วิธีการเลือก KUA Actuator ให้เหมาะสมกับงาน
สารบัญ
KUA Actuator เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ แล้วเราจะเลือกอุปกรณ์ชิ้นนี้ได้อย่างไร วันนี้ทาง MISUMI Technical เรามีโปรแกรมที่ช่วยในการคำนวณ เพื่อเลือก Actuator KUA ซีรี่ส์ ชิ้นนี้ให้เหมาะสบกับการใช้งานของเพื่อนๆ เรามาดูกันครับว่า โปรแกรมนี้มีการใช้งานอย่างไร
โครงสร้างของ KUA Actuator
KUA Actuator มีด้วยกัน 2 ชนิด เรามาดูส่วนประกอบพื้นฐานของ KUA Actuator กันครับว่ามีอะไรบ้าง
- Table เป็นโต๊ะสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เซนเซอร์ อุปกรณ์ปั๊มดูดสุญญากาศ
- Ball Screw เป็นชุดกลไกที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของโต๊ะ
- Motor bracket เป็นหน้าแปลนสำหรับประกอบเข้ากับมอเตอร์ส่งกำลังให้กับระบบ
- Linear Guide เป็นชุดรางไกด์สำหรับสร้างแนวการเคลื่อนที่ ป้องกันไม่ให้โต๊ะเคลื่อนที่เบี้ยวไปจากตำแหน่งที่กำหนดไว้
- Base เป็นฐานสำหรับติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับอุปกรณ์อื่นๆ ในเครื่องจักรอัตโนมัติ
KUA Series กับ KUB Series ต่างกันอย่างไร
หากพิจารณาจากรูปลักษณะภายนอก KUA Series กับ KUB Series นั้นจะมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ KUA Series นั้นจะใช้งานร่วมกับ Servo motor ซึ่งมีความแม่นยำในการขับเคลื่อนสูงกว่า KUB Series ซึ่งขับเคลื่อนด้วย Stepping motor
ขั้นตอนการเลือก KUA Actuator โดยใช้โปรแกรมจากทาง MISUMI
เรามาดูขั้นตอนการเลือก KUA Actuator กันครับว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง
- เข้าเว็บไซต์ https://th.misumi-ec.com/
- เข้าไปที่แถบเครื่องมือ “ข้อมูลทางเทคนิค” บนเว็บไซต์ MISUMI
- คลิกเลือก”โปรแกรมคำนวณอุปกรณ์ในระบบออโตเมชั่น”
การเลือก KUA Actuator ขั้นตอนที่ 1 Selection
- การเลือก KUA Actuator ขั้นตอนที่ 1 นั้นให้เลือก Part Number ของ actuator ก่อนโดยสามารถดูข้อมูลสินค้าได้ตามด้านล่าง
- 5.1 ในส่วนของ 2 หลักแรก หมายถึง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบอลสกรู (Ball Screw Diameter) ตัวอย่างเช่น 12 หมายถึง เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 mm.
- 5.2 ในส่วนของตัวเลขถัดไป หมายถึง ระยะพิตซ์ของบอลสกรู (Ball Screw Lead) ตัวอย่างเช่น 04 หมายถึง ระยะพิตซ์ 4 mm.
- เลือกระยะความยาวของฐาน Actuator (Base Length : L)
- เลือกความยาวของโต๊ะเลื่อน (Table Length or Block Length : L1)
- เลือกรูปแบบการติดตั้งของ KUA Actuator โดยมีให้เลือกด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ แนวนอน (Horizontal), แนวตั้ง (Vertical) และ ติดตั้งกับผนัง (Wall mount)
* เมื่อทำการเลือกข้อมูลครบทั้งหมดแล้ว จะเห็นได้ว่าโปรแกรมได้ทำการสร้างรหัสสินค้า (Product Code) โดยอัตโนมัติ นั่นก็คือ KUA1204-340-100 - คลิกปุ่ม Next เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป
การเลือก KUA Actuator ขั้นตอนที่ 2 Operation Conditions
ใส่ค่าสำหรับใช้ในการคำนวณของตัวแปรแต่ละค่า ตามที่ผู้ใช้งานได้ออกแบบไว้
- ใส่ค่าระยะ Stroke (เป็นระยะการเคลื่อนที่ของโต๊ะเลื่อนที่ได้กำหนดไว้) เช่น 100 mm.
- ใส่ค่า Movement Speed (V) หรือค่าความเร็วในการเคลื่อนที่โดยประมาณ เช่น 200 mm/sec.
- ใส่ค่า Accelaration/Deccelaration time (ระยะเวลาของการเคลื่อนที่ในช่วงที่มีความเร่งความเร็วและความหน่วง) เช่น 0.3 sec
- ใส่ค่า Cycle per minute (จำนวนรอบของการเคลื่อนที่ ใน 1 นาทีโดยนับจากการเคลื่อนที่ไปและกลับ นับเป็น 1 รอบ) เช่น 3 min-1
- ใส่ค่า Load Coefficient (ค่า Safety Factor อันเนื่องมากจากการสั่นสะเทือนในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง) เช่น 1.2
- ใส่ค่า Operating condition (สภาพแวดล้อมในการใช้งาน) โดยมีให้เลือกใช้ดังนี้
- No external impact vibration and low speed (≦ 15 m/min)
[ไม่มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำกว่า 15 เมตร/นาที] - Little external impact vibration and medium speed (≦ 60 m/min)
[มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอกเล็กน้อย และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วน้อยกว่า 60 เมตร/นาที] - External impact vibration and high speed (≧ 60 m/min)
[มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอก และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากกว่า 60 เมตร/นาที]
- No external impact vibration and low speed (≦ 15 m/min)
- คลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป
การเลือก KUA Actuator ขั้นตอนที่ 3 Mounting Conditions
- ใส่ค่า W (kg) หรือน้ำหนักของชิ้นงานที่วางบนโต๊ะสำหรับวางชิ้นงาน เช่น 5 (ไม่ต้องใส่หน่วย)
*** ในส่วนของค่า X,Y และ Z ให้ใส่เป็น 0 ในกรณีที่วางชิ้นงานไว้ตรงกลางของลูกบล็อค*** - คลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป
หลังจากที่เรากด Next ในขั้นตอนที่ 18 เสร็จแล้ว ตัวโปรแกรมจะแสดงหน้าตาของ Report ขึ้นมา ซึ่งเราสามารถพิจารณาอายุการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชิ้นโดยประมาณ ไม่ว่าจะเป็น ตัวไกด์ (Guide), บอลกสรู (Ball Screw) และ เม็ดลูกปืน (Bearing) ได้อย่างครบถ้วน
จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความ วิธีการใช้โปรแกรมคำนวณ KUA Actuator อย่างง่าย เพื่อนๆ คงจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการคำนวณเบื้องต้นของอุปกรณ์ชิ้นนี้กัน ไม่มากก็น้อย ในบทความถัดไปเรามาดูกันครับว่า จะมีโปรแกรมคำนวณทางวิศวกรรมตัวไหนที่น่าสนใจที่ทาง MISUMI Technical จะนำมาฝากกันครับ