Home » Technical » Industrial Standard » แผนภูมิพาเรโต้ ใช้งานอย่างไร

Pareto Chart ใช้งานอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ

จากบทความก่อนหน้านี้เพื่อนๆ ได้ทราบถึงเครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาการชำรุดของเครื่องจักร ไม่ว่าจะเป็น 5 Whys Analysis หรือ Why-Why Analysis และ แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) เรามาดูเครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาการชำรุดของเครื่องจักรอันถัดไปกันครับ หากเพื่อนๆ กำลังประสบปัญหาว่าในไลน์การผลิตที่มีเครื่องจักรเจ้าปัญหาซึ่งในแต่ละเดือนมีปัญหา Breakdown ให้ต้องซ่อมกันสารพัดอย่าง และยังไม่รู้จะจัดการกับเรื่องไหนก่อนดี ก็ถึงเวลามาทำความรู้จักกับเครื่องมือตัวถัดไปที่จะเป็นอัศวินขี่ม้าขาวมาช่วยเพื่อนๆ กันแล้วครับ นั่นก็คือ แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Chart) นั่นเอง

แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Chart) คือ อะไร

Pareto Chart

แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Chart) คือ แผนภูมิผสมระหว่างกราฟแท่งและกราฟเส้น โดยกราฟแท่งจะใช้บอกปริมาณของข้อมูล เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย และกราฟเส้นจะบอกปริมาณของข้อมูลนั้นว่านับเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งกราฟเหล่านี้จะเป็นตัวบอกเพื่อนๆว่า ปัญหาอะไรในเครื่องจักรที่ต้องได้รับการแก้ไขเป็นลำดับแรกๆ แล้วจะส่งผลให้อัตราการเสียเวลาทั้งหมดลดลง

“กฎพาเรโต้” (Pareto Principle) คือ อะไร

Pareto Principle

หลักการของ Pareto Chart นี้ จะอ้างอิงตามหลักของกฎ 80:20 หรือที่ถูกเรียกว่า “กฎพาเรโต้” (Pareto principle) กล่าวคือ ผลลัพธ์ 80%ที่เกิดขึ้นนั้น มาจากสาเหตุหลัก 20% ซึ่งนั่นสามารถแปลความหมายได้ว่า หากเราสามารถค้นหาและจัดการสาเหตุ 20% นั้นได้ ก็จะสามารถลดการเสียเวลา 80% ลงไปได้เลย

ฟังดูน่าสนใจขึ้นมาแล้วใช่ไหมครับ แต่เพื่อนๆ อีกหลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วเราจะหาสาเหตุ 20% นั้นจาก Pareto Chart นี้ได้อย่างไรกันล่ะ? ถ้าอย่างนั้นมาลองดูตัวอย่างนี้ไปพร้อมกันเลยครับ

ตัวอย่างการใช้งาน แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Chart)

เรามาดูตัวอย่างการใช้งานแผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Chart) กันครับ ซึ่งตารางที่เพื่อนๆ เห็นอยู่นี้คือตารางแสดงรายการการเกิด Breakdown ของเครื่อง Packing ซึ่งหน่วยงานซ่อมบำรุงมักจะได้รับจากฝ่ายการผลิตหรือหน่วยงาน QC เป็นหลัก จากข้อมูลนี้จะเห็นได้ว่า มีอัตราการเสียทั้งหมด 15 ครั้ง ในช่วงวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2023 เพื่อนๆ บางคนพอเจอข้อมูลเข้ามาละลานตาแบบนี้ก็ไปกันต่อไม่ถูกเลย ใจเย็นๆ ครับเรามาลองสังเกตุดู จะพบว่า มีหลายครั้งที่เครื่องจักรเสียนั้น เกิดจากสาเหตุเดียวกัน แต่คำถามที่สำคัญคือ…เราควรจะต้องเลือกทำอันไหนล่ะเพื่อให้การเสียเวลาลดลงมากที่สุด และเพื่อตอบโจทย์นั้น ก็ถึงเวลาที่เราจะเริ่มใช้งาน Pareto Chart กันแล้ว

แต่ก่อนที่เราจะนำข้อมูลลงในแผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Chart) เพื่อนๆ จำเป็นต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาคัดกรอง และจัดกลุ่มแยกไว้เป็นแต่ละประเภท และเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยก่อน ซึ่งเมื่อทำเสร็จแล้วก็จะได้ตารางตามรูปด้านล่างนี้ ซึ่งผมจะขอเรียกว่า “ตารางสรุปอัตราการเกิด Breakdown ของเครื่องจักร”

เมื่อทำ “ตารางสรุปอัตราการเกิด Breakdown ของเครื่องจักร” ได้แล้ว ทีนี้เพื่อนก็จะเริ่มเห็นแล้วว่า…เครื่องจักรใดบ้างที่ใช้เวลาซ่อมนาน และเครื่องจักรใดบ้างที่ใช้เวลาซ่อมแค่เพียงแป๊บเดียว ก็ให้นำข้อมูลจากตารางข้างบน มาพล็อตเป็นแผนภูมิพาเรโต้ ก็็จะได้ภาพตามด้านล่างนี้

จากภาพด้านบน เพื่อนๆจะเห็นว่า เมื่อทำการพล็อตกราฟออกมาแล้ว จากการเสียเวลาทั้งหมดมีแค่เพียง 2 สาเหตุเท่านั้นที่เป็นตัวทำให้เกิดการเสียเวลาหลักๆ หรือ 80% ของการเสียเวลาทั้งหมด ดังนั้นหากเราโฟกัสที่การแก้ปัญหาทั้ง 2 สาเหตุนี้ได้ อัตราการเสียเวลาที่เกิดจากเครื่องจักรตัวนี้ ก็จะลดลงจนเกือบหมดไป

ข้อเสียของการใช้งาน แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Chart)

ข้อเสียเดียวของ แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Chart) คือ ไม่สามารถลงลึกถึงต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ เพียงแต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราค้นหาและเลือกเอาสาเหตุของการเสียหลักๆ ของเครื่องจักรมาแก้ปัญหาได้เท่านั้น จึงเป็นการดีกว่าหากใช้ Pareto Chart นี้ควบคู่ไปกับเครื่องมือวิเคราะห์อื่นๆ

จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความ “แผนภูมิพาเรโต้ ใช้งานอย่างไร” พร้อมทั้งตัวอย่างการสร้างแผนภูมิชนิดนี้ เพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้กันไปไม่มากก็น้อยสำหรับบทความนี้ สำหรับเครื่องมือชนิดนี้ นอกจากนี้แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Chart) นั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ ได้อีกด้วยตัวอย่างเช่น แผนภูมิก้างปลา, 5 Whys Analysis เป็นต้น.

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. คะแนนโหวต: 10

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Technical Center Team

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Chart) เพิ่มเติมได้ที่นี่
No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง