วิธีการเลือก Linear Guide ให้เหมาะสมกับงาน
สารบัญ
- วิธีการเลือก Linear Guide ให้เหมาะสมกับงาน
- รางสไลด์ (Linear Guide) คืออะไร
- โครงสร้างของ Linear Guide
- ขั้นตอนการใช้โปรแกรมคำนวณค่าต่างๆ ของ Linear Guide
- ตัวอย่าง การหาค่า Basic Dynamic Load Rating ของ Linear Guide ทำได้อย่างไร
- ตัวอย่าง การหาค่า Working Load หรือ ค่า P ของ Linear Guide ทำได้อย่างไร
- ตัวอย่าง การหาค่า L หรือ Rated Life Span ของ Linear Guide ทำได้อย่างไร
Linear Guide เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ออกแบบกลไกในระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ แล้วเราจะเลือกอุปกรณ์ชิ้นนี้ได้อย่างไร วันนี้ทาง MISUMI Technical เรามีโปรแกรมที่ช่วยในการคำนวณ เพื่อเลือก Linear Guide ให้เหมาะสบกับงานของเพื่อนๆ เรามาดูกันครับว่า โปรแกรมนี้มีการใช้งานอย่างไร ทั้งหมดนี้หาคำตอบได้ในบทความนี้
รางสไลด์ (Linear Guide) คืออะไร
รางสไลด์ (Linear guide) จะทำหน้าที่รับน้ำหนักของอุปกรณ์ที่นำมาประกอบกับสไลด์บล๊อค เช่น โต๊ะชิ้นงานขนาดเล็ก และเคลื่อนที่ไปตามรางโดยอาศัยการกลิ้งของเม็ดลูกปืนภายใน ช่วยลดแรงเสียดทานในขณะเคลื่อนที่ เพื่อนๆ สามารถอ่านรายละเอียดของอุปกรณ์ Linear Guide เพิ่มเติมได้ที่ “รางสไลด์ (Linear guide) คืออะไร เข้าใจได้ภายใน 5 นาที ”
โครงสร้างของ Linear Guide
ก่อนเราจะไปดูวิธีการเลือก Linear guide เรามาดูส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์ชิ้นนี้กันครับว่ามีอะไรบ้าง
เพื่อนๆสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ ” ส่วนประกอบของ Linear Guide “
- ราง : ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของสไลด์บล๊อค (slide block)
- สไลด์บล๊อค : ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดการเคลื่อนที่ของของส่วนประกอบที่ติดตั้งอยู่บนสไลด์บล๊อค ให้เคลื่อนที่ไปตามแนวราง
- เม็ดลูกปืน : ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเคลื่อนที่ระหว่างสไลด์บล็อคและราง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ต้านทานความเสียดทานต่ำ
- ร่องลูกปืน : ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยให้เม็ดลูกปืนไหลเวียนไปได้ตลอดการเคลื่อนที่
- ซีล : เป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอม เข้าไปยังสไลด์บล๊อค(slide block) และยังสามารถป้องกันการรั่วไหลของสารหล่อลื่น
- หัวอัดจารบี : เปรียบเสมือนเป็นประตูทางผ่านของสารหล่อลื่น เพื่อลดการเสียดสี และการสึกกร่อนของลูกปืนภายใน
ขั้นตอนการใช้โปรแกรมคำนวณค่าต่างๆ ของ Linear Guide
โปรแกรมคำนวณค่าต่างๆ ของ Linear Guide สามารถคำนวณค่าต่าง ๆ ได้ดังนี้ Basic Dynamic Load Rating หรือค่า C , Working load หรือค่า P และ Rated Life Span หรือ ค่า L เรามาดูกันครับว่า เราจะใช้โปรแกรมนี้หาค่าเหล่านี้ได้อย่างไร
- เข้าเว็บไซต์ https://th.misumi-ec.com/
- เข้าไปที่แถบเครื่องมือ “ข้อมูลทางเทคนิค” บนเว็บไซต์ MISUMI
- คลิกเลือก”โปรแกรมคำนวณอุปกรณ์ในระบบออโตเมชั่น”
- คลิกเลือก “โปรแกรมคำนวณ รางสไลด์ (Linear Guide) อย่างง่าย“
- คลิกเลือก Parameter ที่ต้องการหาค่า ซึ่งในโปรแกรมสามารถเลือกได้ด้วยกัน 3 ค่าดังนี้
- ค่า C : Basic Dynamic Load Rating(N) คือ แรงที่กระทำในแนวรัศมีซึ่งสามารถรับได้
- ค่า P : Working Load (N) คือ ภาระโหลดที่สามารถรับได้ของ Linear Guide
