โซลินอยด์วาล์ว 5/3 แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร ?
สารบัญ
จากบทความที่แล้วเพื่อนๆ ได้รู้จักกับ โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) แต่ละประเภทกันไปแล้วใช่ไหมครับ ในบทความนี้เราจะมาดูตัวอย่างการใช้งาน โซลินอยด์วาล์ว 5/3 แบบ Closed center, Exhaust Center และ Pressure Center กันครับว่าแตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงตัวอย่างการใช้งาน ว่าเหมาะกับการใช้งานประเภทไหนในการออกแบบเครื่องจักรอัตโนมัติ
โครงสร้างของโซลินอยด์วาล์ว 5/3
ก่อนจะไปดูตัวอย่างการใช้งาน เรามาดูรูปแบบการทำงานของโซลินอยด์วาล์ว 5/3 กันครับว่ามีกี่แบบ และมีจุดสังเกตุ คืออะไร
โซลินอยด์วาล์ว แบบ 5/3 หมายถึง โซลินอยด์วาล์วรูปแบบนี้จะมีด้วยกัน 5 พอร์ต 3 ตำแหน่ง โดยมีขดลวดโซลินอยด์และสปริงติดตั้งอยู่ทั้ง 2 ฝั่ง ในบางรุ่นอาจมีปุ่มสำหรับทดลองการทำงาน (manual override) ติดตั้งมาด้วย เพื่อนๆ สามารถอ่านเรื่องสัญลักษณ์วาล์วเพิ่มเติมได้ที่นี่่
รูปแบบการทำงานของโซลินอยด์วาล์ว 5/3
การพิจารณารูปแบบการทำงานของโซลินอยด์วาล์ว 5/3 เราจะพิจารณาจาก ห้องลมตรงตำแหน่งกึ่งกลาง ซึ่งมีดังนี้
Symbol | ชื่อเรียก | รูปแบบของลมอัดในสภาวะปกติ |
---|---|---|
Closed Center | ลมอัดไม่สามารถไหลเข้าออกได้ | |
Exhaust Center | ลมอัดสามารถระบายออกจากระบบได้ | |
Pressure Center | ลมอัดสามารถไหลเข้าสู่ระบบตลอดเวลา |
ตัวอย่างการใช้งาน โซลินอยด์วาล์ว 5/3
เรามาดูตัวอย่างการใช้งาน โซลินอยด์วาล์ว 5/3 แต่ละรูปแบบกันครับ
Solenoid valves 5/3 Closed Center
ตัวอย่างการทำงาน
จากวิดีโอจะเห็นได้ว่า ตำแหน่งของกระบอกสูบสามารถเคลื่อนที่ได้ถึง 3 ตำแหน่ง การใช้วาล์วประเภทนี้ เพื่อนๆ สามารถควบคุมให้กระบอกสูบหยุดอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางในขณะใช้งานได้ เมื่อเพื่อนๆ หยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่โซลินอยด์วาล์ว วาล์วจะเครื่องที่กลับเข้าสู่ตำแหน่งเริ่มต้น เมื่อลองเลื่อนก้านกระบอกสูบจะพบว่าสามารถทำได้ยากเพราะยังมีลมอัดค้างอยู่ภายในของกระบอกสูบ
วาล์วชนิดนี้นิยมใช้ในการออกแบบระบบการทำงานของ Air Lifter ที่ต้องการความปลอดภัยในกรณีที่เกิดไฟดับ นั่นก็คือเมื่อเกิดไฟดับสถานะการทำงานจะเปลี่ยนเป็นตำแหน่งกลางที่ทุกพอร์ตถูกปิดไว้ จึงทำให้ยังคงมีลมอัดบางส่วนค้างอยู่ในระบบ Air Lifter ซึ่งจะช่วยพยุงอุปกรณ์ แม้ว่าจะไม่ได้จ่ายลมอัดเข้ามาในระบบเพิ่มเติมก็ตาม
ตัวอย่างการใช้งาน เช่น Air Lifter เมื่อเครื่องจักรหยุดทำงาน ตัว Lifter จะอยู่ในตำแหน่งเดิมถึงแม้จะมีสิ่งของอยู่บน Air Lifter อย่างไรก็ตามเมื่อทิ้งไว้เป็นเวลานานแรงดันภายในจะค่อยๆ ลดลงทำให้ Air Lifter เคลื่อนที่ลงตามน้ำหนักของวัตถุ
Solenoid valves 5/3 Exhaust Center
ตัวอย่างการทำงาน
จากวิดีโอจะเห็นได้ว่า ตำแหน่งของกระบอกสูบสามารถเคลื่อนที่ได้ถึง 3 ตำแหน่ง เหมือนกับตัวอย่างข้างต้น แต่มีจุดแตกต่างกันคือ เมื่อเพื่อนๆ หยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่โซลินอยด์วาล์ว วาล์วจะเครื่องที่กลับเข้าสู่ตำแหน่งเริ่มต้น คือ ตำแหน่งกึ่งกลาง เพื่อนๆ สามารถที่จะขยับตำแหน่งของก้านสูบไปมาได้อย่างสะดวกสบาย เพราะลมอัดที่อยู่ภายในวาล์วนั้นถูกระบายออกไปหมดแล้ว
ตัวอย่างการใช้งาน เช่น กระบอกสูบที่มีการเคลื่อนที่ตามแนวราบ Turn Table เป็นต้น
Solenoid Valve 5/3 Pressure Center
ตัวอย่างการทำงาน
จากวิดีโอจะเห็นได้ว่า ตำแหน่งของกระบอกสูบสามารถเคลื่อนที่ได้ถึง 3 ตำแหน่ง เหมือนกับตัวอย่างข้างต้น แต่มีจุดแตกต่างกันคือ เมื่อเพื่อนๆ หยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่โซลินอยด์วาล์ว วาล์วจะเครื่องที่กลับเข้าสู่ตำแหน่งเริ่มต้น คือ ตำแหน่งกึ่งกลาง ซึ่งจะมีลมอัดไหลเข้าสู่กระบอกสูบตลอดเวลา ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ในการจับชิ้นงานไม่ให้ตกหล่น
ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้งานร่วมกับ Air Gripper
จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความเกี่ยวกับ Solenoid Valve 5/3 แต่ละแบบต่างกันอย่างไร ? พร้อมตัวอย่างการใช้งานในแต่ละรูปแบบ หากเพื่อนๆ ถูกใจบทความนี้หรือมีคำติชมใดๆ สามารถให้กำลังใจทีมงานผู้จัดทำเว็บไซต์ได้ที่ช่องคอมเมนต์ด้านล่าง และหากสนใจสินค้าคุณภาพสูงจากทางบริษัท KOGANEI สามารถเลือกดูสินค้าเพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้เลยครับ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
ส่วนใหญ่มักจะใช้กับ Air Lifter เมื่อเครื่องจักรหยุดทำงาน ตัว Lifter จะอยู่ในตำแหน่งเดิมถึงแม้จะมีสิ่งของอยู่บน Air Lifter อย่างไรก็ตามเมื่อทิ้งไว้เป็นเวลานานแรงดันภายในจะค่อยๆ ลดลงทำให้ Air Lifter เคลื่อนที่ลงตามน้ำหนักของวัตถุ
กระบอกสูบที่มีการเคลื่อนที่ตามแนวราบ และ Turn Table
ใช้งานร่วมกับ Air Gripper