การเลือกใช้ประแจปอนด์ (Torque wrench)
สารบัญ
ประแจปอนด์ (torque wrench) หรือ ประแจทอร์ค เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมการผลิต ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับประแจปอนด์ ให้มากยิ่งขึ้นทั้งวิธีการใช้งาน ค่าที่ประแจปอนด์วัดได้ และวิธีการเลือกประแจปอนด์ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันครับ
ประแจปอนด์ (torque wrench) คืออะไร
ประแจปอนด์(torque wrench) เครื่องมือชนิดนี้ใช้ในการวัดค่าแรงบิด หรือกำหนดแรงในการขันสกรูให้เหมาะสม เพื่อให้ได้การประกอบที่มีคุณภาพมากที่สุด หรือโครงสร้างที่แข็งแรงที่สุด
ประแจปอนด์มีกี่ประเภท
ประแจปอนด์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- ประแจปอนด์สำหรับขันสกรู (for tightening) ใช้สำหรับขันสกรูให้ได้ตามแรงบิดที่ต้องการ
- ประแจปอนด์สำหรับวัดค่าแรงบิด (for torque inspection) ใช้สำหรับตรวจสอบค่าแรงบิดของสกรูที่ขันไว้แล้ว ว่ามีค่าเท่าไหร่
ประแจปอนด์ สำหรับขันสกรู (for tightening)
ประแจปอนด์สำหรับขันสกรู ต้องขันแน่นด้วยค่าแรงบิดตามสเป็คของโบลท์หรือสกรูแต่ละชนิด เพื่อน ๆ สามารถตรวจสอบสเป็คของโบลท์แต่ละขนาดที่เหมาะสม เพิ่มเติมได้ที่นี่ ประแจปอนด์ประเภทนี้ มีข้อควรระวังในการใช้งานคือ เมื่อขันสกรูได้ตามแรงบิดที่ตั้งไว้แล้ว ประแจจะส่งเสียงดังออกมา ให้หยุดการขันทันทีไม่จำเป็นต้องขันอัดเพิ่มเข้าไปเพราะจะทำให้กลไกภายในเกิดความเสียหายขึ้นได้
ประแจปอนด์ สำหรับวัดค่าแรงบิด (for torque inspection)
ประแจปอนด์ประเภทนี้ใช้สำหรับวัดค่าแรงบิดของสกรูหรือโบลท์ชนิดต่าง ๆ ที่ถูกขันแน่นอยู่ ซึ่งมีด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้
ประแจปอนด์ประเภทอ่านค่าโดยตรง
ประแจปอนด์ชนิดนี้ ผู้ใช้งานต้องอ่านค่าแรงบิดที่ตรวจสอบหรือวัดได้โดยตรงจากหน้าปัดหรือสเกล
อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถอ่านค่าแรงบิดได้จากสเกลวัดแบบหน้าปัด
อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถอ่านค่าแรงบิดได้จากสเกลวัดแบบแผ่นเพลท
ประแจปอนด์ประเภทดิจิทัล
ประแจปอนด์ประเภทนี้จะแสดงค่าแรงบิดที่วัดได้ในรูปแบบดิจิทัล เมื่อวัดค่าแรงบิดได้ถึงค่าที่ตั้งไว้แล้วอุปกรณ์จะ“ส่งเสียงหรือแสดงข้อความ” แจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานทราบ แม้ผู้ใช้งานไม่ชำนาญก็สามารถอ่านค่าหรือวัดค่าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
ประแจปอนด์ชนิดประแจหัวฟรี
ประแจปอนด์ชนิดประแจหัวฟรีใช้ขันสกรูได้อย่างรวดเร็ว
ประแจปอนด์รุ่นหัวต่อ
เพียงสวมใส่กับประแจหรือบล็อกที่มีก็สามารถควบคุมค่าแรงบิดที่ใช้ในการขันสกรูได้
วิธีการเลือกใช้ประแจปอนด์
การเลือกใช้ประแจปอนด์นั้น ต้องเริ่มจากการแยกประเภทการใช้งานระหว่างการขันสกรู หรือการตรวจสอบวัดค่าแรงบิดเสียก่อน หลังจากนั้นจึงเลือกใช้ตามปัจจัยต่างๆ เช่น ฟังก์ชั่นการทำงาน เงื่อนไขในการปฏิบัติงาน และอื่นๆ
ส่วนประกอบสำคัญของประแจปอนด์
หลายคนอาจจะเคยเห็นขีดตัวเลขที่อยู่ใกล้กับด้ามจับของประแจปอนด์กันใช่ไหมครับ เรามาดูความหมายของตัวเลขเหล่านี้ว่าสามารถบอกอะไรให้เราได้บ้างกันครับ
หมายเลข | ชื่อเรียก | ความหมาย |
---|---|---|
1 | ทิศทางของแรงบิด | หมายถึงทิศทางที่ใช้ในการขันประแจ |
2 | หน่วยของแรงบิด | ตัวอย่างเช่น N・m (Newton・meter) |
3 | สเกลหลัก | จากรูปตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า 1 ช่องบนสเกลหลัก มีค่า ช่องละ 10 N・m เป็นสเกลที่ใช้สำหรับปรับค่าแรงบิดแบบหยาบ เช่น 20, 30, 40 เป็นต้น |
4 | สเกลรอง | จากรูปตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า 1 ช่องบนสเกลรอง มีค่า ช่องละ 1 N・m เป็นสเกลที่ใช้สำหรับปรับค่าแรงบิดแบบละเอียด เช่น 1, 2, 3 เป็นต้น |
ตัวอย่างการอ่านค่าแรงบิดบนประแจปอนด์
จากรูปด้านซ้ายมือ
จะเห็นว่าจุดสีแดงเกิดจาก เส้นสเกลหลักและเส้นสเกลรองตัดกัน
ตัวเลขบนเส้นสเกลหลัก คือ 20
ตัวเลขบนเส้นสเกลรอง คือ 0
ดังนั้น ประแจปอนด์ ด้ามนี้ถูกตั้งค่าแรงบิดไว้ไม่เกิน 20 N・m ในการขันสกรู
การดูแลรักษาประแจปอนด์ ทำได้ง่ายๆ ดังนี้
- ทำความสะอาดน็อต และโบล์ทให้สะอาดก่อนการขัน
- แบ่งการขันเป็น 2 จังหวะ ครั้งแรกขันแน่นครึ่งเดียว แล้วค่อยใช้ประแจปอนด์ขันตอนสุดท้าย
- ก่อนเก็บประแจปอนด์ให้ตั้งค่าทอร์คให้กลับมาที่จุดต่ำสุดเพื่อคลายสปริง (แต่อย่าตั้งต่ำกว่าค่าต่ำสุด) เนื่องจากอาจมีผลกับกลไกภายใน
- ห้ามเอาประแจปอนด์ประเภทที่ใช้วัดค่า ไปขันคลายน็อต
- ห้ามทำประแจปอนด์ตก การตกหนึ่งครั้งอาจทำให้ค่าทอร์คคลาดเคลื่อนได้ทันที
จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความการเลือกใช้ประแจปอนด์ หรือ ประแจทอร์ค รวมไปถึงวิธีการบำรุงรักษาอีกด้วย ทางผู้เขียนหวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อย หากเพื่อน ๆ กำลังมองหาตารางคำนวณค่าแรงบิดขันสกรู (โดยประมาณ) สามารถอ่านเพิ่มเดิมได้ที่นี่ สุดท้ายนี้เรามีคำศัพท์ที่น่าสนใจมาฝากกันเหมือนเดิมครับ
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
No. | คำศัพท์ | คันจิ | คาตาคานะ | คำอ่าน |
---|---|---|---|---|
1 | ประแจปอนด์ | – | トルクレンチ | To-ru-ku-ren-chi |
2 | แรงบิด | – | トルク | To-ru-ku |