- ค่า L : Rate of Life Span คือ อายุการใช้งานของ Linear Guide สามารถเลือกได้ทั้งเป็นจำนวนระยะทาง (km) หรือจำนวนชั่วโมง (hr) ก็สามารถทำได้เช่นกัน
ตัวอย่าง การหาค่า Basic Dynamic Load Rating ของ Linear Guide ทำได้อย่างไร
ในการหาค่า Basic Dynamic Load Rating สามารถทำได้ดังนี้
- เลือก C: Basic Dynamic Load Rating
- กรอกค่า L : Rated Life Span โดยในตัวอย่างนี้จะคำนวณอายุการใช้งานตามระยะทางของการเคลื่อนที่ของ Linear Guide ในหน่วย กิโลเมตร ในส่วนของการคำนวณโดยการใช้ระยะเวลาเป็นหน่วยชั่วโมง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
- กรอกค่า P:Working Load
- เลือกค่าความแข็งและวัสดุของเพลา โดยมีให้เลือกด้วยกัน 2 เกรด
- 58 HRC – 52100 Bearing Steel เป็นเหล็กที่มีคุณสมบัติ ลดแรงเสียดทานบนตลับลูกปืน (Anti Friction bearing)
- 56 HRC – 440C Stainless Steel เป็นเหล็กสเตนเลสเหมาะสำหรับใช้ผลิตเครื่องมือผ่าตัด และเครื่องมือวัด
- เลือกจำนวนลูกบล็อคของ Linear Guide ใน 1 รางได้สูงสุดไม่เกิน 2 ชิ้น
- เลือกอุณหภูมิที่ใช้งาน สามารถเลือกได้สูงสุดถึง 120 ℃
- ใส่ค่า Condition of use (สภาพแวดล้อมในการใช้งาน) โดยมีให้เลือกใช้ดังนี้
- Low speed with no external vibration (Max 15 m/min)
[ไม่มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่เกิน 15 เมตร/นาที] - Middle range speed with no exerted vibration or impact of considerable force (Max. 60 m/min)
[ไม่มีแรงสั่นสะเทือนและแรงกระทำจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วปานกลาง สูงสุดไม่เกิน 60 เมตร/นาที] - High speed with no external vibration or impact (Over 60 m/min)
[ไม่มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากกว่า 60 เมตร/นาที]
- Low speed with no external vibration (Max 15 m/min)
- เมื่อกรอกค่าครบถ้วนแล้ว โปรแกรมจะแสดงผลลัพท์ของ Basic Dynamic Load Rating ในกรอบสีเหลือง
- คลิกเลือกชนิดของ Linear Guide ที่ต้องการโดยโปรแกรมได้ จำแนกมาด้วยกัน 3 รูปแบบใหญ่ๆ ดังนี้ (ในที่นี้จะเลือกเป็น Minature)
- Minature (ขนาดเล็ก)
- Standard (ขนาดมาตรฐาน)
- C-Value (สินค้าราคาประหยัด)
- หลังจากนั้น ตัวโปรแกรมจะแสดง Linear Guide รุ่นต่างๆ ที่มีคุณสมบัติตรงกับค่าที่ได้จากการคำนวณ เพื่อนๆ สามารถดูข้อมูลสินค้าคราวๆ ได้ตรงจุดนี้ หากต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าเพิ่มเติม ให้คลิกที่สินค้าซี่รี่ย์นั้น ตัวอย่างเช่น RE2BL
- หลังที่จากที่ทำการคลิกแล้วโปรแกรมจะแสดงข้อมูลของ สินค้าซี่รี่ย์นั้นอย่างละเอียด ตามรูปด้านล่าง โดยสามารถดูรหัสสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ช่อง “Product code”
ตัวอย่าง การหาค่า Working Load หรือ ค่า P ของ Linear Guide ทำได้อย่างไร
จากตัวอย่างที่แล้ว เราได้ทำการหาค่า Basic Dynamic Load Rating ของ Linear Guide กันไปแล้ว เรามาดูวิธีการหาค่า Working Load กันครับว่าทำได้อย่างไร
- เลือก P : Working Load
- กรอกค่า L : Rated Life Span
- กรอกค่า C: Basic Dynamic Load Rating
- เลือกค่าความแข็งและวัสดุของเพลา โดยมีให้เลือกด้วยกัน 2 เกรด
- 58 HRC – 52100 Bearing Steel เป็นเหล็กที่มีคุณสมบัติ ลดแรงเสียดทานบนตลับลูกปืน (Anti Friction bearing)
- 56 HRC – 440C Stainless Steel เป็นเหล็กสเตนเลสเหมาะสำหรับใช้ผลิตเครื่องมือผ่าตัด และเครื่องมือวัด
- เลือกจำนวนลูกบล็อคของ Linear Guide ใน 1 รางได้สูงสุดไม่เกิน 2 ชิ้น
- เลือกอุณหภูมิที่ใช้งาน สามารถเลือกได้สูงสุดถึง 120 ℃
- ใส่ค่า Condition of use (สภาพแวดล้อมในการใช้งาน) โดยมีให้เลือกใช้ดังนี้
- Low speed with no external vibration (Max 15 m/min)
[ไม่มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่เกิน 15 เมตร/นาที] - Middle range speed with no exerted vibration or impact of considerable force (Max. 60 m/min)
[ไม่มีแรงสั่นสะเทือนและแรงกระทำจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วปานกลาง สูงสุดไม่เกิน 60 เมตร/นาที] - High speed with no external vibration or impact (Over 60 m/min)
[ไม่มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากกว่า 60 เมตร/นาที]
- Low speed with no external vibration (Max 15 m/min)
- เมื่อกรอกค่าครบถ้วนแล้ว โปรแกรมจะแสดงผลลัพท์ของ Working Load ในกรอบสีฟ้า
ตัวอย่าง การหาค่า L หรือ Rated Life Span ของ Linear Guide ทำได้อย่างไร
จากตัวอย่างที่แล้ว เราได้ทำการหาค่า Basic Dynamic Load Rating ของ Linear Guide กันไปแล้ว เรามาดูวิธีการหาค่า Working Load กันครับว่าทำได้อย่างไร
- เลือก L : Rated Life Span (สามารถอ่านวิธีการเปลี่ยนหน่วยอายุการใช้งานจาก กิโลเมตร (km) เป็น ชั่วโมง (hr) ได้ที่นี่)
- กรอกค่า P : Working Load
- กรอกค่า C: Basic Dynamic Load Rating
- เลือกค่าความแข็งและวัสดุของเพลา โดยมีให้เลือกด้วยกัน 2 เกรด
- 58 HRC – 52100 Bearing Steel เป็นเหล็กที่มีคุณสมบัติ ลดแรงเสียดทานบนตลับลูกปืน (Anti Friction bearing)
- 56 HRC – 440C Stainless Steel เป็นเหล็กสเตนเลสเหมาะสำหรับใช้ผลิตเครื่องมือผ่าตัด และเครื่องมือวัด
- เลือกจำนวนลูกบล็อคของ Linear Guide ใน 1 รางได้สูงสุดไม่เกิน 2 ชิ้น
- เลือกอุณหภูมิที่ใช้งาน สามารถเลือกได้สูงสุดถึง 120 ℃
- ใส่ค่า Condition of use (สภาพแวดล้อมในการใช้งาน) โดยมีให้เลือกใช้ดังนี้
- Low speed with no external vibration (Max 15 m/min)
[ไม่มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่เกิน 15 เมตร/นาที] - Middle range speed with no exerted vibration or impact of considerable force (Max. 60 m/min)
[ไม่มีแรงสั่นสะเทือนและแรงกระทำจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วปานกลาง สูงสุดไม่เกิน 60 เมตร/นาที] - High speed with no external vibration or impact (Over 60 m/min)
[ไม่มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากกว่า 60 เมตร/นาที]
- Low speed with no external vibration (Max 15 m/min)
- เมื่อกรอกค่าครบถ้วนแล้ว โปรแกรมจะแสดงผลลัพท์ของ Rated Life Span ในกรอบสีน้้ำตาล
จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความ การหาค่า Basic Dynamic Load Rating หรือค่า C , Working load หรือค่า P และ Rated Life Span หรือ ค่า L เพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการคำนวณเบื้องต้นของอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่มากก็น้อย นอกจากนี้ตัวโปรแกรมยังรองรับการแปลงหน่วยจากนิวตัน (N) ให้เป็นหน่วยในระบบอังกฤษ (lbf) ได้อีกด้วย, ในบทความถัดไปเรามาดูกันครับว่า จะมีโปรแกรมคำนวณทางวิศวกรรมตัวไหนที่น่าสนใจที่ทาง MISUMI Technical จะนำมาฝากกันครับ