Home » Technical » Tools » วิธีการใช้งาน Leveling gauge ในงานอุตสาหกรรม

วิธีการใช้งาน Leveling gauge ในงานอุตสาหกรรม

Leveling gauge คืออะไร

Leveling gauge หรือ เครื่องวัดระดับน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดความลาดเอียงของพื้นผิว โดยใช้หลักการที่ฟองอากาศจะเคลื่อนที่ไปตำแหน่งสูงกว่าภายในของเหลว เมื่อเกจวัดมีความเอียง มักใช้ในเวลาติดตั้งเครื่องจักร หรือ ติดตั้งสายพานลำเรียง โดยไม่เพียงแต่ใช้เพื่อปรับให้ขนานกับพื้นเท่านั้น แต่ยังใช้กำหนดความลาดเอียงของลูกกลิ้งลำเรียงได้อีกด้วย โดยในขณะที่ระนาบที่ทำการวัดไม่มีความลาดเอียง ฟองอากาศจะอยู่บริเวณกึ่งกลางโดยขอบทั้ง 2 ฝั่งจะแตะอยู่เส้นกึ่งกลางของสเกลทั้ง 2 ฝั่ง ดังที่แสดงตามภาพด้านล่าง

Precision-leveling-gauge-01
ตัวอย่าง เครื่องวัดระดับน้ำ

วิธีการอ่านค่า Leveling gauge

เราสามารถอ่านค่าความลาดเอียงของระนาบ 2 จุดที่ทำการวัด ภายในระยะห่าง 1 m มีความสูงต่างกันกี่มิลลิเมตร โดยดูจากระยะที่ฟองอากาศเคลื่อนที่ไป เทียบกับสเกลบนหลอดแก้ว และระดับความละเอียดของเครื่องมือวัด

ระดับความไวในการวัด (Sensitivity)

ระดับความไวในการวัด (Sensitivity) ของเครื่องวัดระดับน้ำแบบละเอียดสำหรับงานอุตสาหกรรมนั้น จะแบ่งตามมาตรฐาน JIS (Japanese Industrial Standards) ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  1. Grade A: 0.02mm / 1m
  2. Grade B: 0.05mm / 1m
  3. Grade C: 0.1mm/ 1m

ตัวอย่างการอ่านค่า เครื่องวัดระดับน้ำ

จากรูปที่แสดงด้านล่าง เครื่องวัดที่ใช้ มีความไวในการวัดอยู่ที่ 0.02mm / 1 m ต่อ 1 สเกล จะเห็นได้ว่าเมื่อฟองอากาศเคลื่อนที่ไปทางซ้าย 3 สเกล แสดงว่าด้านซ้ายจะมีระดับสูงกว่าด้านขวา 3 x 0.02 = 0.06 mm

Precision-leveling-gauge-02
ตัวอย่างการอ่านค่าสเกล จากเครื่องวัดระดับน้ำ
Precision-leveling-gauge-03
ตัวอย่างการอ่านค่าจาก เครื่องวัดระดับน้ำ

โดยเลขความสูงที่คำนวณได้จากตัวอย่างข้างบน จะเป็นสำหรับ 2 จุด ที่ห่างกัน 1 เมตร โดยเราจะคำนวณหาค่าความสูงที่ควรปรับของขาแต่ละข้าง โดยดูจากระยะห่างของขาเครื่องจักร ตัวอย่างเช่น หากขาเครื่องจักรห่างกัน 1.5 เมตร ระดับความสูงที่ต่างกันของขาทั้ง 2 ข้างก็จะเท่ากับ 0.06 x 1.5 = 0.09 มิลลิเมตร นั่นเอง

Precision-leveling-gauge-04
ตัวอย่างการอ่านค่า เครื่องวัดระดับน้ำ

ข้อควรระวังในการอ่านค่า จาก Leveling gauge

ค่า Sensitivity นี้จะหมายถึงค่าความสูงที่แตกต่างกัน ของตำแหน่งซ้ายขวา ที่ระยะห่างตามแนวนอนขนาด 1 เมตร ไม่ได้หมายถึงความสูงที่ต่างกัน ที่ขอบทั้งสองด้านของเครื่องมือวัด

ตัวอย่างการอ่านค่า เครื่องวัดระดับน้ำ

Precision-leveling-gauge-05

จากภาพด้านบน แสดงว่าฝั่งขวาจะอยู่สูงกว่าฝั่งซ้าย 0.05 มิลลิเมตร เทียบกับระยะแนวนอน 1 เมตร แต่หากวัดเทียบกับระยะแนวนอนที่เปลี่ยนไป ความสูงที่นำมาคิดจะแตกต่างไปด้วย เช่น หากวัดแค่ระยะของเครื่องวัด ซึ่งเท่ากับ 200 มิลลิเมตร ความสูงที่ได้จะเหลือแค่ 1 ใน 5 ส่วน (200mm/1000mm) จะเหลือความสูงแค่ 0.01 มิลลิเมตร เท่านั้น

ทำไมต้องคำนวณหาค่าความเอียง

เพื่อนๆ สงสัยกันมั้ยครับว่า เราจะคำนวณหาตัวเลขกันไปทำไม แค่ปรับจนกว่าฟองอากาศจะอยู่ตรงกลางก็พอแล้วรึเปล่า จริงๆก็มีสาเหตุหลัก 2 ข้อตามนี้ครับ

เพื่อความสะดวกในการปรับความสูงของขาตั้งเครื่องจักร

หากเราไม่ทราบความสูงควรปรับเราจะต้องปรับทีละขาไปพลาง ตรวจสอบตำแหน่งฟองอากาศไปพลาง อาจทำให้เสียเวลาในการปรับอย่างมาก แต่เมื่อเรารู้ค่าที่เหมาะสมแล้วเราก็จะสามารถวางแผนปรับพร้อมกันทุกขาได้เลย

เพื่อควบคุมมาตรฐานของเครื่องจักร

เนื่องจากองศาของการติตตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ในเครื่องจักร นอกจากจะมีผลต่อความแข็งแรงและคุณภาพการผลิตแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตที่ต้องทำงานร่วมกันหลายเครื่อง แต่เราก็คงไม่สามารถ ปรับองศาความต่างให้เป็น ±0°พอดีได้ จึงทำได้แค่ควบคุมให้อยู่ในค่าคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้นั่นเอง

การเตรียมการก่อนใช้งาน

  1. ควรมีการปรับสอบเทียบ (Calibration) ตามกำหนด อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าค่าที่วัดได้จะมีความถูกต้องแม่นยำ
  2. ทำความสะอาดพื้นผิวที่จะทำการวัด ให้สะอาดก่อนทำการวัดทุกครั้ง

จบไปแล้วนะครับ สำหรับวิธีการใช้เครื่องวัดระดับน้ำ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเครื่องมือวัดที่ต้องการความแม่นยำสูงมาก จึงควรควรใช้งานด้วยความระวังอย่างสูง หากถูกกระทบกระเทือนก็อาจทำค่าที่วัดคลาดเคลื่อนได้ หากเพื่อนสนใจในสินค้า ก็สามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่นี่ แล้วพบกันใหม่ที่บทความถัดไปนะครับ สวัสดีครับ

ค้นหารายการสินค้า​

ให้คะแนนเนื้อหาของเรา

กดที่ ดาว เพื่อโหวต

คะแนนเฉลี่ย 4.8 / 5. คะแนนโหวต: 6

โหวตให้เราคนแรกได้

We are sorry that this post was not useful for you!

Let us improve this post!

Tell us how we can improve this post?

ผู้เขียน
Jullakarn (Ham) Ittirattana
ทำงานในแผนก New Business Development ของมิซูมิ จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิคส์จาก KMITL และปริญญาโทสาขา Intelligent mechanical system จาก Fukuoka institute of technology ประเทศญี่ปุ่น มีประสบการณ์หลายปี ในการทำงานออกแบบเครื่องจักรที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีความสนใจในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ

ค้นหารายการสินค้า​

เลือกดูสินค้า Leveling gauge เพิ่มเติมได้ที่นี่
No data was found

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google analytic

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save

ขอบคุณสำหรับความสนใจ

ทางทีมงานได้รับอีเมลของท่านแล้ว
จะรีบติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง