เป็นต้น
- กระแสไฟฟ้าที่จ่ายเข้าสู่ชุดโซลินอยด์ เช่น ไฟกระแสตรง 24 V (DC 24 V) ไฟกระแสสลับ 100V (AC 100 V) เป็นต้น
- สภาพแวดล้อมของการใช้งาน เช่น อุณหภูมิ ความชื้น เป็นต้น
- รูปแบบของการต่อสายไฟเข้าที่ชุดขดลวดโซลินอยด์
จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความเกี่ยวกับโซลินอยด์วาล์ว 5/2 แต่ละแบบมีการทำงานที่แตกต่างกันอย่างไร ? พร้อมตัวอย่างการใช้งาน หากเพื่อนสนใจสินค้าคุณภาพสูงจากทางบริษัท KOGANEI สามารถเลือกดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
คำศัพท์ | คันจิ | ฮิราคานะ | คำอ่าน |
โซลินอยด์วาล์ว | 電磁弁 | でんじべん | Den-ji-ben |
ข้อมูลอ้างอิง