สปริงคืออะไร ? รู้จักกับประเภทของสปริงและการใช้งานในอุตสาหกรรม
สารบัญ
สปริง(Spring) เป็นชิ้นส่วนที่นิยมใช้งานกันมาก ในการออกแบบเครื่องจักร สปริงนั้นมีรูปร่างหน้าตามากมาย ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสปริงให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของสปริงที่นิยมใช้งานกันในอุตสาหกรรม วัสดุที่ใช้ทำสปริง และ ข้อควรระวังในการใช้งานสปริง
สปริงคืออะไร ?
สปริง(Spring) คือ ชิ้นส่วนชนิดหนึ่งที่เมื่อเราใส่ภาระโหลด ไม่ว่าจะเป็นการดึง การกด การบิด เมื่อเราเอาโหลด ออกสปริงจะกลับคืนตัวกลับสู่ตำแหน่งเดิมได้อย่างรวดเร็ว
สปริงสามารถทำหน้าที่อะไรได้บ้าง ?
- ใช้วัดแรง เช่น สปริงภายในตาชั่งสปริง
- ใช้ทำหน้าที่เป็นชิ้นของเครื่องจักรกล ให้มีการเคลื่อนที่กลับสู่ตำแหน่งเดิมเช่น ในวาล์วควบคุมทิศทาง
- ใช้ส่งแรงจากชิ้นส่วนหนึ่งไปยังอีกชิ้นส่วนหนึ่ง
ประเภทของสปริง
1.สปริงขดแบบกด (Compression springs)
สปริงประเภทนี้ใช้สำหรับรองรับการกดยุบตัว ซึงเพื่อน ๆ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันนั้นก็คือ สปริงกดในปากกา จริง ๆ แล้วสปริงรูปแบบกดมีรูปแบบปลายของสปริง
ให้เลือกใช้งานถึง 4 รูปแบบดังนี้
2.สปริงขดแบบดึง (Tension springs)
สปริงประเภทนี้ นิยมนำไปใช้งานไม่น้อยไปกว่าสปริงแบบกด ตัวอย่างเช่น ใช้งานในตาชั่งสปริง เพื่อให้สปริงขดแบบดึงสามารถรับแรงดึงได้ สปริงชนิดนี้จึงมักทำปลายของสปริงเป็นรูปตะขอหรือห่วง เพื่อใช้เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการให้ออกแรงดึง นอกจากนั้นยังมีมุมของตะขอที่สามารถกำหนดได้
สปริงขดแบบดึง รูปแบบตะขอ | สปริงขดแบบดึง รูปแบบห่วง |
---|---|
มุมของตะขอและห่วงที่สามารถเลือกใช้งานได้
มุม 90° | มุม 180° |
---|---|
3.สปริงขดแบบบิด (Torsion springs)
สปริงประเภทนี้ปลายของสปริงจะเป็นปลายตรงทำซึ่งทำมุมกัน โดยทั่วไปจะมีมุมให้เลือกอยู่ด้วยกัน 3 ค่านั้นก็คือ 90° 135° และ 180° ใช้รับแรงบิดรอบแกนของสปริง เช่น สปริงที่ติดตั้งอยู่ในส่วนบานประตู สปริงชนิดนี้
วัสดุที่ใช้ทำสปริง
สปริงในอุตสาหกรรมมีวัสดุให้เลือกใช้งานมากมายใน เช่น piano wire, oil-tempered wire, stainless steel , steel และ อื่นๆ อีกมากมาย ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างวัสดุที่นิยมนำมาผลิตเป็นสปริงที่เหมาะกับการใช้งานในเครื่องจักรอุตสาหกรรม ดังนี้
1.Piano wire หรือ music wire
ลวดชนิดนี้เป็นลวดที่นิยมใช้กันมากที่สุดในสปริงขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.1 mm ไปจนถึง 6.35 mm. ไม่เหมาะต่อการนำไปใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่า 120 °C และต่ำกว่า 0 °C
2.Oil-tempered wire
มีราคาถูกว่า piano wire ลวดสปริงชนิดนี้มีใช้งานกันแพร่หลาย มีขนาดให้เลือกใช้ตั้งแต่ 0.5 mm ไปจนถึง 16 mm อุณหภูมิใช้งาน อยู่ระหว่าง 0-180°C
3.Chrome vanadium steel
เป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากเมื่อโลหะอื่น ๆ ไม่สามารถที่จะทนความเค้นสูง ๆ ได้เหมาะสำหรับรับแรงกระแทกได้ดี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5 mm. จนถึง 12.50 mm. สามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 230°C
4.Stainless steel (AISI 302)
วัสดุชนิดนี้มีราคาแพง รับแรงได้มาก ทนต่อการกัดกร่อนได้ดีเหมาะสำหรับใช้รับแรงกระแทก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางให้เลือกใช้งานตั้งแต่ 0.2 mm. ไปจนถึง 12.50 mm.
การสั่งซื้อสปริงสักชิ้นต้องแจ้งข้อมูลอะไรให้กับผู้ขายบ้างล่ะ ?
- ชนิดและรูปร่าง เช่น สปริงขดแบบกดปลายตัด
- ขนาด เช่น ความยาวปกติของสปริงก่อนการหดตัว(free length หรือ Lf) เส้นผ่านศูนย์กลางของขดลวดและเส้นลวด ความยาวหลังจากสปริงหดตัว เป็นต้น
- วัสดุของสปริง เช่น piano wire, Stainless steel เป็นต้น
ข้อควรระวังในการใช้สปริง
- ไม่ควรตัดสปริงเองตามความยาวที่ต้องการใช้งาน เพราะจะทำให้คุณสมบัติของสปริงเปลี่ยนแปลงไป
- ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรแนะนำให้เปลี่ยนสปริงพร้อมกันทั้งชุด ไม่ควรเปลี่ยนแค่ตัวใดตัวหนึ่ง เพราะว่าแรงกดจะไม่สม่ำเสมอ อาจทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหายได้
จบกันไปแล้วนะครับ สำหรับความรู้ที่เรานำมาฝากกันในสัปดาห์นี้ เป็นหัวข้อเกี่ยวกับ สปริง (Spring) หวังว่าเพื่อน ๆ จะได้สาระความรู้เพิ่มเติมมากมาย ไม่มากก็น้อยจากบทความนี้ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
No. | คำศัพท์ | คันจิ | ฮิรางานะ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|---|
1 | สปริง (Spring) | – | ばね | バネ | Ba-ne |