Home » Technical » Selection guide » 5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “ป้ายความปลอดภัย”

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “ป้ายความปลอดภัย”

เพื่อนๆ หลายคนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมก็คงจะเคยเห็น ป้ายความปลอดภัย (Safety Sign) กันมาแล้วใช่ไหมครับ ไหนจะมีหลายสี เช่น แดง, เหลือง, น้ำเงิน, เขียว อีกทั้งยังมีรูปร่างที่หลายแบบอีก ไม่ว่าจะเป็น วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม เป็นต้น สีและรูปร่างของป้ายมีความหมายว่าอะไร หาคำตอบได้ในบทความนี้กันครับ 

safety-sign
ตัวอย่างสัญลักษณ์ความปลอดภัย

ป้ายความปลอดภัย มีกี่ประเภท

ป้ายความปลอดภัยของประเทศไทยใช้มาตรฐาน มอก. 635-2554 ซึ่งได้แบ่งประเภทของป้ายออกเป็น 5 ประเภทดังนี้

safety-sign
ป้ายห้าม
safety-sign
ป้ายเครื่องหมายเตือน
safety-sign
ป้ายเครื่องหมายเตือน
safety-sign
ป้ายเครื่องหมาย
แสดงสถานะปลอดภัย
safety-sign
ป้ายที่มีความเกี่ยวข้องกับอัคคีภัย

โดยแต่ละประเภทจะมีการกำหนดสี และรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป ก่อนที่เราจะไปดูความหมายของแต่ละส่วนนั้น เราไปดูส่วนประกอบที่สำคัญของป้ายกันก่อนเลยครับ

ส่วนประกอบของ ป้ายความปลอดภัย 

ป้ายความปลอดภัยมีส่วนประกอบหลักอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนดังนี้

safety-sign

1.สีของป้าย เช่น สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน และสีเขียว

2.รูปทรงของป้าย เช่น วงกลม, สามเหลี่ยมด้านเท่า และสี่เหลี่ยม

3.เครื่องหมายเสริม

เรามาดูส่วนประกอบสำคัญทีละหัวข้อกันครับว่าหมายถึงอะไรกันบ้าง

สีและรูปทรงของ ป้ายความปลอดภัย หมายถึงอะไร 

สีและรูปทรงที่นิยมใช้กันสามารถจำแนกได้ดังนี้

เครื่องหมายห้าม (Prohibition sign)

ภาพตัวอย่างการใช้งาน
safety-sign
safety-sign

รูปทรง : วงกลมพร้อมเส้นทแยงมุม
ความหมาย : ห้าม
สีเพื่อความปลอดภัย : สีแดง
สีของภาพหรือสัญลักษณ์ : สีดำ
ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ป้ายห้ามบุคคลภายนอกเข้า

เครื่องหมายเตือน (Warning sign)

ภาพ ตัวอย่างการใช้งาน
safety-sign
safety-sign

รูปทรง : สามเหลี่ยมด้านเท่า
ความหมาย : เตือนข้อควรระวังบ่งบอกถึงอันตรายที่อาจเกิด
สีเพื่อความปลอดภัย : สีเหลือง
สีของภาพหรือสัญลักษณ์ : สีดำ
ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ระวังวัตถุระเบิด

เครื่องหมายบังคับใช้ (Mandatory sign)

ภาพ ตัวอย่างการใช้งาน
safety-sign
safety-sign

รูปทรง : วงกลม
ความหมาย : บังคับให้ปฏิบัติตาม
สีเพื่อความปลอดภัย : สีฟ้า
สีของภาพหรือสัญลักษณ์ : สีขาว
ตัวอย่างการใช้งาน เช่น สวมถุงมือป้องกันในขณะปฎิบัติงาน

เครื่องหมายแสดงจุดปลอดภัย (Safe Condition sign)

ภาพ ตัวอย่างการใช้งาน
safety-sign
safety-sign

รูปทรง : สี่เหลี่ยมจัตุรัส
ความหมาย : สภาวะปลอดภัย
สีเพื่อความปลอดภัย : สีเขียว
สีของภาพหรือสัญลักษณ์ : สีขาว
ตัวอย่างการใช้งาน เช่น เครื่องหมายพยาบาล

เครื่องหมายอุปกรณ์ป้องกันไฟไหม้ (Fire Safety sign)

ภาพ ตัวอย่างการใช้งาน
safety-sign
safety-sign

รูปทรง : สี่เหลี่ยมจัตุรัส
ความหมาย : อุปกรณ์เกี่ยวข้องกับอัคคีภัย
สีเพื่อความปลอดภัย : สีแดง
สีของภาพหรือสัญลักษณ์ : สีขาว
ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ป้ายแสดงตำแหน่งที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์ดับเพลิง

เครื่องหมายเสริมบนป้ายความปลอดภัย คืออะไร

เครื่องหมายเสริม หมายถึง ส่วนของข้อความที่ใช้สำหรับอธิบายความหมายเกี่ยวกับสัญลักษณ์ความปลอดภัยให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเน้นย้ำให้ผู้ปฎิบัติงานเข้าใจความหมายตรงกัน โดยจะใช้สีเดียวกันกับเครื่องหมายความปลอดภัย โดยทั่วไปแล้วเครื่องหมายเสริม จะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งมักจะระบุอยู่ด้านล่างของเครื่องหมายความปลอดภัยดังรูป

safety-sign
ตัวอย่างการใช้เครื่องหมายเสริม

ข้อควรระวังในการใช้งานป้ายความปลอดภัย

ในการใช้งานป้ายนั้น สิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ ความชัดเจนในการสื่อสาร ในบทความนี้เรามีตัวอย่างสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งานป้าย มาให้อ่านกันครับ ตัวอย่างเช่น หลีกเลี่ยงการรวมเครื่องหมายความปลอดภัยมากกว่า 1 ชนิด รวมอยู่ในเครื่องหมายเดียวกัน ตัวอย่างเช่น

safety-sign
ไม่ควรใช้งานเพราะอาจเกิดความเข้าใจผิด
safety-sign
ควรใช้งานเพราะมีความชัดเจนในการสื่อสาร

จบไปแล้วนะครับสำหรับบทความ 5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “ป้ายความปลอดภัย” หวังว่าเพื่อนๆ จะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย หากเพื่อนๆ สนใจป้ายความปลอดภัยคุณภาพสูงสามารถสั่งซื้อได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ 

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

No.คำศัพท์คันจิฮิรางานะคำอ่าน
1ความปลอดภัย安全あんぜんan-zen
2สัญลักษณ์標識ひょうしきhyō-shi-ki
3ป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย 安全標識 あんぜん ひょうしき an-zen-hyō-shi-ki

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 1.5 / 5. คะแนนโหวต: 83

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
บุลวัชร์ (ป๋อม) เจริญยืนนาน
Engineering content writer ทำงานในแผนก New business development จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลจาก KMITL มีประสบการณ์หลายปีในการออกแบบและผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะการออกแบบอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า safety sign เพิ่มเติมได้ที่นี่
No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง