Home » Technical » Electrical » รู้จักกับ ถ่านไฟฉาย

รู้จักกับ ถ่านไฟฉาย ถ่านไทย ถ่านญี่ปุ่น แตกต่างกันอย่างไร!!

ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับ ถ่านไฟฉาย ไม่ว่าจะเป็น ถ่านใส่นาฬิกา รีโมทสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค และอุปกรณ์อื่นๆอีกมากมาย ว่าแต่รุ้ไหมครับว่า ถ่านไฟฉายเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ใครเป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์เจ้าสิ่งนี้ มีกี่ประเภท ขนาดเท่าไหร่บ้าง ในวันนี้มิซูมิจะพาท่านไปหาคำตอบครับ

ถ่านไฟฉาย คืออะไร (What is battery)

ถ่านไฟฉาย คือ แบตเตอรี่ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอุปกรณ์เปลี่ยนปฏิกิริยาทางเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เราสามารถพบเจอถ่านไฟฉายได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ทรงกระบอก สี่เหลี่ยม เม็ดคล้ายกระดุม เนื่องจากถ่านไฟฉายเหล่านี้ต้องมีการผลิตให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ไฟฉายไปจนถึงโทรศัพท์มือถือ

ประเภทของถ่านไฟฉาย (Battery type)

แม้ถ่านไฟฉายจะมีหลากหลายแบบ แต่หากเราพิจารณาจากหลักของการอัดประจุไฟฟ้าแล้ว จะสามารถแบ่งถ่านไฟฉายออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ประเภทเซลล์ปฐมภูมิ(primary cell) และ ประเภทเซลล์ทุติยภูมิ(secondary cell)

1. ถ่านไฟฉาย ชนิดเซลล์ปฐมภูมิ(primary cell)

 คือถ่านไฟฉายชนิดใช้แล้วทิ้ง ไม่สามารถนำกลับมาอัดประจุไฟฟ้าใช้ซ้ำได้ ผู้คิดค้นคนแรกคือ “อาเลสซานโดร จูเซปเป อันโตนิโอ อนาสตาซิโอ โวลตา(Alessandro Giuseppe Antonio Anastasio Volta)” นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ถ่านแบบใช้แล้วทิ้งสามาถแบ่งได้ออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
   • ถ่านไฟฉายทั่วไป คาร์บอน-สังกะสี (carbon-zinc)
      ถ่านชนิดนี้ใช้กันมาตั้งแต่ปีค.ศ.1866 กระแสไฟฟ้าที่ได้เกิดจากการทำปฏิกิริยาเคมีของสังกะสี (zinc) ซึ่งเป็นขั้วลบ(anode) กับแมงกานีสไดออกไซด์ (manganese dioxide) ผสมกับผงถ่าน (carbon) ซึ่งเป็นขั้วบวก (cathode) เป็นถ่านไฟฉายที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้นและให้กระแสไฟได้น้อย นิยมใช้กับนาฬิกาตั้งโต๊ะ รีโมทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ข้อเสียของมันคือเสื่อมสภาพได้ง่ายระหว่างการรอจำหน่าย แต่ข้อดีคือเป็นถ่านที่มีราคาถูกที่สุด
   • ถ่านไฟฉายอัลคาไลน์ (alkaline)
       เป็นถ่านไฟฉายที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับงานที่ต้องการกระแสไฟฟ้าสูงขึ้น มีอายุการใช้งานสูงกว่าถ่านไฟฉายธรรมดาถึง 10 เท่า และความจุก็ยังสูงกว่าอีกด้วย นั่นจึงทำให้มันมีราคาที่สูงกว่าแบบธรรมดา ถ่านไฟฉายอัลคาไลน์(alkaline)มักใช้กับอุปกรณ์ที่กินไฟมากๆอย่างเช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องเล่นมัลติมีเดียต่างๆ

2. ถ่านไฟฉาย ชนิดเซลล์ทุติยภูมิ(secondary cell)

คือถ่านไฟฉายที่สามารถนำมาอัดประจุไฟฟ้าใช้ซ้ำได้ โดยทั่วไปถ่านชนิดนี้จะมี 3 แบบใหญ่ๆคือ
   •นิเกิล-แคดเมียม(NiCd)
      เป็นถ่านชาร์จรุ่นแรกๆความจุเริ่มต้นค่อนข้างต่ำ ข้อจำกัดคือต้องใช้จนหมดแล้วจึงจะสามารถนำมาชาร์จใหม่ได้ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหา Memory Effect คือ อายุการใช้งานของถ่านจะสั้นลงแม้ว่าชาร์จจนเต็ม ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้งานแล้ว
   • นิเกิลเมตทัลไฮไดร์(NiMH)
       ปัญหา Memory Effect ของถ่านชนิดนี้มีน้อยกว่า NiCd มาก นอกจากนั้น NiMH ยังมีความจุและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าถ่าน NiCd ทำให้เป็นถ่านชนิดนี้ได้รับความนิยมสูง แต่มีข้อเสียคือน้ำหนักจะมากกว่า NiCd
   • ลิเธียม-ไอออน(Li-Ion)
       เป็นถ่านที่นิยมมากที่สุด มีความจุที่สูงใช้งานได้อย่างยาวนาน ชาร์จได้เป็นจำนวนหลายครั้ง นิยมอย่างมากในการใช้ผลิตแบตเตอรี่มือถือสมาร์ทโฟนและกล้องดิจิทัลต่างๆ

สิ่งสำคัญที่สุดของถ่านประเภทเซลล์ทุติยภูมิ(secondary cell) หรือถ่านชาร์จก็คือ การนำมาใช้งานได้ใหม่แตกต่างจากการใช้ถ่านประเภทเซลล์ปฐมภูมิ (primary cell) หรือถ่านใช้แล้วทิ้ง ซึ่งสิ้นเปลืองมากกว่าในระยะยาวและยังช่วยลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่จำเป็นได้อีกด้วย

ขนาดของถ่านไฟฉาย (Battery size)

จากที่เราได้ทราบเกี่ยวกับประเภทของถ่านไฟฉายกันไปแล้ว ต่อมาเรามาดูกันว่า ถ่านไฟฉายที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดนั้นมีขนาดเท่าไหร่บ้าง นอกจากนั้นแล้วท่านทราบหรือไม่ว่าสำหรับประเทศญี่ปุ่นนั้นไม่ได้เรียกชื่อขนาดถ่านไฟฉายเหมือนกับประเทศอื่นๆนะครับ เค้ามีวิธีกำหนดขนาดแบบของเค้าเอง แล้วประเทศญี่ปุ่นนั้นเรียกกันอย่างไร?…ไปทำความรู้จักกันเลยครับ

มาตรฐานขนาดของถ่านไฟฉายแบ่งได้ 2 มาตรฐานหลักๆดังนี้
   • มาตรฐานทั่วไป นิยมใช้กันในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย มาตรฐานนี้จะใช้ตัวอักษรอังกฤษแทนขนาด อย่างเช่น AAA ,AA ,C ,D โดยจะเรียกขนาดที่เล็กที่สุดแทนด้วย AAA จากนั้นก็จะเพิ่มระดับตัวอักษรตามขนาดที่ใหญ่ขึ้น
   • มาตรฐานญี่ปุ่น จะใช้ตัวเลขแทนขนาด เช่น 単 1 , 単 2 , 単 3 , 単 4 แต่การเรียงขนาดจะกลับกันกับมาตรฐานทั่วไป โดยแทนขนาดที่เล็กที่สุดด้วยตัวเลข 4 จากนั้นก็จะลดตัวเลขลงตามขนาดที่เพิ่มขึ้น

รู้จักกับมาตรฐาน ถ่านไฟฉาย ของญี่ปุ่น

มาตรฐานทั่วไปมาตรฐานญี่ปุ่นขนาด (mm.)รูปภาพ
AAA単 4 10.50 x 44.50get-to-know-batteries
A単 3 14.50 x 50.50get-to-know-batteries
C単 2 26.20 x 50.00get-to-know-batteries
D単 1 34.20 x 61.50get-to-know-batteries

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคำอ่าน
1ถ่านไฟฉาย (แบตเตอรี่)  電池でんちDen-chi

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.2 / 5. คะแนนโหวต: 10

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า ถ่านไฟฉาย เพิ่มเติมได้ที่นี่
No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง