Selector Switch คืออะไร เข้าใจง่ายๆ ใน 5 นาที
สารบัญ
ในการออกแบบเครื่องจักรในอุตสาหกรรมนั้น สวิตช์ก็ถือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น สวิตช์ฉุกเฉิน (Emergency Switch), สวิตช์เปิด-ปิด (On-Off Switch) และ อื่นๆ ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง สวิตช์ที่ใช้เลือกการทำงานของวงจรนั้นก็คือ “ซีเล็คเตอร์สวิตช์ (Selector Switch)” นั่นเอง
ซีเล็คเตอร์สวิตช์ (Selector Switch) คืออะไร?
ซีเล็คเตอร์สวิตช์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมทิศทางของกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปตามที่ต้องการ เป็นสวิตช์ที่นิยมใช้กันมากในงานอุตสาหกรรม เช่น นำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรที่สามารถปรับเปลี่ยนโหมดการทำงานระหว่าง คนควบคุม(manual) หรือ อัตโนมัติ (automation) โดยการบิดสวิตช์เลือกโหมดที่ต้องการ
รูปแบบของซีเล็คเตอร์สวิตช์
1.แบบมาตรฐาน (knob operation) เป็นสวิตช์ที่นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น ใช้ในการเปิด-ปิดการทำงานของเครื่องจักร
2.แบบมีแสงไฟแสดงสถานะ (Illuminated Selector Switches) สามารถมองเห็นสถานะของการเปิด-ปิดบนสวิตช์ได้อย่างชัดเจน
3.แบบมีกุญแจ (Key Selector Switches) เหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องการความปลอดภัย โดยถ้าผู้ใช้งานไม่มีกุญแจ จะไม่สามารถบิดสวิตช์เพื่อใช้งานได้
รูปแบบการทำงานของ ซีเล็คเตอร์สวิตช์
แบ่งตามฟังก์ชั่นการใช้งาน ได้ 2 รูปแบบดังนี้
No. | รูปการทำงานของ Selector Switch | ตัวอย่างการใช้งาน | สัญลักษณ์ที่พบได้ในแคตตาล็อก |
---|---|---|---|
1 | สวิตช์ 2 ตำแหน่ง (2 notches) | ||
2 | สวิตช์ 3 ตำแหน่ง (3 notches) |
ซีเล็คเตอร์สวิตช์ 2 ตำแหน่ง (2 notches)
สวิตช์ 2 ตำแหน่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับเครื่องจักร ที่ต้องการเลือกการทำงานแบบเปิดเครื่องหรือปิดเครื่อง นอกจากนี้สามารถนำไปใช้งานกับการเลือกฟังก์ชั่นการใช้งานอื่นๆ ตามความเหมาะสมของผู้ออกแบบ โดยมีรูปแบบให้เลือกใช้งานดังนี้
No. | รูปแบบการทำงานพร้อมคำอธิบาย | ตัวอย่างการทำงาน | สัญลักษณ์ที่พบได้ในแคตตาล็อก |
---|---|---|---|
1 | Maintained การทำงาน – เมื่อบิดสวิตช์แล้ว สวิตช์จะค้างอยู่ที่ตำแหน่งนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1.1 บิดสวิตช์ไปทางซ้ายแล้ว สวิตช์จะค้างอยู่ที่ตำแหน่งนั้น 1.2 บิดสวิตช์ไปทางขวาแล้ว สวิตช์จะค้างอยู่ที่ตำแหน่งนั้น | 1.1 1.2 | |
2 | Spring return from left การทำงาน – เมื่อบิดสวิตช์ไปทางซ้ายแล้ว จะดีดกลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น | ||
3 | Spring return from right การทำงาน- เมื่อบิดสวิตช์ไปทางขวาแล้ว จะดีดกลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น |
ซีเล็คเตอร์สวิตช์ 3 ตำแหน่ง (3 notches)
สวิตช์ 3 ตำแหน่งสามารถเลือกรูปแบบการทำงานได้ถึง 3 รูปแบบ ตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น การทำงานแบบ manual ,automatic และ off(ปิดการทำงานของเครื่องจักร) มีรูปแบบให้เลือกใช้งานดังนี้
No. | รูปแบบการทำงานพร้อมคำอธิบาย | ตัวอย่างการทำงาน | สัญลักษณ์ที่พบได้ในแคตตาล็อก |
---|---|---|---|
1 | Maintained การทำงาน – เมื่อบิดสวิตช์แล้ว สวิตช์จะค้างอยู่ที่ตำแหน่งนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1.1 บิดสวิตช์ไปทางซ้ายแล้ว สวิตช์จะค้างอยู่ที่ตำแหน่งนั้น 1.2 บิดสวิตช์ไปทางขวาแล้ว สวิตช์จะค้างอยู่ที่ตำแหน่งนั้น | 1.1 1.2 | |
2 | Spring return from left การทำงาน – เมื่อบิดสวิตช์ไปทางซ้ายแล้ว จะดีดกลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น | ||
3 | Spring return from right การทำงาน- เมื่อบิดสวิตช์ไปทางขวาแล้ว จะดีดกลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น | ||
4 | Spring return two way การทำงาน – เมื่อบิดสวิตช์ไปทางซ้ายหรือทางขวา จะกลับสู่ตำแหน่งเดิมเสมอ |
ตัวอย่างการใช้งานของซีเล็คเตอร์สวิตช์
แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามรูปแบบการทำงานของสวิทช์ ดังนี้
1.การทำงานของซีเล็คเตอร์สวิตช์ 2 ตำแหน่ง
สวิตช์ชนิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับเครื่องจักร ที่ต้องการเลือกการทำงาน 2 รูปแบบ ตัวอย่างเช่น ใช้เลือกการทำงานเปิดและปิดของเครื่องจักร
ตำแหน่งสวิตช์ | ผังการทำงาน | ลักษณะการทำงาน |
---|---|---|
เครื่องจักรไม่ทำงาน เพราะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านในวงจร | ||
เครื่องจักรทำงานได้ปกติ เพราะกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ครบวงจร |
2. การทำงานของซีเล็คเตอร์สวิตช์ 3 ตำแหน่ง
สวิตช์ชนิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับเครื่องจักร ที่ต้องการเลือกการทำงาน 3 รูปแบบ ตัวอย่างเช่น ใช้เลือกการทำงานแบบ manual, auto และ หยุดการทำงาน(off)
ตำแหน่งสวิตช์และการทำงาน | ผังการทำงาน |
---|---|
การทำงานของวงจร วง MANUAL = วงจรปิด (กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน) วง AUTO = วงจรเปิด (กระแสไฟฟ้าไม่ไหลผ่าน) ลักษณะการทำงาน การทำงานของเครื่องจักรจะขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานควบคุม รูปที่ 1 เมื่อกด start switch มอเตอร์และหลอดไฟสีเขียวจะทำงาน รูปที่ 2 เมื่อไม่ได้กด start switch หลอดไฟสีแดงจะทำงาน | รูปที่ 1 รูปที่ 2 |
การทำงานของวงจร วง MANUAL = วงจรเปิด (กระแสไฟฟ้าไม่ไหลผ่าน) วง AUTO = วงจรเปิด (กระแสไฟฟ้าไม่ไหลผ่าน) ลักษณะการทำงาน ไม่สามารถใช้งานเครื่องจักรได้ | |
การทำงานของวงจร วง MANUAL = วงจรเปิด (กระแสไฟฟ้าไม่ไหลผ่าน) วง AUTO = วงจรปิด (กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน) ลักษณะการทำงาน มอเตอร์และหลอดไฟสีเขียวจะทำงานได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับการกด start swtich |
จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความซีเล็คเตอร์สวิตช์ คืออะไร เข้าใจง่ายๆ ภายใน 5 นาที ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการทำงานของสวิตช์แบบต่างๆ รวมไปถึงตัวอย่างการใช้งานในระบบเครื่องจักร หากเพื่อนๆ สนใจในวิธีการเลือกสวิตช์แบบต่าง ๆ เพิ่มเติมสามารถอ่านบทความ 8 องค์ประกอบสำคัญในการเลือกสวิตช์ ได้ที่นี่ หากเพื่อนๆ ต้องการซื้อสินค้าก็สามารถคลิกได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนในมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ควรรู้เกี่ยวกับซีเล็คเตอร์สวิตช์
- Maintained เมื่อบิดสวิตช์แล้ว สวิตช์จะค้างอยู่ที่ตำแหน่งนั้น
- Spring return from … ทิศทางของสวิตช์ เมื่อดีดกลับสู่ตำแหน่งเดิม