Home » Technical » Mechanical » สายพานลำเลียงอุปกรณ์ยอดนิยมในอุตสาหกรรม

สายพานลำเลียง (Belt Conveyor) คืออะไร

สายพานลำเลียง (Belt Conveyor) เป็นอุปกรณ์ลำเลียงที่นิยมใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรม สามารถลำเลียง เคลื่อนย้าย หรือขนส่งวัสดุได้หลากหลายประเภท โดยวัสดุจะวางบนสายพานซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำพาทำให้สามารถเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้ สามารถใช้งานได้ไม่ว่าจะเป็นแนวราบ แนวเอียง หรือแนวโค้ง สายพานลำเลียงมักถูกใช้เป็นตัวเชื่อมในกระบวนการผลิตต่างๆเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่าย ประสิทธิภาพสูง ช่วยให้กระบวนการผลิตมีความต่อเนื่องและรวดเร็ว ส่งผลต่อกำลังการผลิตที่มากขึ้นทำให้เกิดความคุ้มค่าด้านการลงทุนนั่นเอง

ตัวอย่างสายพานลำเลียง
ตัวอย่างสายพานลำเลียง

หลักในการเลือกใช้สายพานลำเลียง

การเลือกใช้สายพานลำเลียงเพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุดและเหมาะสมต่อการใช้งานในรูปแบบต่างๆมีหัวข้อที่ควรพิจารณาดังนี้

วัสดุหรือชิ้นงานที่จะลำเลียง (Work Piece)

สิ่งแรกที่ควรพิจารณาในการเลือกใช้สายพานลำเลียง คือ ประเภทของวัสดุหรือชิ้นงานที่ต้องการจะลำเลียงนั้นคืออะไร มีขนาดและรูปทรงอย่างไร เหมาะกับการลำเลียงลักษณะไหน รวมถึงวัสดุหรือชิ้นงานนั้นมีกระบวนการอื่นๆมาเกี่ยวข้องในขณะลำเลียงหรือไม่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะส่งผลต่อการออกแบบชนิดและขนาดของสายพานลำเลียง

วัสดุหรือชิ้นงานที่จะลำเลียงคืออะไร
วัสดุหรือชิ้นงานที่จะลำเลียงคืออะไร

ปริมาณการผลิตที่ต้องการ (Capacity)

โดยทั่วไปแล้วปริมาณการผลิต คือสิ่งหนึ่งที่ใช้ในการกำหนดรายละเอียด (Specification) ของเครื่องจักร สำหรับสายพานลำเลียงการกำหนดกำลังการผลิตจะช่วยให้เกิดการออกแบบที่มีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งส่งผลต่อขนาดความกว้างและยาวของสายพาน ขนาดโครงสร้างที่ใช้รับน้ำหนักรวมถึงค่าความเร็วในการเคลื่อนที่ของสายพาน เป็นต้น

ปริมาณการผลิตที่ต้องการคือเท่าไหร่
ปริมาณการผลิตที่ต้องการคือเท่าไหร่

ทิศทางหรือลักษณะการลำเลียง (Direction)

สำหรับไลน์ผลิตทั่วไปสายพานลำเลียงอาจมีได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่หน้างานและความจำเป็นในการใช้สายพานลำเลียงกับกระบวนการผลิตนั้นๆ เช่น การลำเลียงแนวราบตรง การลำเลียงแนวเอียงขึ้นหรือเอียงลง การลำเลียงแนวโค้ง หรือการลำเลียงแบบเกลียวแนวตั้ง เป็นต้น

กาาลำเลียงแนวราบ
กาาลำเลียงแนวราบ
การลำเลียงแนวเอียง
การลำเลียงแนวเอียง
การลำเลียงแบบเกลียวแนวตั้ง
การลำเลียงแบบเกลียวแนวตั้ง

สภาพแวดล้อมที่ใช้งาน (Environment)

สภาพแวดล้อมที่จะนำสายพานลำเลียงไปใช้เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากจะส่งผลต่ออายุและยังประสิทธิภาพการใช้งานของสายพานลำเลียงไม่ว่าจะเป็นตัวสายพาน โครงสร้าง หรือส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ควรเลือกใช้วัสดุสเตนเลสในสถานที่ที่มีความชื้น มีการกัดกร่อน หรือบริเวณที่เน้นเรื่องความสะอาดในอุตสาหกรรมอาหารและยา หรือการเลือกใช้วัสดุเคลือบผิวสายพานเป็นยาง NBR เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันปิโตเลียมและน้ำมันหล่อลื่นทั่วๆไป

สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการออกแบบสายพานลำเลียง
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการออกแบบสายพานลำเลียง

ชนิดของสายพานลำเลียงที่นิยมใช้

สายพานลำเลียงพีวีซี (PVC Belt Conveyor)

สายพานลำเลียงพีวีซี คือสายพานที่มีผิวบนเป็นวัสดุโพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride : PVC) และด้านล่างเป็นผ้าไนลอน (Nylon Fabric) มีผิวให้เลือกหลายแบบตามลักษณะการใช้งานไม่ว่าจะเป็นผิวเรียบมันหรือผิวหยาบลวดลายต่างๆ ความหนาของสายพานโดยทั่วไปอยู่ที่ 1-5 มิลลิเมตร นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งชิ้นส่วนเพิ่มเติมเพื่อใช้ในงานเฉพาะได้ เช่นบั้ง (Cleat) ผนังข้าง (Sidewall) หรือไกด์ (Guide) และยังมีหลายสีให้เลือกใช้เช่น เขียว ขาว น้ำเงิน ดำ สายพานลำเลียงพีวีซีเหมาะกับงานที่มีน้ำหนักเบา สามารถใช้งานที่อุณหภูมิไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส ทนสารเคมีได้ปานกลางและมีราคาค่อนข้างถูกจึงพบได้ในอุตสาหกรรมทั่วๆไป

ตัวอย่างสายพานลำเลียงพีวีซีแบบผิวหยาบ
ตัวอย่างสายพานลำเลียงพีวีซีแบบผิวหยาบ
ตัวอย่างการใช้งานสายพานลำเลียงพีวีซีและชิ้นส่วนเพิ่มเติม
ตัวอย่างการใช้งานสายพานลำเลียงพีวีซีและชิ้นส่วนเพิ่มเติม

สายพานลำเลียงพียู (PU Belt Conveyor)

สายพานลำเลียงพียู เป็นสายพานที่ผิวบนจะเคลือบด้วยโพลียูรีเทน (Polyurethane : PU) โดยส่วนใหญ่จะคล้ายกับสายพานพีวีซีทั้งในเรื่องลักษณะผิว ความหนา สี และการติดตั้งชิ้นส่วนเพิ่มเติม แต่จุดที่ต่างคือผิวจะมีความลื่นกว่าและมีคุณสมบัติด้านการใช้งานที่สูงกว่าเช่น ทนต่อการขีดข่วนดีกว่า ทนอุณหภูมิได้ถึง 100 องศาเซลเซียส ทนสารเคมีได้สูง ใช้ลำเลียงงานได้หนักกว่า และในด้านของราคาก็จะสูงกว่าสายพานพีวีซีด้วยเช่นกัน การใช้งานนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

ตัวอย่างสายพานลำเลียงพียูแบบผิวเรียบมีไกด์แบรนด์ MISUMI
ตัวอย่างสายพานลำเลียงพียูแบบผิวเรียบมีไกด์ แบรนด์ MISUMI
ตัวอย่างการใช้งานสายพานลำเลียงพียู
ตัวอย่างการใช้งานสายพานลำเลียงพียู

สายพานลำเลียงยางดำ (Rubber Belt Conveyor)

สายพานลำเลียงยางดำ เป็นสายพานที่ผลิตจากยางจำพวกยางธรรมชาติ (Natrual Rubber : NR) หรือยางไนไตรล์ (Nitrile Rubber : NBR) เหมาะสำหรับงานหนักไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับน้ำหนักมากๆ การทนต่อแรงกระแทก ทนต่อการสึกหรอ อีกทั้งยังมีชนิดที่เน้นคุณสมบัติเฉพาะด้านเช่น ทนความร้อนสูง ทนน้ำมัน ทนสารเคมี ทนแรงดึงสูง หรือสำหรับอาหาร เป็นต้น สายพานยางดำมีให้เลือกใช้งานหลายแบบไม่ว่าจะเป็นแบบผิวเรียบ แบบมีบั้งหรือแบบมีผนังข้าง ในส่วนของการนำไปใช้งานเหมาะกับอุตสาหกรรมหนักหลายๆประเภทเช่น โรงโม่หิน เหมืองแร่ โรงงานรีไซเคิลขยะ โรงหลอมโลหะหรือโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งานสายพานลำเลียงยางดำ
ตัวอย่างการใช้งานสายพานลำเลียงยางดำ
ตัวอย่างการใช้งานสายพานลำเลียงยางดำ
ตัวอย่างการใช้งานสายพานลำเลียงยางดำ

สายพานลำเลียงโมดูล่า (Modular Belt Conveyor)

สายพาลำเลียงโมดูลา คือ สายพานสมัยใหม่ซึ่งเกิดจากการนำพลาสติกทางด้านวิศวกรรมมาฉีดขึ้นรูปเป็นชิ้นๆแล้วนำมาต่อรวมกันจนเกิดเป็นเส้นสายพานลำเลียง นอกจากจะมีรูปแบบของสายพานให้เลือกมากมายแล้ว พลาสติกที่ใช้ก็สามารถเลือกได้ตามลักษณะของงาน เช่น PE (Polyethylene), PP (Polypropylene), POM (Polyoxymethylene) เป็นต้น และยังติดตั้งในส่วนของบั้งหรือผนังข้างได้อีกด้วย ปัจจุบันนิยมเปลี่ยนจากสายพาน PVC/PU มาใช้สายพานโมดูลากันมากขึ้นเนื่องจากมีความแข็งแรงคงทนสูง การยืดตัวต่ำมาก ทนน้ำ น้ำมันและเคมีได้ดีมาก อายุการใช้งานยาวนานซึ่งทำให้เกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุนในระยะยาว พบมากในอุตสาหกรรมอาหารและยา อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม หรืออุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ เป็นต้น

ตัวอย่างสายพานลำเลียงโมดูล่ารูปแบบต่างๆ
ตัวอย่างสายพานลำเลียงโมดูล่ารูปแบบต่างๆ
ตัวอย่างการใช้งานสายพานลำเลียงโมดูล่า
ตัวอย่างการใช้งานสายพานลำเลียงโมดูล่า

สายพานลำเลียงลวดตาข่าย (Wire Mesh Belt Conveyor)

สายพานลำเลียงลวดตาข่าย เป็นสายพานที่ใช้ลวดเหล็กหรือสเตนเลสมาทำการสานจนเป็นผืนตาข่าย สามารถสานได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมกับลักษณะชิ้นงาน และสามารถกำหนดขนาดความโตของเส้นลวด (Wire Diameter) ระยะห่างของช่องตาข่ายหรือระยะพิทช์ (Pitch) และความกว้างของช่องตาข่าย (Space Width) ได้ตามต้องการ ในบางรูปแบบอาจมีการร้อยเพลา (Support Rod) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงรวมถึงลดการแอ่นตัวของตาข่ายได้อีกด้วย สายพานประเภทนี้มักใช้ในกระบวนการที่เกี่ยวกับความร้อน ความเย็นหรือการฉีดล้าง เช่น สายพานลำเลียงสำหรับอบงาน สายพานลำเลียงสำหรับลดอุณหภูมิชิ้นงาน หรือสายพานลำเลียงสำหรับการล้างน้ำมันที่ชิ้นงาน เป็นต้น

ตัวอย่างสายพานลำเลียงลวดตาข่ายรูปแบบต่างๆ
ตัวอย่างสายพานลำเลียงลวดตาข่ายรูปแบบต่างๆ
ตัวอย่างการใช้งานสายพานลำเลียงลวดตาข่าย
ตัวอย่างการใช้งานสายพานลำเลียงลวดตาข่าย

จบไปแล้วกับอีกหนึ่งบทความดีๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสายพานลำเลียง ซึ่งก่อนจะเลือกใช้ก็ควรศึกษาหาข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อให้ตอบโจทย์ในการใช้งานและเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าด้านการลงทุน สำหรับอุปกรณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสายพานลำเลียงเพื่อนๆสามารถค้นหาเพิ่มเติมได้จากทางเว็บไซด์ของ MISUMI ซึ่งได้คัดสรรอุปกรณ์คุณภาพและมีมาตรฐานมาให้เลือกใช้งานมากมาย สำหรับบทความถัดไปจะเป็นเรื่องอะไรนั้นรอติดตามกันได้เลยครับ

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 0 / 5. คะแนนโหวต: 0

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Technical Center Team

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า สายพาน (Belt) เพิ่มเติมได้ที่นี่
Related Content

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง