Home » Technical » Pneumatic » Vacuum Pad คืออะไร

รู้จักกับ Vacuum Pad แต่ละชนิดพร้อมตัวอย่างการใช้งาน

การออกแบบเครื่องจักรอัตโนมัติในอุตสาหกรรม อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการจับชิ้นงาน นอกจากจะมี กริปเปอร์นิวเมติกส์ (Air Gripper), แล้วก็ยังมี ตัวดูดสูญญากาศหรือที่รู้จักกันในชื่อของ “Vacuum Pad” หรือ “Suction Cup” ในบทความนี้เราจะมาดูกันครับว่า ตัวดูดสูญญากาศ มีความสำคัญอย่างไร รวมไปถึงตัวอย่างการใช้งานของตัวดูดสูญญากาศ รูปแบบต่างๆ

what-is-vacuum-pad
กริปเปอร์นิวเมติกส์ (Air Gripper)
what-is-vacuum-pad
ตัวดูดสูญญากาศ (Vacuum Pad)

Vacuum Pad คืออะไร

ตัวดูดสูญญากาศ (Vacuum Pad) คือ อุปกรณ์จับชิ้นงานรูปแบบหนึ่งที่อาศัยความแตกต่างระหว่างความดันอากาศและสูญญากกาศเพื่อจับวัตถุ เพื่อป้องกันรอยและป้องกันความเสียหายต่างๆ ตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

what-is-vacuum-pad
ตัวอย่างการทำงานของ Vacuum Pad
what-is-vacuum-pad
ตัวอย่างการใช้งาน Vacuum Pad จับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่าง Vacuum Pad ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม

ในบทความนี้เราจะมาดูตัวอย่าง 3 Vacuum Pad ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม พร้อมตัวอย่างการใช้งาน

1.Standard Vacuum Pad

suction-cap
Standard Vacuum Pad
Vacuum-pad-standard-type-usage
ตัวอย่างการใช้งาน
Standard Vacuum Pad

เหมาะสำหรับดูดจับวัตถุที่มีผิวเรียบหรือขรุขระเล็กน้อย หัวดูดสูญญากาศประเภทนี้สามารถจับชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว เพราะระยะห่างระหว่างหัวดูดกับชิ้นงานห่างกันไม่มากนัก ข้อดีของหัวจับรูปแบบนี้สามารถจับชิ้นงานในขณะเคลื่อนที่ได้

2.Deep Vacuum Pad

type-suction-cap
Deep suction cap
Vacuum-pad-deep-type-usage
ตัวอย่างการใช้งาน
Deep suction cap

เหมาะสำหรับดูดจับวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกับลูกบอลหรือวัตถุที่มีความโค้งมาก เช่น ไข่ไก่หรือผลไม้

3.Small Vacuum Pad

type-suction-cap
Small Vacuum Pad
Vacuum-pad-small-type-usage
ตัวอย่างการใช้งาน
Small Vacuum Pad

เหมาะสำหรับดูดจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ขนาดเล็ก เช่น Semiconductor , IC chip เป็นต้น โดยหัวดูดสูญญากาศรูปแบบนี้จะมีส่วนปลายที่มีขนาดเล็กมากทำให้สามารถดูดจับวัตถุขนาดเล็กได้ ด้วยแรงดึงสูง

ข้อดีและข้อเสียของ Vacuum Pad

ข้อดี

  • สามารถจับชิ้นงานได้หลากหลายขนาด เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ,กล่องสินค้าแบบต่างๆ เป็นต้น
  • มีรูปร่างให้เลือกใช้งานมากมาย ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการหยิบ
  • สามารถจับชิ้นงานได้แม้จะอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องก็ตาม
  • สามารถจับชิ้นงานที่มีความบางเพื่อและง่ายต่อการเสียหายได้ เช่น แผ่นพลาสติก

ข้อเสีย

  • สิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลต่อการจับชิ้นงาน เช่น ฝุ่นละออง
  • มีการคำนวณที่ยุ่งยากซับซ้อน ในกรณีจับชิ้นงานที่ชิ้นงานมีความหนาไม่เท่ากัน เพราะพื้นที่รับแรงดูดในแต่ละจุด อาจจะมีค่าที่ไม่เท่ากัน

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความเกี่ยวกับ ตัวดูดสูญญากาศ Vacuum Pad หรือ Suction Cup หวังว่าเพื่อนๆ จะได้ความรู้และไอเดียสำหรับการนำอุปกรณ์ชิ้นนี้ไปใช้ในการออกแบบเครื่องจักรอุตโนมัติกันนะครับ ในบทความถัดไป เรามาดูวิธีการเลือกตัวดูดสูญญากาศ กันครับว่าเราต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง หากเพื่อนๆ สนใจบทความเกี่ยวกับอะไรเป็นพิเศษ สามารถแจ้งให้เราทราบได้เลยครับ

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4 / 5. คะแนนโหวต: 5

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า Vacuum pad เพิ่มเติมได้ที่นี่
Related Content

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง