Home » Technical » Industrial Standard » FMEA สำหรับงานซ่อมบำรุง ใช้งานอย่างไร

FMEA สำหรับงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร ทำอย่างไร

ในบทความก่อนหน้านี้ เพื่อนๆ ได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ปัญหาด้วยเครื่องมือต่างๆทั้ง 5 Whys Analysis, Pareto Chart, และ Fishbone Diagram กันไปแล้ว ซึ่งหากเราได้ฝึกใช้เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ปัญหาเหล่านี้จนชำนาญเราก็สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างตรงจุดเลยทีเดียว

แต่ถ้าหากวันหนึ่งที่เพื่อนๆ ติดงาน ติดธุระ หรือป่วยมาทำงานไม่ได้ แล้วเกิดปัญหากับเครื่องจักรขึ้นวันนั้นพอดีละ…เราจะแน่ใจได้อย่างไร ว่าทีมงานของเราสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เหมือนเวลาที่เราอยู่วิเคราะห์ที่หน้างานด้วยกัน โดยในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเครื่องมือวิเคราะห์ตัวสุดท้าย นั่นคือ Failure Mode and Effects Analysis (FMEA)

FMEA Breakedown

Failure Mode and Effect Analysis (FMEA) คือ อะไร

Failure Mode and Effects Analysis หรือ FMEA โดยหลักการแล้ว FMEA แตกต่างจากเครื่องมือตัวอื่นๆ ตรงที่ มันไม่ใช่เครื่องมือที่สำหรับการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างานเดี๋ยวนั้น แต่มันเป็นเครื่องมือที่มีการคาดคะเนผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นไว้ก่อนล่วงหน้าเพื่อให้นำไปใช้เทียบกับลักษณะการเสียของเครื่องจักรจริง มันจึงมีข้อดีในเรื่องของการชี้จุดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานได้ดีมาก เมื่อเทียบกับเครื่องมืออื่นๆ รวมถึงยังสามารถใช้เป็นองค์ความรู้ในการสอนงานทีมงานได้ดีอีกด้วย

FMEA diagrame
Failure Mode and Effects Analysis (FMEA)

ข้อเสียของเครื่องมือ Failure Mode and Effect Analysis (FMEA)

ข้อเสียใหญ่สุดของ FMEA ก็คงจะเป็นเรื่องของความยากในการจัดทำครั้งแรกนี่แหละครับ เนื่องจากเราจะต้องมีการนำทั้งผู้เชี่ยวชาญในระบบเครื่องจักรนั้นๆ ทีมช่างซ่อมบำรุง และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มารวมกันและทำการระดมสมองร่วมกัน (Brainstorming) เพื่อให้ครอบคลุมรายละเอียดอาการเสียของเครื่องจักรแบบต่างๆ ให้มากที่สุด 

ตัวอย่างการใช้งานเครื่องมือ FMEA ในการวิเคราะห์ปัญหา

เรามีตัวอย่างการใช้งานเครื่องมือ Failure Mode and Effects Analysis หรือ FMEA สำหรับการวิเคระห์ปัญหาที่จะเกิดกับปั๊มน้ำแบบหอยโข่ง หรือ ปั๊มแบบหมุนเหวี่ยง (Centrifugal Pump) มาให้เพื่อนๆ ได้ดูเป็นแนวทางกันครับว่า สามารถสร้างอย่างไร

ตัวอย่างการใช้งานเครื่องมือ FMEA
ลำดับรายการความล้มเหลวผลลัพธ์สาเหตุการป้องกัน
1เรือนปั๊มเรือนปั๊มมีรอยรั่วน้ำรั่วออกจากเรือนปั๊มเรือนปั๊มเป็นสนิมมีการตรวจสอบสภาพของปั๊มตามระยะเวลาที่กำหนด
มีการพ่นสีกันสนิมเคลือบเรือนปั๊มที่ติดตั้งด้านนอกอาคาร
เรือนปั๊มตกกระแทกระหว่างขนย้ายมีการอบรมพนักงานเรื่องการขนย้าย
จัดเตรียมเครื่องมือช่วยต่างๆสำหรับการติดตั้ง
ปัญหาจากกระบวนการผลิตมีการตรวบสอบสินค้าก่อนทำการรับเข้า
2ใบพัดใบพัดสึกแรงดันน้ำตกลงน้ำที่ใช้สกปรก มีตะกอนมีระบบกรองน้ำก่อนเข้าสู่ปั๊ม
การเกิด Carvitationมีการติดตั้ง Sensor ตรวจวัดแรงดันน้ำภายในท่อ
3เพลาปั๊มเพลาปั๊มขาดปั๊มชำรุดไม่หมุนเพลาเกิดการคดงอจากการใช้งานมีการตรวจวัดค่า Vibration ตามระยะเวลาที่กำหนด
เพลาไม่ได้ Alignmentมีการใช้เครื่องตั้ง Alignment เพลาแบบเลเซอร์ซึ่งมีความแม่นยำสูง
4ตลับลูกปืนเม็ดลูกปืนสึก/แตกเพลาปั๊มเกิดการแกว่งตลับลูกปืนไม่ได้ Alignmentมีการใช้ Filler guage เพื่อวัด Gap ของเม็ดลูกปืนก่อนประกอบเพลา
บ่าลูกปืนของเรือนปั๊มสึกมีการสำรองปั๊มเพื่อเปลี่ยน
ตลับลูกปืนเป็นสนิมตลับลูกปืนชำรุดการขาดสารหล่อลื่นมีการอัดจารบีตามระยะเวลาที่กำหนด
5ซีลกันรั่วซีลรั่ว/ชำรุดน้ำรั่วเข้ามอเตอร์ ไฟช็อตซีลเปื่อย/หมดอายุมีการอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนด
มีการตรวจสอบสภาพของปั๊มตามระยะเวลาที่กำหนด
ซีลมีรอยฉีกขาดมีการตรวบสอบสินค้าก่อนทำการรับเข้า
6ระบบไฟฟ้าน้ำรั่วเข้าบล็อกไฟไฟช็อตซีลกันน้ำชำรุดมีการอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนด
มีการตรวจสอบสภาพของปั๊มตามระยะเวลาที่กำหนด
เคเบิ้ลแกลนด์ชำรุดมีการอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนด
มีการตรวจสอบสภาพของปั๊มตามระยะเวลาที่กำหนด
สายไฟขาด/ชำรุดไฟช็อตสายไฟเปื่อย/ขาดมีการติดตั้งสายดินและระบบป้องกันไฟรั่ว
มีการตรวจสอบสภาพของปั๊มตามระยะเวลาที่กำหนด

จากตัวอย่างข้างต้นเพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือ Failure Mode and Effects Analysis (FMEA) จะต้องลิสต์ส่วนประกอบของเครื่องจักรที่สำคัญ และทุกความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในกรณีเครื่องจักรเกิดการชำรุดเสียหายมาเขียน ดังนั้นหากมีข้อมูลส่วนไหนขาดตกบกพร่องไปก็จะทำให้เกิดความไม่ครอบคลุมขึ้นทันที มันจึงเป็นเรื่องยากที่จะเขียนครั้งแรกแล้วออกมา Perfect ครอบคลุมได้ทุกกรณี  แต่เมื่อทำไปครั้งหนึ่งแล้วเพื่อนๆ ก็สามารถใช้เจ้าเครื่องมือตัวนี้ เพื่ออ้างอิงสาเหตุการเสียแบบต่างๆ กันไปได้ยาวๆ เลยและหากเจออาการเสียใหม่ๆ ก็สามารถที่จะอัพเดทเพิ่มเติมได้ในภายหลัง

จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความ FMEA สำหรับงานซ่อมบำรุง ใช้งานอย่างไร เพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้และตัวอย่างการใช้งานเครื่องมือนี้กันอย่างครบถ้วน ในบทความถัดไป เรามาดูในส่วนของ การประยุกต์ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาการ Breakdown แบบต่างๆ

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 2

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Technical Center Team

ค้นหารายการสินค้า​

No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save