Home » Technical » How to use » ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ

“ปรับฐานไม่ถูก” ปัญหาใหญ่ของการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ

ปัจจุบันนี้เครื่องพิมพ์ 3 มิติกำลังได้รับความนิยมมากมาย เนื่องจากมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป หลาย ๆ คนสามารถซื้อเพื่อมาทำงาน D.I.Y ที่บ้านเองได้ แต่รู้ไหมครับว่ามีปัญหาใหญ่อีก 1 ปัญหาที่ตามมาสำหรับผู้ใช้งานมือใหม่นั้นก็คือ การ set ระยะห่างระหว่างหัวฉีดพลาสติก (Nozzle) กับฐานสำหรับขึ้นรูปชิ้นงาน (Bed) ซึ่งเรียกกันว่า Bed Leveling ระยะแค่ไหนถึงจะเหมาะสมล่ะ ? เรามาหาคำตอบกันในบทความนี้กันครับ

3d-printing-problems

ปัญหาที่เกิดจากการตั้งค่า Bed Leveling ไม่เหมาะสม

  • พลาสติกที่ฉีดออกมาไม่สามารถยึดเกาะกับ Bed ได้ทั้งหมด ส่งผลให้ชิ้นงานมีโอกาสหลุดจากฐาน ในขณะพิมพ์
  • รูปร่างและขนาดของชิ้นงานผิดเพี้ยน
  • ชิ้นงานเกิดการบิดเบี้ยวในขณะพิมพ์

โดยปกติแล้วการ Set ระยะระหว่างหัวฉีด และ bed จะ set อยู่ด้วยกัน 3-4 จุดโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของ knob ที่อยู่ใต้ Bed ของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็จะมีตำแหน่งที่คล้ายคลึงกัน ดังรูป

3d-printing-problems
รูปแสดงตำแหน่งของ Knob ที่อยู่ใต้ Bed ของเครื่องพิมพ์3 มิติ

หลังจากที่เราทราบตำแหน่งที่เราต้องทำการปรับระยะระหว่างหัวฉีดกับ Bed แล้วเรามาดูในส่วนของระยะของหัวฉีดกับ Bed มีผลกับชิ้นงานอย่างไร เมื่อปรับระยะแล้วแบบไหนถึงจะเหมาะสมที่สุด

3d-printing-problems

แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของระยะหัวฉีดกับ Bed

No.1No.2No.3No.4No.5
3d-printing-problems3d-printing-problems3d-printing-problems3d-printing-problems3d-printing-problems
3d-printing-problems3d-printing-problems3d-printing-problems3d-printing-problems3d-printing-problems
ใกล้ไปนิดนึงใกล้เกินไปมากระยะเหมาะสมไกลเล็กน้อยไกลเกินไป
รูปภาพ No. ระยะระหว่างหัวฉีดกับ Bed รายละเอียด
1 ใกล้ไปนิดนึง ชิ้นงานที่พิมพ์ออกมาจะเห็นว่าเส้นพลาสติกเกิดการซ้อนกัน ซึ่งทำให้ Layer แรกของชิ้นงานเกิดผิวที่ไม่สม่ำเสมอ และส่งผลให้ชิ้นงาน Layer ถัดไปเกิดผลเช่นเดียวกับ Layer แรก
2 ใกล้เกินไปมาก สังเกตเห็นได้ชัดว่าพลาสติกบางส่วนหายไป นั้นเกิดการการที่หัวฉีดกับ Bed มีระยะใกล้กันมากทำให้หัวฉีดดันพลาสติกออกมาได้ไม่สม่ำเสมอในขณะพิมพ์ชิ้นงาน
3 ระยะเหมาะสม เส้นจะเรียบเป็นผิวเดียวกันไม่เกิดช่องว่างระหว่างเส้น
4 ไกลเล็กน้อย ในขณะที่หัวฉีดพลาสติกเคลื่อนที่จากจุดที่ 3 มายังจุดที่ 5 ขณะเดียวกันพลาสติกยังคงฉีดอย่างต่อเนื่อง เมื่อสังเกตจากภาพจะเห็นว่าพลาสติกไม่เกาะติดกับ Bed นั้นแสดงว่า ที่ตำแหน่งช่วงที่ 4 หัวฉีดกับ Base มีระยะห่างที่มากขึ้น
5 ไกลเกินไป เส้นพลาสติกติดกับ Bed น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด หรืออาจจะจะไม่มีพลาสติกเกาะติดกับ Base เลยในกรณีที่ห่างจนเกินไป

วิธีการปรับระยะระหว่างหัวฉีด กับ Bed มีวิธีการอะไรบ้างนะ ?

1.ปรับแบบหยาบๆ และมองด้วยสายตา

ทำการเลื่อนตำแหน่งของหัวฉีดพลาสติกไปยังมุมใดมุมหนึ่งของ Bed หลังจากนั้นใช้กระดาษสอดเข้าไป แล้วทำการปรับระยะของหัวฉีดโดยการหมุน Knob ใต้ Bed ให้หัวฉีดสัมผัสกับกระดาษที่วางไว้ หลังจากนั้นให้เลื่อนกระดาษเข้าและออกเพื่อตรวจสอบว่าหัวฉีดนั้นสัมผัสกับกระดาษหรือไม่ ถ้าไม่สามารถเลื่อนกระดาษเข้าหรือออกได้ แสดงว่าหัวฉีดสัมผัสกับ Bed มากจนเกินไป ให้ทำการปรับ Knob อีกครั้ง หลังจากได้ระยะที่เหมาะสม ให้ย้ายตำแหน่งของหัวฉีดพลาสติกไปยังตำแหน่งKnob อื่นๆ ที่อยู่ใต้  Bed ของเครื่องพิมพ์ 3 มิติและทำซ้ำขั้นตอนเดิม

3d-printing-problems

2.ลองสร้าง Test Piece สักชิ้น

ลองสร้างชิ้นงานสักชิ้นที่มีขนาดใกล้เคียงกับ Bed ของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อใช้ตรวจสอบระดับของ Bed ตัวอย่างเช่นรูปด้านล่าง ใช้เพื่อทดสอบ ว่าชิ้นงานที่ปริ้นออกมานั้นมีการยึดเกาะกับ Bed ที่ได้ครอบคลุมทุกจุด

3d-printing-problems3d-printing-problems
รูปชิ้นงานทดสอบระยะห่างระหว่าง Bed กับหัวฉีด

3.ใช้ไดอัลเกจตรวจสอบ

เพื่อนๆ สามารถใช้ไดอัลเกจในการตรวบสอบระยะห่างแต่ละจุดของหัวฉีดพลาสติกกับ Bed ได้ การใช้ไดอัลเกจวัดนั้น ข้อดีก็คือเราสามารถอ่านค่าตัวเลขออกมาได้ผ่านเข็มที่อยู่บนหน้าปัด ทำให้สะดวกต่อการปรับระดับของ Bed เพื่อให้ได้ระยะที่เหมาะสบกับหัวฉีดพลาสติก

3d-printing-problems

               จบไปแล้วนะครับสำหรับ บทความการปรับฐานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ หากเพื่อนๆ สนใจบทความเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ การทำผิวชิ้นงานให้เรียบ เทคนิคการปริ้น parameters ต่าง ๆ ที่ควรรู้ในการตั้งค่าชิ้นงานก่อนพิมพ์ สามารถติดตามได้ทาง MiSUMi TECHNICAL CENTER 

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.8 / 5. คะแนนโหวต: 5

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า 3D printing เพิ่มเติมได้ที่นี่
Related Content

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง